ข้อมูลประวัติ หลวงปู่จันทร์ (พระครูธรรมสุนทร) วัดบ้านยาง ราชบุรี
เกิด ปีพ.ศ.2419
มรณภาพ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2494
รวมสิริอายุ 75 ปี 55 พรรษา
หลวงปู่จันทร์ สุภัทรโท อดีตเจ้าอาวาสวัดบ้านโคกยาว ต.ดงดวล อ.นาดูน จ.มหาสารคาม และอดีตเจ้าอาวาสวัดป่าศรีสุโพธิ์วนาราม อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์รุ่นเก่าอีกรูปหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม หลวงปู่จันทร์ เป็นพระที่มีเมตตาธรรมสูงวิทยาคมแก่กล้าสืบทอดปฏิปทาอันงดงาม และไสยเวทย์สายเขมรมาจากพระครูสีหราช วัดบ้านแก่นท้าว ซึ่งเป็นบูรพาจารย์รุ่นเก่าของภาคอีสาน
อัตโนประวัติ
หลวงปู่จันทร์ มีนามเดิมว่า จันทร์ ปินะถา เกิดในปี พ.ศ.2456 ณ บ้านยางสีสุราช อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม เป็นบุตรของพ่ออาจแม่สา ปินะถา ครอบครัวของท่านประกอบอาชีพทำไร่ทำนาเหมือนกับชาวอีสานทั่วไปช่วงวัยเด็ก ได้ช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็งและเป็นผู้มีจิตใจเอนเอียงเข้าหาพระ ธรรมชมชอบไปช่วยกิจการต่างๆ ที่วัดในหมู่บ้าน และชอบภาพวาดพุทธประวัติเป็นที่สุดมื่ออายุได้ 14 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดยางสีสุราช จนอายุครบบวช 20 ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุโบสถวัดยางสีสุราช อ.ยางสีสุราช จ.มหาสารคาม โดยมีหลวงปู่รอด พรมสโร วัดหนองกุง อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อเสาร์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ภายหลังอุปสมบทแล้ว หลวงปู่จันทร์ ได้จำพรรษาศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ณ สำนักเรียนวัดยางสีสุราช ด้วยความมุมานะ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโทในยุคนั้นชื่อเสียงของพระครูสีหราช วัดบ้านแก้นท้าว อ.พยัคฆภูมิพิสัย โด่งดังไปทั่วอีสานกลาง ท่านจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิทยาคม ซึ่งพระครูสีหราช เมตตาถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้นนอกจากนี้ ยังได้ไปศึกษาไสยเวทย์เพิ่มเติมจากหลวงปู่ดำ วัดหนองหิน อ.พยัคฆภูมิพิสัย ช่วงนั้นหลวงปู่ดำเป็นพระเกจิที่มีชื่อเสียงเช่นกัน
ต่อมา ชาวบ้านโคกยาว อ.นาดูน เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในวัตรปฏิบัติที่เสมอต้นเสมอปลายของท่าน ได้นิมนต์ท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านโคกยาว เพราะขาดแคลนพระผู้ใหญ่ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษา ท่านได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจพัฒนาวัดแห่งนี้ เต็มความสามารถ เมื่อยามว่างจากกิจของสงฆ์ ท่านจะนำพาชาวบ้านพัฒนาถนนในหมู่บ้าน และถนนที่เชื่อมหมู่บ้านอื่นๆ เพื่อให้ญาติโยมสัญจรไปมาหากันได้อย่างสะดวก รวมทั้งแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ด้วยการขุดบ่อ ทำฝายเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
ตลอดเวลาที่หลวงปู่จันทร์ จำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านโคกยาว วัตรปฏิบัติของหลวงปู่ ยังคงเหมือนเดิม คือ ช่วงหลังเทศกาลออกพรรษาทุกปีหากที่วัดไม่มีงานอะไรที่ยุ่งยาก ท่านจะออกเดินธุดงควัตรไปตามป่าเขาลำเนาไพรหลายแห่งในภาคอีสาน หลวงปู่มีพลังจิตที่กล้าแข็งมาก จากความเคร่งครัดในพระธรรมวินัย วัตรปฏิบัติจำเริญรอยตามพระครูสีหราช เสมอต้นเสมอปลายทำให้หลวงปู่จันทร์ มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ควบคู่กับหลวงปู่มี กันตสีโล วัดป่าสันติธรรมดงส้มป่อย ซึ่งเป็นสายธรรมพระครูสีหราช รุ่นสุดท้ายเช่นกัน
ความโด่งดังของท่านทำให้ในแต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทาง มากราบนมัสการ รับฟังธรรม และประพรมน้ำพุทธมนต์ รวมทั้งปรารถนาวัตถุมงคลเหรียญรูปเหมือนรุ่น 1 และตระกรุดโทนที่เข้มขลังจากหลวงปู่กันอย่างล้นหลามพ.ศ.2525 หลวงปู่จันทร์ เห็นวัดร้างอยู่ใกล้อำเภอยางสีสุราช ที่ตั้งวัดป่าศรีสุโพธิ์วนาราม ในปัจจุบัน บรรยากาศสงบเงียบเหมาะสำหรับการปฏิบัติธรรม ท่านจึงร่วมกับญาติโยมพัฒนาวัดร้างขึ้นมาจนสำเร็จ พร้อมกับตั้งชื่อว่าวัดป่าศรีสุโพธิ์วนาราม จนถึงปัจจุบัน
จากนั้น หลวงปู่ได้ย้ายมาจำพรรษาปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดป่าแห่งนี้จวบจนวาระสุดท้าย ของท่าน พ.ศ.2518 ได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ พระครูวิบูลธรรมรัตในช่วงบั้นปลายของชีวิตหลวงปู่อาพาธบ่อยครั้ง สุดท้ายถึงแก่มรณภาพอย่างสงบในปี พ.ศ.2530 สิริอายุ 74 พรรษา 54ถึงแม้หลวงปู่จันทร์ จะละสังขารไปนานหลายปี แต่คุณงามความดี ยังคงปรากฏอยู่ในใจของพุทธศาสนิกชน ตราบจนทุกวันนี้ สมกับที่เป็นพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสารคามโดยแท้.
วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม
หลวงปู่จันทร์ ท่านเป็นพระคณาจารย์ยุคเก่า ซึ่งในปีพ.ศ.2481 ท่านก็เป็นพระคณาจารย์อีกองค์ ที่ได้รับอาราธณานิมนต์เข้าร่วมพิธี ณ วัดราชบพิตร
เหรียญรุ่นแรก ปีพ.ศ.2481 เนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์ ที่ พระครูธรรมสุนทร มี 2 เนื้อ คือ เนื้อเงิน และทองแดง
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี