ข้อมูลประวัติ หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี (ท่านพระครูดีโลด)
พระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือที่รู้จักกันในนาม หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี มีนามเดิมว่า บุญรอด นามสกุล สมจิต เป็นบุตรชายของยายมุดดี นางกา สมจิต เกิดที่หมู่ที่ 1 ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราช ธานี บางท่านเข้าใจว่า ต.คำไฮใหญ่ อ.เมืองอุบลราชธานี เพราะยังมีหลานซึ่งเป็นลูกน้องชายตั้งหลักฐานอยู่ที่นั่น ตามหลักฐานประวัติของท่านก็พอเข้าใจได้ว่า ญาติพี่น้องคงอพยพไปอยู่บ้านคำไฮใหญ่ทีหลัง
หลวงปู่รอด ชาวเมืองอุบลราชธานีรวมทั้งคนทั่วๆ ไปเรียกท่านอีกชื่อหนึ่งว่า "ท่านพระครูดีโลด หรือหลวงปู่ดีโลด" เพราะท่านจะพูดอะไรกับใครๆ หรือฟังใครพูด เวลาเขาเหล่านั้นพูดจบหรือเล่าจบ ท่านมักรับคำของเขาว่า "ดีๆ" ใครจะพูดร้ายหรือพูดดีกับท่าน ท่านก็จะพูดว่า "ดีๆ" เวลามีอารมณ์ชนิดไหนก็ตาม ท่านก่อนจะพูดอะไรก็ชอบเปล่งอุทานว่า "ดีๆ" เขาจึงถวายนามพิเศษว่า "หลวงปู่ดีโลด หรือท่านดีโลด" คำว่าโลดเป็นคำพื้นเมือง แปลว่า "เลย" คำว่าดีโลดก็หมายความว่า "ดีเลย" นั่นเอง
"วัดทุ่งศรีเมือง" นั้นอาศัยรายละเอียดจากหลักฐานต่างๆ พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะสร้างในตอนกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวพุทธศักราช 2385 จุลศักราช 1158 มีพระปทุมราชวงศา พระอุปฮาด (กู่ทอง สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ในขณะนั้นนับเป็นเวลามาจนบัดนี้ได้ 128 ปี ในระยะ 128 ปีนี้ เพื่อสะดวกในการศึกษาประวัติของวัดซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 ยุค ใน 4 ยุคนี้ ได้มีพระเถระเป็นประ มุขปกครองถึง 3 รูปด้วยกันคือ ยุคที่ 1 ยุคก่อสร้างมีท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ (ท่านเจ้าสุ้ย) และญาติครูช่างเป็นผู้ปกครอง
ยุคที่ 2 คือยุคซ่อมแซมและสร้างศาลาการเปรียญ มีท่านพระครู วิโรจน์รัตโนบล หรือหลวงปู่รอดนั่นเอง เป็นเจ้าอาวาสปกครองในยุคที่ 1 สำหรับยุคก่อสร้างท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ (ท่านเจ้าสุ้ย) ตามประวัติหลักฐานต่างๆ ได้ความว่าท่านเจ้าคุณองค์นี้เป็นผู้สร้างวัดทุ่งศรีเมือง ท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานีโดยแท้ ถือกำเนิดที่บ้านกวางดำ ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน นัยว่าท่านเป็นคนผิวขาวรูปร่างสง่างาม เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ไปพำนักศึกษาปริยัติธรรมอยู่ที่สำนักวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พระนคร ในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ขุน) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
หลวงปู่รอด ได้มาอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ในตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูวิโรจน์รัตโนบล" ในรัชกาลที่ 5 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี อีกด้วย
พระครูวิโรจน์รัตโนบล ในเวลาที่ท่านปกครองวัดอยู่นั้นได้สร้างกุฏิขึ้นหลายหลัง ซึ่งยังปรากฏอยู่จนกระทั่งบัดนี้ในขณะนั้นหอพระพุทธ บาทและหอไตรได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาบ้างแล้ว ท่านจึงได้ชักชวนบอกบุญแก่ทายาทายิกา และผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ให้พากันช่วยบริจาคทรัพย์เพื่อซ่อมแซมหอพระพุทธบาทและหอไตรอีก แต่ก็ไม่ได้รื้อของเก่าจนเสียรูปเพียงแต่เปลี่ยนแปลงถ่ายถอนบางสิ่งบางอย่าง เท่านั้น
ส่วนแบบรูปทรงและลักษณะยังคงเป็นของเก่าอยู่ในสภาพเดิมจึง เป็นอันว่า ในสมัยท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล หอพระพุทธบาทและหอไตรได้ซ่อมมาแล้วครั้งหนึ่ง นับได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่วัดทุ่งศรีเมืองเจริญรุ่งเรืองเต็มที่ เพราะเหตุที่ หลวงปู่รอดท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวเมืองอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อเป็นดังนี้วัดทุ่งศรีเมืองจึงเป็นที่เคารพนับถือและเจริญศรัทธาของพุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายโดยทั่วไป
วัตถุมงคลของท่านที่สร้างได้รับความนิยม อย่างมาก อาทิ เหรียญหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง รุ่นแรก ปี 2483 พิมพ์ใหญ่ แบบหลังเรียบมีจาร, เหรียญหลวงปู่รอด พิมพ์นิยม รุ่นแรก ปี 2483, เหรียญหลวงปู่รอด รุ่นแรก ปี 2483 พิมพ์ต้อ อีกทั้งยังมี รุ่นสอง เหรียญแบบรูปไข่ เหรียญแบบดอกจิก รุ่นสาม เหรียญปี 2494 และเสื้อยันต์หลวงปู่รอด ปี 2485 ก็ได้รับความนิยมเหมือนกันทั้งในจังหวัดอุบลฯ และจังหวัดใกล้เคียง
พุทธคุณโดดเด่นในเรื่องการเดินทางแคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม