พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (7) พระเนื้อดิน (15) พระเนื้อชิน (6) พระเนื้อผง (14) พระเหรียญ (65) พระกริ่ง (16) พระรูปหล่อ (62) เหรียญหล่อ (50) พระปิดตา (17) เครื่องราง (6) พระบูชา (1)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
หลักสูตรดูพระเครื่อง
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 5 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 1 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 256 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง
หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่
หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง
หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม
พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม
หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
ครูบาวัง วัดถ้ำชัยมงคล
หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 

พระเครื่องทรูอมูเล็ตดอทคอม

ไทม์อมูเล็ตดอทคอม

สิทธิ์ สุพรรณฯ

พระหลวงตา

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
ประวัติหลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง
หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง จ.ระยอง

ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง จ.ระยอง

               หลวงพ่อโต วัดเขาบ่อทอง มีนามเดิมว่า โต รัตนวิจิตร เป็นบุตรนายเกิด นางเพี้ยน รัตนวิจิตร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2418 ตรงกับวันจันทร์ เดือน 11 ขึ้น 7 ค่ำ ที่บ้านตำบลชากโดน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน และพี่น้องต่างมารดา 5 คน
              วัยเด็กเมื่อท่านอายุ 7 ขวบ บิดามารดาของท่านได้เสียชีวิตลงไป นายดง กับนางเคลือบ ผู้เป็นตากับยายได้นำเด็กชายโตไปฝากไว้กับ พระอาจารย์เจียม เจ้าอาวาสวัดเขากระโดน โดยเป็นเด็กคอยรับใช้พระอาจารย์เจียม ขณะที่อยู่รับใช้พระอาจารย์เจียม เด็กชายโตได้ศึกษาเล่าเรียนเขียนอ่านปฐม ก.กา จนกระทั้งอายุได้ 10 ขวบ พระอาจารย์เจียม ได้ส่งเด็กชายโตไปอยู่กับหลวงพ่อเทียน หรือพระอุปัชฌาย์เทียน ที่วัดเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง และได้บรรพชาเป็นสามเณรในเวลาต่อมา
               สามเณรโตศึกษาเล่าเรียน พระธรรมวินัยอย่างจริงจัง  โดยได้เล่าเรียนพระวินัย ทั้งภาษาไทย บาลี สันสฤต และภาษาขอม จนมีความสามารถอ่านเขียนอักขระเลขยันต์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี  ซึ่งจัดเป็นสามเณรรูปหนึ่งของจังหวัดระยอง ที่เก่งรูปหนึ่งเลยที่เดียว จนกาลเวลาผ่านไปมีอายุได้ 20 ปี สามเณรโตจึ่งได้เข้าพิธีอุปสมบท ณ อุโบสถวัดตะปอนใหญ่ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี โดยมีนายหอม และนางปี๊ด อาจดี ผู้เป็นญาตินำไปฝากอุปสมบทมี พระอธิการเพ็ชร เจ้าอาวาสวัดตะปอน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สอ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์ปลวด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ โดยได้รับฉายาว่า “ ติสฺโส ”
            ในพรรษาแรกพระโต ติสฺโส ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดตะปอน  พอมาถึงพรรษาที่สอง ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดพญาล่าง ในอำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี อยู่วัดพญาล่างได้ 2 ปี ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดเนินค้อ อำเภอแกลง ซึ่งเป็นวัดที่ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาในวันที่ 15 เดือนกรกฎาคม 2445 พระอาจารย์โต ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขากระโดน ตำบลชากกระโดน อำเภอแกลง โดยคำสั่งแต่งตั้งของ พระสังฆปาโมกข์ ยังความปลาบปลื้มยินดีต่อชาวชากกระโดนเป็นอย่างยิ่ง
               วัดเขากระโดน สร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2407 โดยมีพระอธิการมุ้ย และอำแดงทิม  พร้อมชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้นมา โดยได้รับการบริจาคที่ดินจาก อำแดงทิม จำนวน 14 ไร่  เมื่อทำการสร้างแล้วเสร็จก็ได้รียกขานชื่อวัดว่า “ วัดบ้านป่า”  โดยมีเขตพระอุโบสถยาว 13 วา กว้าง 10 วา โปรดให้ผู้สำเร็จราชการเมืองปักกำหนดให้ตามประสงค์พระราชอุทิศที่นั้นเป็นที่ วิสุงคามสีมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหากจากพระราชทานอาณาเขตเป็นที่วิเศษสำหรับพระสงฆ์  จตุรทิศทั้งสี่ทำสังฆกรรม มีอุโบสถเป็นต้น พระราชทานตั้ง ค่ำมีฉลูสัปตศกพระพุทธศาสน์ล่วง 2408
            ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น คีรินธรธาราม โดยมีหลักฐานการแต่งตั้งเจ้าอาวาสคือ พระอธิการมุ้ย ตั้ง ณ วันที่ 15 มกราคม ร.ศ. 121 พระพุทธศาสน์ล่วงได้ 2445 ประทับตราสังฆปาโมกข์  ภายหลังจากสิ้นพระอธิการมุ้ย พระอธิการโต ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดรูปต่อมา  เมื่อได้เป็นเจ้าอาวาสได้ทำการพัฒนาวัดจนเจริญรุ่งเรืองเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชน ทั่งทุกสารทิศ  ต่อมาในปี พ.ศ. 2463  พระญาณวราพร รองเจ้าคณะแขวงจันทบุรี ได้ตรวจเยี่ยมคณะสงฆ์ที่อำเภอแกลง  โดยท่านได้แวะพักที่วัดทะเลน้อยก่อน จากนั้นก็มาแวะพักที่วัดช่องมรรคา  ในขณะที่แวะพักที่วัดช่องมรรคา ท่านได้ได้พิจารณาชื่อวัดต่างๆในหลายๆวัดชื่อไม่สอดคล้องกับหมู่บ้าน  ยากต่อการจำจึงได้ทำการเปลี่ยนชื่อวัดบางวัด เช่น  วัดหว่างคีรีคงคาราม เป็นวัดเนินฆ้อ  วัดช่องมรรคา เป็นวัดหนองแพงพวย วัดป่าเรไร เป็นวัดจำรุง  วัดเขาคีรินธรธาราม เป็นวัดเขากระโดน วัดป่าชละธาร เป็นวัดป่ากร่ำ
 
               ในช่วงสมัยที่หลวงพ่อโต ปกครองวัดเขากระโดน ได้ทำการเปิดโรงเรียนสอนนักธรรมชั้นตรี ถึงชั้นเอก เมื่อปี พ.ศ. 2446  พระและเณรในแถบตำบลเนินค้อ ตำบลกร่ำและใกล้เคียง  ต่างก็มาเล่าเรียนภาษาบาลีที่นี้ ในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2467 หลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็น   “  พระครูนิวาสธรรมสาร ” วันที่ 8 มิถุนายน  2468  หลวงพ่อโต ได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการศึกษาอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ต่อมาได้ก่อตั้งโรงเรียนประชาบาลวัดเขากระโดนขึ้น เปิดเรียนเมื่อวันที่  18 พฤษภาคม 2474  และเมื่อถึงวันที่ 19 มีนาคม 2475  หลวงพ่อโตได้รับการแต่งตั้งเป็น  “  พระอุปัชฌาย์  ” 
            หลวงพ่อโตท่านได้พัฒนาและก่อตั้งโรงเรียนประชาบาลในท้องถิ่นอื่นๆ กล่าวคือ ในวันที่ 4 กันยายน 2478 ท่านได้ก่อตั้งโรงเรียนประชาบาล ตำบลชากโดน 2  ที่บ้านชากบก ( บุนนาค )  ในปี พ.ศ. 2510 ท่านได้ตั้งโรงเรียนแกลง ( นิวาสบำรุง )  ซึ่งต่อมาได้ร่วมกับโรงเรียนบ้านชากบกเปิดสอนถึงชั้นประถมปีที่ 7  และเปลี่ยนชื่อเป็น   “  โรงเรียนนิวาสกัลยาประชารักษ์ ” หรือ “ โรงเรียนบุนนาค ”  ในปัจจุบัน  และในปี พ.ศ. 2478  หลวงพ่อโตท่านได้จัดตั้งโรงเรียนแผนกบาลีขึ้นที่วัดเขากระโดน เป็นสำนักบาลีแห่งแรกของจังหวัดระยอง โดยสร้างอาคารรวบรวมหลักสูตรการศึกษาบาลีไว้ครบถ้วน จัดหาพระจากเมืองหลวงที่มีความสามารถและชำนาญมาเป็นครูสอนบาลี และทางกระทรวงศึกษาธิการได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า   “  โตวิทยาคม ”  ในปีแรกมีพระสอบเปรียญ 3 และ เปรียญ 4 หลายรูป และน่าเสียดายที่ต่อมาโรงเรียนต้องมาหยุดทำการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2491
            ปี พ.ศ. 2475 พระราชกวี เจ้าคณะมณฑล แนะนำให้สร้างวัดขึ้นที่ตำบลชากบาก หลวงพ่อโตได้ร่วมกับชาวบ้านจัดตั้งเป็นสำนักสงฆ์ชากบาก ขึ้นมาก่อน ต่อมาปี พ.ศ. 2484 จึงได้รับพระราชทานวิสุงคามสรมาให้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบุนนาค มาจนทุกวันนี้ 
               ปี พ.ศ. 2480 หลวงพ่อโตเริ่มสร้างสำนักสงฆ์บ้านสองสลึง และยกฐานะเป็นวัด คีรีวราราม เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2500
           ปี พ.ศ. 2496 ท่านได้พิจารณาสร้างถาวรวัตถุทางศาสนาขึ้นที่ยอดเขาหวายปลอด (ตำบลชากโดน ) โดยมีข้าราชการพ่อค้าประชาชนร่วมกันบริจาคทรัพย์ สร้างเป็นถาวรวัตถุทางศาสนาโดยตั้งเป็นที่พักสงฆ์ เหล่านี้คือเรื่องของการพัฒนาก่อสร้างโรงเรียนให้แก่ลูกหลานชาวบ้าน จัดตั้งสำนักเรียนให้กับพระภิกษุสามเณรของหลวงพ่อโตจัดว่าท่านเป็นพระผู้สร้างสถานศึกษาอย่างแท้จริง
             ทางด้านวิปัสสนากรรมฐานหลวงพ่อโตท่านมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะเรื่องวิปัสสนาท่านมักธุดงค์ไปนมัสการปูชนียสถานสำคัญๆหลายๆจังหวัด แม้หนทางจะห่างไกลทุรกันดารเพียงใดก็ไม่เคยย่อท้อ ท่านกลับมีมานะ ความเพียรอันยอดเยี่ยม การไปไหนมาไหนของท่านจะใช้การเดินเท้าเป็นหลัก  เล่ากันว่าหลวงพ่อโตท่านมาศึกษาวิปัสสนาที่วัดประยูรวงศาวาส (วัดรั้วเหล็ก) และวัดใหม่ย้ายนุ้ยธนบุรี จนได้เป็นอาจารย์ใหญ่นำพระภิกษุที่อยู่ปริวาสตามสถานที่ต่างๆ เป็นนิจจนพรรษามากเข้ามีประสบการณ์มาก ท่านได้รับการขนานนามว่าเป็นยอดพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองแกลง จังหวัดระยอง
            พระหมอยาที่โด่งดัง  หลวงพ่อโตนอกจากจะเป็นพระนักพัฒนาผู้สร้างและผู้ให้การศึกษาแล้ว นยังเป็นพระหมอยาที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก สมัยก่อนการแพทย์แผนปัจจุบันยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนสมัยนี้  ชาวบ้านต้องพึ่งตนเอง อาศัยยากลางบ้านคือสมุนไพร รักษาโรคหมอยากลางบ้าน ที่เป็นทั้งฆราวาสและพระภิกษุ จะมีบทบาทมาก ใครเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆก็ต้องพึ่งหมอกลางบ้านให้ช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ  หลวงพ่อโตท่านสนใจในเรื่องของสมุนไพรรักษาโรคมาก ยามว่างจากภารกิจอื่นๆท่านก็จะมาศึกษาค้นคว้าเรื่องของสมุนไพรอ่าน ตำรับตำราการรักษาโรคภัยไข้เจ็บไปศึกษาจากหมอผู้รู้หลายๆคน แล้วก็นำวิชากลับมาศึกษาการแพทย์แผนโบราณปรุงยารักษาโรคต่างๆ จนกระทั้งเชี่ยวชาญสามารถรักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยได้ ท่านทำยาดองยาลูกกลอนเอาไว้มาก ใครเจ็บป่วยมาหาท่านๆ ก็จะให้ยาไปทาน เป็นยาวิเศษรักษาได้สารพัดโรค คนเฒ่าคนแก่หลายๆท่านที่ยังมีชีวิตอยู่ และทันสมัยหลวงพ่อโต ได้เล่าว่า ในสมัยหลวงพ่อโต เมื่อท่านมีชื่อเสียงเรื่องรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ ผู้คนก็พากันมาให้ท่านรักษาโรคกันอย่างต่อเนื่อง หลวงพ่อต้องเกณฑ์ลูกศิษย์และชาวบ้านข้างวัด มาช่วยบดยาที่วัด โดยใช้เครื่องบดยาแบบโบราณใช้แรงคนบด พอบดยาเป็นผงเสร็จท่านก็ปรุงยาตามสูตรต่างๆ ส่วนใหญ่ท่านจะทำเป็นยาดองๆ ใส่ตุ่มกันเลยทีเดียว ชาวบ้านที่เจ็บไข้ได้ป่วยทั้งอำเภอแกลงสมัยนั้น จะพากันมาหาท่าน ท่านก็จะให้ไปตักยาดองในตุ่ม ใส่ขวดกลับไปทานที่บ้านเป็นสูตรยาครอบจักรวาลยอดเยี่ยมดีแล
             การรักษาผู้ป่วยของหลวงพ่อโตเล่ากันว่า แม้กระทั้งคนบ้าวิกลจริตก็จะมีญาติพี่น้องพามาให้หลวงพ่อรักษา บางรายมาถึงวัดใหม่ๆ ต้องล่ามขากันเลย หลวงพ่อโตรักษาให้ไม่นาน อาการบ้าคุ้มคลั่งก็หายเป็นปลิดทิ้งเป็นที่เสื่อมใส ศรัทธาจากชาวบ้านเป็นอย่างยิ่ง
            ในเรื่องของวิชาอาคมต่างๆ หลวงพ่อโต เป็นเถรานุเถระที่มีชื่อเสียงมาก เป็นที่เคารพ เลื่อมใสจากประชาชนทั่วทุกสารทิศ ทางวัตถุมงคลและเครื่องรางของขลังของท่านมีชื่อเสียงยิ่งนัก ท่านมักจะได้รับการนิมนต์จากวัดต่างๆให้ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกนั่งปรกอธิฐานจิตมิได้ขาด  งานสำคัญเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 สมเด็จพระวันรัต (ปุ่น) วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ ได้นิมนต์ไปร่วมงานพุทธาภิเษกพระกริ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรสร่วมกับพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีก 16 รูป
         กาลสุดท้ายแห่งอายุขัย จวบจนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2508 ขณะที่ท่านไปทำธุระที่จังหวัดจันทบุรีเกิดอาพาธจึงกลับมารักษาตัวที่พักสงฆ์เขาบ่อทอง แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นบรรดาลูกศิษย์ต่างก็พาหลวงพ่อไปรักษาที่โรงพยาบาลอาภากรเกียรติวงค์ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จนกระทั้งวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 หลวงพ่อโตได้ถึงแก่มรณภาพอย่างสงบที่โรงพยาบาล เมื่อเวลา 18:45น รวมสิริอายุ 90ปี 7 เดือน 22 วัน สร้างความเศร้าโศกเสียใจแก่ชาวอำเภอแกลงและใกล้เคียงเป็นอันมาก  หลังจากที่หลวงพ่อโตได้มรณภาพ พระครูอุดมสิทธิคุณ (หลวงพ่ออั๋น) ก็ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสแทนปกครองวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 – 2520 นานถึง 18ปี ท่านก็มรณภาพลง จากนั้นพระมหาเพียร ปัญญาทีโป หรือพระครูพิทักษ์วิริยะภรณ์ ก็เข้ารับตำแหน่งสมภารปกครองวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน  สังเกตุได้ว่าวัดเขากระโดนนั้นแม้ตั้งมานานแล้ว แต่มีเจ้าอาวาสปกครองวัดน้อยมากทั้งนี้ก็เพราะสมภารแต่ละรูปล้วนอายุยืนทั้งสิ้น
          สมัยที่หลวงพ่อโตมีชีวิตอยู่มีเรื่องเล่ากล่าวขานกันมากมายทั้งเรื่องการดำรงค์ตน ของท่าน เรื่องเชิงอิทธิปฏิหาริย์ต่างๆเล่ากันว่า ท่านเป็นสมภารที่ดุเอาการรูปหนึ่ง เรื่องวิชาอาคมก็แก่กล้ามาก หลวงพ่อโตท่านทำธงผ้ายันต์ขึ้นมา ชุดหนึ่งเรียกว่า ธงพัดโบก มีอิทธฺปฏิหาริย์ประจักษ์ชัด ธงพัดโบกผูกเชือกชักขึ้นยอดเสารับรองฝนไม่ตก ที่วัดเขากระโดนมีเรื่องแปลกมากก็คือฝนมักจะตกที่วัดตลอด  ยิ่งใครจัดงานมีมหรสพ รื่นเริงในวัดเป็นต้องฝนตกเรื่องนี้ชาวบ้านทุกคนยืนยันกันมา  แต่หากไปขออนุญาตหลวงพ่อ ถ้าหลวงพ่ออนุญาตให้จัดงานได้ ไม่ว่าฝนจะมามืดฟ้ามัวดินทั่วทุกสารทิศเพียงใด  ที่วัดเขากระโดนฝนก็จะไม่ตก ก่อนจะเริ่มงานหลวงพ่อจะให้ลูกศาย์นำธงพัดโบกชักขึ้นยอดเสารับรองฝนไปตกที่อื่นหมด  แต่พอเสร็จงานชักธงลง ปรากฏว่าฝนได้ตกเทลงมาห่าใหญ่ ทุกครั้งเล่ากันว่า ธงพัดโบกของหลวงพ่อพอชักลงมาจากยอดเสามักหาย แม้ปัจจุบันนี้ก็ตามใครจะจัดมหรสพในบริเวณวัดจะต้องไปบอกกล่าวขอจัดงานที่รูปหล่อองค์หลวงพ่อ และหุ่นขี้ผึ้งจำลองบนศาลารับรองก่อนทุกครั้ง ไม่เช่นนั้นจะเกิดเหตุเภทภัยต่างๆนานาจนงานต้องล้มเลิกไปโดยปริยาย แต่ถ้าไปกราบขอขมาแล้วทุกอย่างจะดำเนินไปด้วยดี 
 
          รูปหล่อองค์หลวงพ่อโตนั้นศักดิ์สิทธิ์นัก ใครมีเรื่องทุกข์ร้อนไปขอให้ท่านช่วยจะสัมฤทธิ์ผลสมความปรารถนา  ผู้อาวุโสบอกว่า ที่วัดเขากระโดน จะมีหนังตะลุงสร้างถาวรเลย เพราะชาวบ้านมักบนหนังตะลุงถวายหลวงพ่อ เนื่องจากหลวงพ่อชอบหนังตะลุงจริงๆ  แล้วหลวงพ่อโตท่านชอบโขนสด แต่ราคาค่าจ้างโขนสดแพงกว่าหนังตะลุง ก็เลยบนหนังตะลุงกัน ฉะนั้นหนังตะลุงจึงมีที่วัดเขากระโดน มิได้ขาด
         สำหรับวัตถุมงคลนั้นหลวงพ่อโตไม่ค่อยนิยมสร้างเท่าไร รวบรวมแล้วมีไม่กี่รุ่น  ยุคแรกท่านสร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านทำเสื้อยันต์แจกทหารหาญที่ออกรบ ทำตระกรุดโทนแจก ปัจจุบันหาดูยากมาก ปี พ.ศ. 2478   หลวงพ่อจัดสร้างเหรียญใบสาเกใหญ่ เนื่องในโอกาสฉลองเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้ช่างสวัสดิ์ที่จังหวัดจันทบุรี ออกแบบและจัดสร้าง   ปี 2484   จัดสร้างเหรียญใบสาเกเล็กออกมาอีกหนึ่งรุ่น ไม่มากนัก เป็นรุ่นการสร้างศาลาการเปรียญ  ในปี พ.ศ. 2496   สร้างพระกริ่งหน้ายักษ์และหน้านาง ซึ่งในรุ่นนี้หลวงพ่อยังได้สร้างวัตถุมงคลอีกหลายแบบมีเหรียญรูปไข่ หลังยันต์เฑาะ พระสังกัจจายน์ พระสมเด็จเนื้อฟักทองพิมพิ์ใหญ่ พระสมเด็จนางพระพญาลงรักแดงหลังยันต์เฑาะ พระสมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์กลางลงรักแดง ต่อมาท่านได้สร้างรูปเหมือนลอยองค์เนื้อแดงเหลืองรมดำ เป็นรุ่นแรกสร้างแท็งก์น้ำวัดเขาบ่อทอง
         หลังจากที่หลวงพ่อโตมรณภาพทางวัดได้จัดสร้างเหรียญเนื้อเงินรอบเหรียญเป็นรวงข้าว เรียกว่าเหรียญรวงข้าว และทางพลเรือโทสนิท โปษกฤษณะ ผู้บัญชาการฐานทัพเรือสัตหีบได้จัดสร้างเหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงขอบเหรียญเป็นรูปพญานาค เรียกเหรียญพญานาค ชุดนี้มีเหรียญเสมาออกมาแจกเป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อโต
         วัตถุมงคลของหลวงพ่อโตทุกรุ่น เป็นที่ยอมรับในเรื่องอยู่ยงคงกระพันเป็นเลิศ โดยเฉพาะพระกริ่งหน้ายักษ์ มีบทบาทมาก  พระกริ่งหน้ายักษ์ เป็นสุดยอดวัตถุมงคลที่หายากรองลงมาจาก พระสังกัจจายน์ พิมพ์ใหญ่ และรูปหล่อตัวหนอน   ส่วนพระกริ่งหน้านาง มีชื่อเสียงทางด้านเมตตามหานิยม ค้าขายดีนักแล
         วัดเขากระโดนในปัจจุบัน ในยุคของท่านพระครูพิทักษ์วิริยาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน ท่านสนใจพัฒนาสมองคนมากกว่าวัตถุมงคล ท่านสืบทอดเจตนารมณ์ของพระอาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่คือ หลวงพ่อโต โดยให้การศึกษาพระเณร จัดให้วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ในชุมชน ให้สถานที่วัดเป็นศูนย์กลางการเรียนพิมพ์ดีด เรียนดนตรีไทย และจัดสร้างพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านขึ้นที่ใต้ถุนโบสถ์หลังใหญ่ ซึ่งขณะนี้กำลังก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ รอให้สาธุชนคนใจบุญไปช่วยกันสานต่อ เป็นโบสถ์ใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก
       วัดเขากระโดนทุกวันนี้ เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างเป็นศูนย์กลางที่ให้ความรู้แก่ชาวบ้านอย่างแท้จริง ท่านเจ้าอาวาสยังทำสวนสมุนไพรไว้ในที่ธรณีสงฆ์ ไม่ไกลจากวัดอีก 1 แปลง เนื้อที 14 ไร่ เพื่อให้ผู้ที่สนใจเรื่องสมุนไพรได้ไปศึกษากัน
        พระครูนิวาสธรรมสาร หรือหลวงพ่อโต วัดเขาซากกระโดน(วัดใน) ท่านเป็นอดีตพระเกจิ อาจารย์ที่โด่งดังอีกท่านหนึ่งของเมืองระยอง ท่านอยู่ในยุคเดียวกันกับ หลวงปู่หิน วัดหนองสนม หลวงปู่อี๋ วัดสัตหีบ และท่านเป็น อาจารย์ของ หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า และ หลวงปู่บุญ วัด บ้านนา ลูกศิษย์ที่นับถือท่านส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นทหารเรือ และชาวบ้านแถว อ.แกลง และ จ.ระยอง ทั้งนั้น นักสะสมพระเครื่องรุ่นเก่าเมืองระยองล้วนบูชาพระของหลวงพ่อโต กันทั้งนั้นครับ.

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล ของหลวงพ่อองค์่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ งาแกะปิดตาเนื้อหาจัดจ้าน-เก่าจริงเลี่ยมทองเก่ามาแต่เดิมจ.นครสวรรค์ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ตะกรุดเนื้อทองแดงม้วนยาว3นิ้วพอกคลั่ง-สภาพสวยเดิมสมบูรณ์(นิยม)จ.เพชรบุรี 

บูชาแล้ว บาท


หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดจันทร์เพ็ญเนื้อตะกั่วม้วนยาว3นิ้วลงรักสภาพสวยสมบูรณ์จ.ชัยนาท 

บูชาแล้ว บาท


ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉีมพลีพิมพ์ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน จ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระกรุวัดท้ายคลาด พิมพ์นาคปรกเล็ก พระชุดเนื้อผงยอดนิยมพระกรุวัดท้ายตลาดพิมพ์นาคปรกเล็กจ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระคง ลำพูน จ.ลำพูน พระคง-ลำพูนเนื้อดินสีเนื้อผ่านกรุเก่าใบโพธิ์ติดคมชัดเลี่ยมทองพร้อมใช้ จ.ลำพูน 

(ขายแล้ว) บาท


พระลีลา กรุวัดราชบูราณะ จ.อยุธยา พระปางลีลา กรุวัดราชบูราณะ เนื้อชินเงิน สภาพสมบรูณ์ จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


พระหล่อทองคำ ปางห้ามสมุทร พระหล่อเนื้อทองคำ ปางห้ามสมุทร ศิลปะและอายุ-ยุคสมัยอยุธยา จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อตาด วันบางวันทอง เหรียญหล่อหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เกจิยุดเก่า เนื้อเงินหายากจ.สมุทรสงคราม 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคพิมพ์ไก่หาง3เส้น เนื้อดิน-เลี่ยมทองจ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ครุฑกลาง เนื้อดิน เลี่ยมทอง จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อเดิม-วัดหนองโพ(รุ่นแรก) รูปหล่อหลวงพ่อเดิม ออกวัดหนองหลวง/รุ่นแรก เนื้อโหละผสม จ.นครปฐม 

โชร์พระ/ บาท


พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พิมพ์สังฎิยาว พิเศษมโค๊ตนูนเนื้อโลหะผสม หายากสุดฯ สร้างพศ2485 กทม 

ขายแล้ว/ บาท


พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื้อโหละผสม พิมพ์ทรงสังข์ สร้าง2486 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน สมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธานพิธี สร้างช่วงพศ2480 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด