พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (7) พระเนื้อดิน (15) พระเนื้อชิน (6) พระเนื้อผง (14) พระเหรียญ (65) พระกริ่ง (16) พระรูปหล่อ (62) เหรียญหล่อ (50) พระปิดตา (17) เครื่องราง (6) พระบูชา (1)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
หลักสูตรดูพระเครื่อง
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 5 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 1 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 256 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง
หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่
หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง
หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม
พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม
หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
ครูบาวัง วัดถ้ำชัยมงคล
หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 

พระเครื่องทรูอมูเล็ตดอทคอม

ไทม์อมูเล็ตดอทคอม

สิทธิ์ สุพรรณฯ

พระหลวงตา

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
ประวัติหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว
หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม

ข้อมูลประวัติ หลวงปู่บุญ ขันธโชติ วัดกลางบางแก้ว จ.นครปฐม

เกิด                    วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2391 ณ ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน สมุทรสาคร  เป็นบุตรของ นายเส็ง  นางลิ้ม  เป็นบุตรคนโตในจำนวน 6 คน

บรรพชา              อายุ 15 ปี ณ วัดคงคาราม (วัดกลางบางแก้ว)

อุปสมบท             อายุ 22 ปี ตรงกับวันที่ 21 มิถุนายน 2412 ณ วัดกลางบางแก้ว

มรณภาพ              8 เมษายน 2478

สิริอายุ                   87 ปี 56 พรรษา

หลวงปู่บุญ เกิดที่ ตำบลบ้านนางสาว อำเภอตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นบ้านตำบลท่าไม้ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ส่วนในปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นตำบลท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เมื่อวันจันทร์ ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๑๐ สัมฤทธิ์ศก เวลาใกล้รุ่ง ตรงกับวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๙๑ อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๓ ) บิดาชื่อเส็ง มารดาชื่อลิ้ม หลวงปู่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คน ท่านเป็นบุตรชายหัวปี มีน้องชาย และน้องสาว ๖ คน คือ นางเอม นางบาง นางจัน นายปาน และนางคง

พระวินัยกิจโกศล ( ตรี ปธ.๗ ) อดีตเจ้าอาวาสวัดกัลยาณมิตร ได้บันทึกไว้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ในหนังสือ “บุญวิธี ” ว่า

“ เมื่อยังเยาว์เป็นไข้หนักถึงแก่สลบไม่หายใจ พวกผู้ใหญ่เข้าใจว่าตายเสียแล้ว ระหว่างที่จัดแจงจะเอาไปฝังกันได้กลับฟื้นขึ้นมา จึงได้รับการรักษาพยาบาลต่อมาจนหายเป็นปกติ บิดามารดาได้ถือเอาเรื่องหายจากไข้ ครั้งนั้นเป็นนิมิตดี จึงให้ชื่อว่า “ บุญ ” ”

ใน สมัยที่หลวงปู่บุญยังเยาว์วัยอยู่ บิดามารดาได้ย้ายบ้านจากบ้านตำบลนางสาวไปอยู่ที่ตำบลบางช้างประกอบอาชีพทาง ทำนา ต่อมาบิดาท่าน ได้เสียชีวิตลงเมื่ออายุท่านได้ ๑๓ ปี ป้าของท่านซึ่งมีความคุ้นเคยกันดีกับท่านปลัดทอง วัดคงคาราม จึงพาท่านไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนกับพระปลัดทอง วัดคงคาราม ( วัดกลางบางแก้ว ) เมื่อท่านปลัดทองมองเห็นบุคลิกลักษณะของท่านก็หยั่งรู้ได้ทันทีว่าเป็นผู้มี บุญสมชื่อ และมีความสามารถที่จะศึกษา ได้กระจ่างแจ้งทำความเจริญให้กับพระพุทธศาสนาต่อไป จึงได้ขอท่านกับโยมป้าว่าขอให้อยู่กับท่านปลัดทองตลอดไป

หลัง จากนั้นท่านปลัดทองจึงได้สั่งสอนพื้นทางคัมภีร์มูลบทสรรพกิจสนธิมูลกัจจายน์ ภาษาไทย และขอมให้จนหลวงปู่บุญมีความเชี่ยวชาญชำนาญดี เพราะมีปัญญาไวเรียนสิ่งใดก็รู้แจ้งแท้ตลอดในเวลาอันรวดเร็ว 
จน อายุได้ ๑๕ ปี ก็สามารถท่องบทสวดมนต์ได้มากมาย ท่านปลัดทองจึงได้บรรพชา ให้เป็นสามเณร เพื่อศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ ซึ่งท่านปลัดทองก็พยายามฝึกฝนจนหลวงปู่บุญมีความคล่องแคล่ว จนอายุท่านได้ ๑๙ ปี ก็เกิดเจ็บป่วยหนัก รักษาเท่าใดก็ไม่หาย ท่านปลัดทองจึงได้ตรวจชะตาของท่านดูก็ทราบว่าเป็นอย่างไร จึงได้บอกหลวงปู่บุญ ซึ่งตอนนั้นยังเป็นเณรบุญว่า จะต้องลาสึกจากสามเณรเสียก่อน แล้วกลับไปรักษาตัวกับมารดา เมื่ออายุครบด้วย ๒๒ ปี โรคาจะหายจึงจะมาอุปสมบทต่อไปได้ เล่าว่าครั้งนั้นสามเณรบุญถึงกับน้ำตาไหล เพราะจิตใจฝากฝังไว้ในเพศบรรพชิตเป็นมั่งคงแล้ว มิอยากจะลาไป แต่ก็มั่นใจเรื่องในท่านอาจารย์ปลัดทองที่ได้พยากรณ์เอาไว้ว่าจะกลับมา

ท่าน จึงได้ครองฆราวาสรักษาร่างกายจนกว่าจะหายเป็นปกติดี ก็อายุ ๒๒ ปี ตรงตามคำพยากรณ์ของท่านปลัดทอง นับว่าท่านปลัดทององค์นี้ มีปรีชาทางญาณหยั่งรู้สึกซึ้งมาก เสียดายที่มิอาจเขียนประวัติท่านได้ เรื่องราวของท่านผู้ที่รู้เสียชีวิตไปหมดแล้ว มีเรื่องเล่าว่าท่านปลัดทองนั้นมีอภินิหารมากเรื่องหนึ่ง ควรบันทึกไว้เพราะต่อไปจะสูญหาย คือวัดกลางบางแก้วนั้นอยู่ติดแม่น้ำนครชัยศรี ปีไหน น้ำมากก็ท่วมบริเวณวัดทั้งหมดแต่เมื่อครั้งท่านปลัดทองอยู่ น้ำไม่เคยท่วมวัดให้ได้รับความเสียหายเลย ท่านจะนำทรายมาเสกแล้วให้ลูกศิษย์เอาไปโรยไว้รอบ ๆ วัดเมื่อน้ำเหนือหลากมา ท่านจะเข้าไปนั่งในโบสถ์ ทำการสะกดน้ำ มิให้ไหลเข้ามาท่วมวัดได้ เรื่องนี้ผู้เฒ่าแห่งแม่น้ำนครชัยศรีเล่าให้ฟัง นับว่าบารมีและ กฤตยาคมของท่านปลัดทองนั้นสูงส่งจริง ๆ อีกเรื่องหนึ่งคือ ท่านสามารถระเบิดน้ำลงไปปักเสาศาลาท่าน้ำของวัดได้โดยจีวรไม่เปียก โดยยกเสาได้เพียงองค์เดียวคือทำของหนักให้เบาได้นั่นเอง วิชานี้ภายหลังหลวงพ่อจ้อยวัดบางช้างเหนือได้เสกมีดโยนลอยน้ำได้คงได้วิชา จากท่านปลัดทองเพราะวัดอยู่ไม่ห่างกันมาก และหลวงพ่อจ้อยเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับหลวงปู่บุญ

เมื่ออายุท่านได้ ๒๒ ปี หายจากโรคภัยไข้เจ็บ จึงได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว ซึ่งท่านเคยบรรพชาเป็นสามเณรมาก่อน และเล่าเรียนวิชามากับพระปลัดทอง เมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๓๑ เวลาบ่าย ตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๑๒ โดยมีพระอันดับ ๓๐ รูป พระ ปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นอุปัชฌาย์ พระปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ วัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประดิษฐาราม และ พระอธิการจับ วัดท่ามอญ ร่วมกันแบ่งภาระหน้าที่ในการให้สรณาคมน์กับศีลและการสวดกรรมวาจา การที่มีพระอาจารย์ร่วมพิธีถึง ๔ องค์ก็ด้วยพระเถระเหล่านี้เป็นที่เคารพนับถือ ของโยม หลวงปู่บุญ จึงต้องนิมนต์ทั้งหมด

เมื่ออุปสมบทแล้วได้ฉายาว่า “ ขนฺธโชติ ”

หลังจากอุปสมบทท่านได้ศึกษาคันถธุระและ วิปัสสนาธุระและพุทธาคมกับ ท่านปลัดทอง และปลัดปาน ผู้เป็นอุปัชฌาย์ของท่าน ปลัดทองและปลัดปานนั้นท่านเป็นสหายกัน เล่ากันว่าเป็นพระที่มีเวทย์วิทยาคมเก่ากล้าทั้งคู่

สำหลับพระปลัดปาน นั้น ท่านพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) บางกอกน้อยขณะเมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๗ อายุ ๙๗ ปีได้เล่าให้ “ อาจารย์ตรียัมปราย ” ฟังว่า หลวงปู่บุญท่านนั้นได้เล่าเรียนและถ่ายทอดเวทย์วิทยาคมจากพระปลัดปานไว้ได้ ทั้งหมดและศิษย์ของพระปลัดปานอีกองค์หนึ่งคือ พระธรรมปิฎก ( น่วม ) วัดสระเกศกรุงเทพฯ พระปลัดปานวัดตุ๊กตาองค์นี้ ท่านได้สร้างลูกอมไว้ มีความศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตามหานิยมมาก มีลักษณะเป็นเม็ดกลมเนื้อแน่นเป็นมันวาวสีชมพูอ่อน หากใครเคยพบหรือมีอยู่จงเก็บไว้ให้ดี เพราะยอดเยี่ยมทางเมตตามาก อภินิหารของท่านปลัดปานมีเรื่องเล่ากันมาว่าท่านมีเมตตาบารมีสูงมากขนาดมี นก กา เหยี่ยว มาอาศัยทำรังอยู่ที่ต้นมะขวิดภายในวัดเต็มไปหมด ถึงเวลาเช้าท่านฉันเสร็จแล้วจะนำอาหารไปให้นกกิน ท่านสามารถเรียกอีกาและเหยี่ยวซึ่งเป็นนกที่ไม่มีความเชื่องได้ง่าย ๆ มาเกาะบนมือแล้วลูบหัวเล่นได้ นอกจากนั้นยังเล่ามาว่า ท่านสำเร็จวิชาทางเรียกเนื้อเรียกปลาคือใช้พระคาถา มหาจินดามณีมนตราคม ได้เชี่ยวชาญเกิดผลศักดิ์สิทธิ์นั้นเอง เพราะท่านสามารถเรียกปลาในคลองบางแก้ว ซึ่งอยู่หน้าวัดให้ขึ้นมาเต็มไปหมดในงานกฐินเพื่อให้ชาวบ้านได้ชมกัน นับว่าท่านเป็นเถราจารย์ที่น่าศึกษามากอีกองค์หนึ่งเสียดายที่คนเก่า ๆ ที่พอจะรู้เรื่องดีได้สูญสิ้นไปหมดแล้ว

ดังนั้นการศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระและ เวทย์วิทยาคมของหลวงปู่บุญนั้น ท่านจึงได้รับการถ่ายทอดจากท่านปลัดทอง และปลัดปานเป็นหลัก และนับว่าหลวงปู่เป็นผู้ที่มีพรสวรรค์ทางนี้โดยตรง เพราะเล่ากันว่าท่านสามารถทำของได้ศักดิ์สิทธิ์ และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระตั้งแต่อายุยังน้อย เคยแสดงอภินิหารและความแก่กล้าทางวิปัสสนาให้ สมเด็จพระสังฆราช ( แพติสเทวเถระ ) ได้เห็นเมื่อครั้งที่ “ สมเด็จฯ ” ยังเป็น พระพรหมมุนี ซึ่งทรงยกย่องโปรดปรานหลวงปู่เป็นพิเศษในฐานะเพื่อนสนิท

ส่วนเรื่องการธุดงควัตรนั้นจากการสืบเรื่อง ราวโดยละเอียดแล้ว ปรากฏว่าในชีวิตของหลวงปู่เคยออกธุดงควัตรหลายครั้ง ครั้งละนาน ๆ จนมีความชำนาญ เมื่อพระภายในวัดและละแวกวัดใกล้เคียงในสมัยนั้น จะออกธุดงค์ จะต้องไปขอขึ้นธุดงค์กับท่านและท่านสามารถคุ้มครองพระที่ออกธุดงค์ให้สามารถ เดินทางได้ด้วยความปลอดภัย และหยั่งรู้ทุกขณะด้วยญาณวิถีอันแก่กล้าของท่าน

ครั้นต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๑๘ พระปลัดทอง อาจารย์ของหลวงปู่บุญก็มรณภาพ ทางอุบาสกอุบาสิกาก็นิมนต์พระอาจารย์แจ้งเป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ. ๒๔๒๘ พระอาจารย์แจ้งซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “ หลวงพ่อแก่ ” ก็มรณภาพลงเพราะท่านชราภาพมากแล้ว

ทางอุบาสกอุบาสิกาและกรรมการวัดตลอดจนชาว บ้านที่เห็นการปฏิบัติของหลวงปู่เป็นที่น่าเลื่อมใสจึงได้ร่วมใจกันนิมนต์ ให้ท่าน เป็นเจ้าอาวาสสืบแทน ดังนั้น ทางคณะสงฆ์ซึ่งเห็นชอบด้วย จึงได้แต่งตั้งหลวงปู่บุญให้เป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ขณะนั้นท่านมีอายุพรรษาได้ ๑๖ จึงได้ปกครองดูแลสืบต่อจากพระอาจารย์แจ้งเป็นต้นมา

หลวงปู่บุญเป็นพระที่หนักในทางวิปัสสนา กรรมฐาน ดังนั้นเมื่อได้ปกครองดูแลพระเณรในวัดจึงได้อบรมทั้งทางคันธธุระ และวิปัสสนาธุระให้แก่บรรดาลูกศิษย์ทั่วไปซึ่งก็ปรากฏว่ามีฆราวาสจำนวนมาก ให้ความสนใจเข้ามาเรียนวิปัสสนากับท่านจำนวนไม่น้อย จนภายหลังหลวงปู่ได้จัดสถานที่สำหรับฝึกสอนวิปัสสนาขึ้นโดยเฉพาะเป็นศาลาทรง แปดเหลี่ยมขนาดใหญ่อยู่หน้าวัดแถบด้านเหนือใกล้แม่น้ำ ซึ่งในสมัยนั้นนับว่ามีทำเลมีเหมาะสม เพราะใกล้แม่น้ำลมพัดเย็นสบาย ศาลาดังกล่าวนี้ได้มีสืบมาจนถึงทุกวนนี้

ภารกิจที่หลวงปู่เคร่งครัดปฏิบัติมิได้ขาด จวบจนชราภาพ คือ การลงกระทำอุโบสถทุกวันเช้าและเย็นและหลังจากเสร็จจากบทสวดมนต์แล้วท่านจะทำ การหยิบยกข้อธรรมขึ้นมาแจกแจงอธิบายในพระอุโบสถ เพื่อให้พระภิกษุและสามเณรมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เว้นแต่ในช่วงที่ท่านต้องไปธุรกิจที่อื่นเท่านั้น ท่านก็จะมอบให้พระอื่นทำหน้าที่แทนก่อน กิจวัตรข้อนี้สิบต่อมาจนกระทั่งหลวงปู่เพิ่มก็ได้ปฏิบัติตาม จนภายหลังหลวงปู่เพิ่มชราภาพมากท่านจึงได้แต่สวดมนต์อยู่แต่เฉพาะในกุฏิของ ท่าน

ด้วยความสามารถ ซึ่งเอกอุดมด้วยกฤตยาคม และอำนาจญาณอันแก่กล้าของหลวงปู่ท่านสามารถคลี่คลายอธิกรณ์ ซึ่งเกิดขึ้นในคณะสงฆ์ปกครองได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยไม่มีพระภิกษุ สามเณรองค์ใดกล้ากล่าวเท็จกับท่าน เมื่อท่านเรียกเข้ามาสอบสวนทวนความ การให้การจะเป็นจริงทุกสิ่งอัน นอกจากนั้น ตบะเดชะของท่ายังเร้นไว้ด้วยอำนาจอันเข้ม คนรุ่นเก่ายุคนั้นเล่าลือกันสืบมาจนทุกวันนี้ว่า ไม่มีใครเลยที่กล้าสบตากับท่านได้ ทั้งนี้โดยแท้แล้วท่านไม่ใช่เป็นคนดุ แต่ท่านมีเมตตาธรรมใจคอเอื้อเฟื้อกว้างขวาง เพียงแต่อำนาจและตบะของท่านโดยแท้ที่แก่กล้า

ด้วยคุณงามความดี และปรีชาสามารถของหลวงปู่ จึงได้รับพระราชทานพระครูโปรดเกล้าให้เลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระครูชั้น สัญญาบัตรที่ “ พระครูพุทธวิถีนายก ” และเลื่อนฐานะตำแหน่งการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็น “ ประธานกรรมการคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรี ” เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ขณะนั้นท่านมีอายุพรรษาได้ ๔๙ พรรษา ในโอกาสนี้เองที่บรรดาศิษย์ได้จัดงานฉลองกันเป็นการใหญ่ ปรากฏว่า สมเด็จพระสังฆราช ( แพ ) ครั้งที่เป็น พระพรหมมุนี ได้มาร่วมงานโดยมี พระครูวินัยกิจโกศล ( ตรี ปธ. ๗ ) เจ้าอาวาสกัลยาณมิตรในครั้งนั้นมาเป็นแม่งาน มีพระภิกษุจากอารามต่าง ๆ ในจังหวัดนครปฐม สมุทรสาครและสุพรรณบุรีมาร่วมงานฉลองศักดิ์หลวงปู่เป็นจำนวนมามาย เล่ากันว่าต้องจัดหาที่พักให้หลายวัดบริเวณใกล้เคียงแน่นเต็มไปหมด แสดงให้ เห็นถึงความศรัทธาเลื่อมใสที่ประชาชนและพระภิกษุสามเณร ในจังหวัดนครปฐม สมุทรสาคร และสุพรรณบุรีที่มีต่อท่านอย่างท่วมท้น

สานุศิษย์ของหลวงปู่บุญนั้นมีมากมาย ที่ได้ผ่านการอบรมสั่งสอนออกไปบางองค์ก็ครองเพศบรรพชิตอยู่มีชื่อเสียง กิตติคุณโด่งดัง บางคนก็ลาสิกขาออกไปประกอบอาชีพเจริญรุ่งเรืองอยู่จนบัดนี้ก็จำนวนไม่น้อย แต่ก็เป็นการยากที่จะมาลำดับกล่าวไว้ในที่นี้

ครั้นลุถึงวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด ตรงกับวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เวลาเช้ามีชาวบ้านมาทำบุญถวายอาหารหลวงปู่บุญเป็นอันมากเพราะเป็นวันพระ ขึ้น ๘ ค่ำ หลวงพ่อวงษ์ วัดเสน่หา ได้มาเยี่ยมท่านแต่เช้าและหลวงปู่ออกรับประเคนเรียบร้อยแล้วจึงเริ่มฉัน อาหารเมื่อฉันอาหารเสร็จจึงเข้ากุฏิทำการสวดมนต์ต่อหน้าที่บูชาซึ่งท่าน ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ แต่แปลกตรงที่ว่าเมื่อท่านสวดมนต์แล้วท่านกลับมานั่งสมาธิต่ออีกเป็นเวลานาน คล้ายจะปลุกเสกอะไรสักอย่าง หลวงปู่เพิ่มเล่าว่าธรรมดาท่านจะนั่งตอนกลางคืนหรือในพระอุโบสถ แต่วันนั้นท่านนั่งที่หน้าโต๊ะพระเป็นเวลานานเมื่อออกจากวิปัสสนาแล้วท่าน ได้เรียกหลวงปู่เพิ่มเข้าไปบอกว่ามีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง หลวงปู่เพิ่มบอกว่าจะไปนำยามาถวายท่าน ท่านว่าไม่ต้อง จากนั้นท่านก็มีอาการคล้ายถ่ายท้องแล้วเรียกหลวงปู่เพิ่มเข้าไปหายังที่จำ วัดพร้อมกับหลวงพ่อวงษ์ บอกให้หลวงพ่อวงษ์จุดเทียนที่โต๊ะบูชาพระ หลวงพ่อวงษ์ก็พยายามจุดเทียนทั้งคู่พอเทียนติดก็พลันก็ลมกรรโชกมาทำให้เทียน ดับ หลวงพ่อวงษ์ก็จุดใหม่ลมก็กรรโชกมาดับทั้งสามครั้งเมื่อจะจุดครั้งที่สี่นั่น เองท่านก็โบกมือห้ามเอาไว้ จากนั้นท่านก็ประสานมือทั้งสองข้างไว้บนหน้าอก ละทิ้งสังขารไปอย่างสงบเฉกเช่นผู้ล่วงความทุกข์ทั้งมวลทิ้งปริศนาเอาไว้ว่า เทียนที่จุดไม่ติดทั้งสามครั้งนั้นคือสังขารมีมาถึงจุดดับไม่มีสิ่งใดจะห้าม ได้ ขณะที่ท่านทิ้งสังขารเป็นเวลา ๑๐.๔๕ น. พอดี 
 

วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม

          วัตถุมงคลของท่านล้วนแต่ได้รับความนิยมแพร่หลายมีหลายชนิด เช่น เหรียญ  พระชัยวัฒน์  พระเนื้อดิน  พระเนื้อผงยา  และเครื่องรางของขลัง อีกมากมาย

พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา

          พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง  เมตตามหานิยม

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล ของหลวงพ่อองค์่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ งาแกะปิดตาเนื้อหาจัดจ้าน-เก่าจริงเลี่ยมทองเก่ามาแต่เดิมจ.นครสวรรค์ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ตะกรุดเนื้อทองแดงม้วนยาว3นิ้วพอกคลั่ง-สภาพสวยเดิมสมบูรณ์(นิยม)จ.เพชรบุรี 

บูชาแล้ว บาท


หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดจันทร์เพ็ญเนื้อตะกั่วม้วนยาว3นิ้วลงรักสภาพสวยสมบูรณ์จ.ชัยนาท 

บูชาแล้ว บาท


ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉีมพลีพิมพ์ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน จ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระกรุวัดท้ายคลาด พิมพ์นาคปรกเล็ก พระชุดเนื้อผงยอดนิยมพระกรุวัดท้ายตลาดพิมพ์นาคปรกเล็กจ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระคง ลำพูน จ.ลำพูน พระคง-ลำพูนเนื้อดินสีเนื้อผ่านกรุเก่าใบโพธิ์ติดคมชัดเลี่ยมทองพร้อมใช้ จ.ลำพูน 

(ขายแล้ว) บาท


พระลีลา กรุวัดราชบูราณะ จ.อยุธยา พระปางลีลา กรุวัดราชบูราณะ เนื้อชินเงิน สภาพสมบรูณ์ จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


พระหล่อทองคำ ปางห้ามสมุทร พระหล่อเนื้อทองคำ ปางห้ามสมุทร ศิลปะและอายุ-ยุคสมัยอยุธยา จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อตาด วันบางวันทอง เหรียญหล่อหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เกจิยุดเก่า เนื้อเงินหายากจ.สมุทรสงคราม 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคพิมพ์ไก่หาง3เส้น เนื้อดิน-เลี่ยมทองจ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ครุฑกลาง เนื้อดิน เลี่ยมทอง จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อเดิม-วัดหนองโพ(รุ่นแรก) รูปหล่อหลวงพ่อเดิม ออกวัดหนองหลวง/รุ่นแรก เนื้อโหละผสม จ.นครปฐม 

โชร์พระ/ บาท


พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พิมพ์สังฎิยาว พิเศษมโค๊ตนูนเนื้อโลหะผสม หายากสุดฯ สร้างพศ2485 กทม 

ขายแล้ว/ บาท


พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื้อโหละผสม พิมพ์ทรงสังข์ สร้าง2486 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน สมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธานพิธี สร้างช่วงพศ2480 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด