ข้อมูลประวัิติ หลวงพ่อสีนวล วัดเกวียนหัก จันทบุรี
พระครูถาวรธรรมธัช เดิมชื่อ สีนวล นามสกุล ดีสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม พ.ศ. 2443 ตรงกับวันแรม 9 ค่ำ เดือน 8 ปีชวด บิดาคือ ขุนเจริญสมบัติ (แหนบ ดีสมบัติ) มารถาคือ นางเปื่ยม ดีสมบัติ เกิด ณ บ้านเลขที่ 11 หมู่ 5 ตำบลเกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี มีพี่น้อง รวม 4 คน เสียชีวิตแล้วทั้งหมด คือ
1.นางประ ภิญโญผล
2.นางเปรย เจตะนัง
3.เด็กหญิงนวม ดีสมบัติ
4.พระครูถาวรธรรมธัช (สีนวล ดีสมบัติ)
หลวงพ่อสีนวล เมื่อวัยเด็กเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาด มีความสนใจในการศึกษาได้เล่าเรียนเขียนอ่าน และ เรียนรู้วิชาการต่าง ๆ กับพระที่วัดเกวียนหักจนมีความแตกฉาน อ่านออก เขียนได้ มีความชำนาญทางช่างในสาขาต่าง ๆ
หลวงพ่อสีนวล ได้อุปสมบทเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2463 ณ วัดเกวียนหัก โดยพระครูบุรสสถานสังฆกิจ เป็นพระอุปัชฌา พระอาจารย์จ่าง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการสุวรรณ์ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ธมฺมทฺธโช" จำพรรษา ณ วัดเกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี ตลอดชีวิตในสมณเพศ เมื่อตอนต้นชีวิตของการอยู่ในสมณเพศ หลวงพ่อสีนวล สนใจในวิชาแพทย์แผนไทยมาก ได้รับการถ่ายทอดวิชาแพทย์แผนไทยจาก หมอพร้อม เวชวงศ์ ซึ่งเป็นแพทย์แผนไทยที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้นจึงมีความรู้ควมสามารถในเรื่องการใช้พืชสมุนไพรในการรักษาโรคต่าง ๆ อีกทั้งยังมีความรู้ในทางด้านไสยศาสตร์ทั้งทางตำราไทยโบราณ และ ตำราของเขมร ได้รับเมตตารับรักษาชาวบ้านที่ศรัทธาเป็นจำนวนมาก ทั้งในพื้นที่จังหวัดจันทบุรีและต่างจังหวัด โดยไม่คิดค่ารักษาแต่ประการใด ยิ่งนานวันความเลื่อมใสศรัทธาในตัวหลวงพ่อสีนวล ยิ่งมีมากขึ้นจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสมัยนั้น เป็นที่ยอมรับ และ ยกย่องให้เป็นเกจิอาจารย์ ต้องรับกิจนิมนต์ไปประกอบพิธีพุทธาภิเษก ตลอดมา
ชีวิตในสมณเพศ ต่อการศาสนา และ การศึกษา
ปี พ.ศ.2495 หลวงพ่อสีนวล ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดเกวียนหัก (ต่อจากท่านพ่อวัน) และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเกวียนหักในปีเดียวกัน ในปี พ.ศ.2503 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูถาวรธรรมธัช
หลวงพ่อสีนวล เมื่อตัองรับหน้าที่ในตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดเกวียนหัก ได้พิจารณาเห็นว่าวัดเกวียนหักมีสภาพชำรุด ทรุดโทรม สมควรได้รับการบูรณะตกแต่ง ต่อเติม ให้มีความสวยงาม กว้างขวางเหมาะสมที่จะใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจทางศาสนาของพระสงฆ์ และอุบาสก อุบาสิกา ทั้งในงานประเพณีต่าง ๆ โดยเฉพาะการก่อสร้างศาลาโรงธรรม ซึ่งท่านพ่อวัน(อดีตเจ้าอาวาส)ได้ก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ หลวงพ่อสีนวลได้ร่วมกับทางกรรมการและชาวบ้านดำเนินการจนแล้วเสร็จ สวยงาม กว้างขวาง สมตามเจตนา โดยเฉพาะศาลาการเปรียญ (โรงธรรม) ได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรมของอุบาสก อุบาสิกา และใช้ เป็นที่จัดงานเทศน์มหาชาติของวัดเกวียนหัก เป็นประจำทุกปี ในวันแรม 3 ค่ำ เดือน 11 จนถึงปัจจุบัน
ปี พ.ศ.2496 หลวงพ่อสีนวล มีความเห็นว่าโรงเรียนวัดเกวียนหักในขณะนั้น มีอาคารสองหลังแยกกันอยู่ หลังหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก กับ อีกหลังหนึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด อาคารหลังด้านทิศวันตะวันออกของวัดมีลักษณะคล้ายคอกม้า ส่วนอาคารหลังด้านทิศเหนือของวัดมีลักษณะเป็นศาลาใต้ถุนสูง ทำให้ไม่สะดวกในการจักการเรียนการสอน การปกครอง จึงได้ปรึกษากับ หมออี๊ด นุกูลกิจ แพทย์ประจำตำบลเกวียนหัก นายสงัด บุญโนทก ครูใหญ่ และ ชาวบ้านเกวียนหัก ตกลงว่าจะทำการก่อสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ให้เป็นการถาวร โดยใช้บริเวณส่วนหนึ่งของสุสานของวัดเกวียนหัก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเป็นที่ก่อสร้าง กำหนดสร้างแบบ ป.03 ซึ่งเป็นแบบของกระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณมาก่อสร้าง 90,000 บาท สมบทกับเงินบริจาคของชาวบ้านอีก 20,000 บาท สร้างแล้วเสร็จในสมัยของ นายแล ศิริโภค เป็นครูใหญ่ ให้ชื่อโรงเรียนว่า "โรงเรียนวัดเกวียนหัก (สมบัติราฎร์นุกูล)" ปัจจุบันโรงเรียนหลังดังกล่าวได้รับการบูรณะและรักษาไว้เป็นโบราณสถานสืบไป
ในปี พ.ศ.2502 หลวงพ่อสีนวล ดำริว่า อุโบสถหลังเดิมได้ก่อสร้างและใช้มาร่วม 300 ปี มีสภาพที่ทรุดโทรม จึงได้หารือและร่วมกันทีจะสร้างอุโบสถหลังใหม่ ได้รับการร่วมมือจากทุกผ่ายทั้งชาวบ้านเกวียนหักและผู้มีจิตศรัทธา โดยท่านเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ไม่ให้เป็นภาระเรืองงบประมาณการก่อสร้าง จึงค่อยเพียรจักการใช้เวลานานถึง 24 ปีจึงสำเร็จได้ ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา จัดงานปิดทองผังลูกนิมิต เมื่อปี พ.ศ.2526 จุดเด่นที่ท่านได้เพียรพยายามสำหรับอุโบสถหลังใหม่ คือ ที่ตัวช่อฟ้าใบระกา และ หน้าบรรและพระอุโบสถ ท่าได้นำชามกระเบื้องเคลือบที่ชำรุดนำมาดัดแปลง ปะตกแต่งจนดูแลสวยงามเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย จนลุล่วงเป็นทีประจักษ์
ในปี พ.ศ.2534 หลวงพ่อสีนวล ได้มีความห่วงใยวัด และ โรงเรียนวัดเกวียนหัก จึงได้ให้จัดตั้งมูลนิธิ และ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งได้ ใช้ชื่อว่า "มูลนิธิสีนวล ดีสมบัติ" เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2534 เงินทุนเริ่มต้นที่ขอจดทะเบียนเบื้องต้นเป็นเงินส่วนตัวของท่านที่เป็นมรดก จำนวลหกแสนบาทเศษ วัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อให้ใช้ดอกผลของมูลนิธิ ในการซ่อมแซมบูรณะพัฒนาวัดเกวียนหัก ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลพระสงฆ์ที่อาพาธของวัดเกวียนหัก ช่วงเหลือการศึกษาของ ร.ร.วัดเกวียนหักร่วมมือกับองค์กรกุศลอื่น เพื่อสาธารณประโยชน์ ปัจจุบันมูนิธิมีเงินทั้นต้นและดอกผลรวมสองล้านสองแสนแปดหมื่นแปดพันบาทเศษ
หลวงพ่อสีนวล นับเป็นผู้ที่มีความรู้ มีทักษะ ในด้านการจัดทำกลองยาวมีผลงานด้านนี้เป็นที่ยอมรับของบุคคลโดยทั้วไป มีความรู้เรื่องเพลงไทยเดิมที่ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลวงพ่อสีนวลได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเทศน์มหาชาติที่ยอดเยี่ยมองค์หนึ่ง โดยเฉพาะกัณฑ์มัทรีท่านสามารถเทศน์ได้ด้วยน้ำเสียงและจังหวะที่ไพเราะอย่างยิ่ง
ปี พ.ศ.2538 ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี หลายครั้ง วาระสุดท้ายท่านได้มรณะภาพด้วยกาการอันสงบ เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2539 ณ วัดเกวียนหัก อ.ขลุง จ.จันทบุรี สิริอายุได้ 96 ปี 3เดือน 10 วัน อยู่ในสมณเพศ 76 พรรษา
การมรณภาพของหลวงพ่อสีนวล นำความโศกเศร้า เสียดายแด่ชาวบ้านเกวียนหักศิษยานุศิษย์ และ ผู้ที่เคารพนับถืออย่างยิ่ง จึงได้ร่วมกันบำเพ็ญกุศลศพเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน และทำพิธีบรรจุศพท่านไว้ในโลงแก้ว จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 10 ปี ตลอด 10 ปี ทุกวันที่ 19 ของทุก ๆ เดือน จะบำเพ็ญกุศลศพอุทิศส่วนกุศลให้ตลอดมา