ข้อมูลประวัิติ หลวงพ่อทอง วัดสำเภาเชย ปัตตานี
พระศีลมงคล หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงปู่ทอง สีลสุวณฺโณ แห่งวัดสำเภาเชย ปัตตานี ท่านมีนามเดิมว่า ทอง หรือ อินทอง ศรีชาติ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2461 ตรงกับปีมะแม เป็นบุตรของ พ่อคง-แม่แมะ ศรีชาติ
บรรพชา เป็นสามเณร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ที่วัดดอนตะวันออก ต.ดอน อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ภายหลังได้ลาสิกขาบท กลับไปช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ
อุปสมบท เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 วันศุกร์ ปีเถาะ ณ พัทธสีมาวัดดอนตะวันออก มี พระครูวิธารวัตต์(คง) เจ้าอาวาสวัดสำเภาเชย และเจ้าคณะตำบล ปะนาเระ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวุฒิชัยธรรมธาดา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และ พระครูพิพัฒน์สมณกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า สีลสุวณฺโณ
เมื่ออุปสมบทได้หนึ่งพรรษา ย้ายกลับมาพำนักจำพรรษาที่วัดสำเภาเชย ศึกษาพระธรรมวินัย และพระปริยัติธรรม กระทั่งปี พ.ศ. 2487 พระอธิการตีบ ติสสโร ย้ายไปจำพรรษาที่วัดมหิงษาราม ท่านได้ทำหน้าที่รักษาการเจ้าอาวาส และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสำเภาเชย ในเวลาต่อมา
ปี พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์
ปี พ.ศ. 2497 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรี ที่ราชทินนาม พระครูพินิตตรัญญู
ปี พ.ศ. 2509 ได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าคณะอำเภาปะนาเระ
ปี พ.ศ. 2510 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในราชทินนามเดิม
ปี พ.ศ. 2519 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอก ในราชทินนามเดิม
ปี พ.ศ. 2539 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นพิเศษ ในราชทินนามเดิม
ปี พ.ศ. 2545 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ราชทินนาม พระศีลมงคล เข้ารับพระราชทานตราตั้งและพัดยศ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2545
พระศีลมงคล หรือ หลวงปู่ทอง วัดสำเภาเชย ท่านเป็นพระเถระผู้ทรงคุณ วัตรปฏิบัติงดงาม กอรปด้วยเมตตาธรรม จึงเป็นที่เคารพเลื่อมไสศรัทธา ของศาสนิกชน และศิษยานุศิษย์ทั่วประเทศ ยังเป็นพระเถระผู้มีผลงานด้านการพัฒนามากมาย ทั่งในส่วนของวัดสำเภาเชยเอง และสิ่งสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ท่านได้ทุ่มเทด้วยความเสียสละ โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพื่อการพระศาสนา
พระเครื่อง และวัตถุมงคล ท่านได้เมตตาปลุกเสกเอาไว้หลายชนิด ตลอดจนวัตถุมงคลที่ศิษย์สร้างถวาย เพื่อไห้ท่านปลุกเสก มีด้วยกันหลายชนิด เป็นต้นว่า ตะกรุด,ผ้ายันต์,แหวน,ผ้ารอยมือ-รอยเท้า,เชือกคาด,พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์,เหรียญ และพระเนื้อผงชนิดต่างๆ
ด้วยเหตุที่ท่านไม่อนุญาต ไห้สร้างวัตถุมงคลเป็นรูปเหมือนของตัวท่าน วัตถุมงคลที่พบเห็นส่วนใหญ่ จึงมี 3