พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (7) พระเนื้อดิน (15) พระเนื้อชิน (6) พระเนื้อผง (14) พระเหรียญ (65) พระกริ่ง (16) พระรูปหล่อ (62) เหรียญหล่อ (50) พระปิดตา (17) เครื่องราง (6) พระบูชา (1)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
หลักสูตรดูพระเครื่อง
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 5 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 1 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 256 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง
หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่
หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง
หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม
พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม
หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
ครูบาวัง วัดถ้ำชัยมงคล
หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 

พระเครื่องทรูอมูเล็ตดอทคอม

ไทม์อมูเล็ตดอทคอม

สิทธิ์ สุพรรณฯ

พระหลวงตา

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
ประวัติหลวงพ่อหม่น วัดคลองสิบสอง
ข้อมูลประวัิติ หลวงพ่อหม่ วัดคลองสิบสอง ปทุทธานี

          “หลวงพ่อหม่น” ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดพระยาปลา ตั้งอยู่เลขที่ 15 ถนนประชาสำราญ หมู่ 3 แขวงคลองสิบสอง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อหม่น” พระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ถิ่นกำเนิดท่านเป็นชาวอำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี ทางบ้านมีอาชีพทำนา โยมพ่อโยมแม่ไม่มีใครทราบชื่อ  ท่านมีพี่น้องหลายคนจากคำบอกเล่าทราบว่ามีพี่สาวชื่อนางเกตุ นางคำ มีน้องชายชื่อนายเม่น  และจะมีใครอีกบ้างไม่ทราบแน่ชัด 
              
          ครอบครัวโยมพ่อโยมแม่อพยพมาปักหลักทำมาหากินทำนาที่เขตหนองจอกเมื่อท่านยังเล็กๆ อยู่ โดยมาอยู่ที่บ้านนาหม่อนไม่ไกลจากวัดพระยาปลาเท่าไรนัก ประวัติชีวิตของ “หลวงพ่อหม่น” ไม่มีใครทราบแน่ชัดซึ่งท่านเองก็ไม่เคยเล่าเรื่องอะไรเกี่ยวกับครอบครัวของท่านให้ใครทราบเลย  ทราบแต่เพียงคร่าวๆ ว่าท่านจบการศึกษาประถมปีที่ 4 แล้วก็ออกจากโรงเรียนอยู่ช่วยทางบ้านทำนา จนกระทั่งแต่งงานเป็นฝั่งเป็นฝา ภรรยาไม่ทราบชื่อมีลูกด้วยกัน 2 คน เป็นผู้ชายชื่อเขียว และผู้หญิงชื่อชง  
   
          “หลวงพ่อหม่น” ก้าวเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์แบบไม่ได้ตั้งใจ กล่าวคือมีเพื่อนบ้านคนหนึ่งอยู่ละแวกวัดพระยาปลาตั้งใจจะบวชเต็มที่  ไปขอฤกษ์กำหนดพิธีอุปสมบทเรียบร้อยแล้ว ทางบ้านก็จัดงานกันอย่างเอิกเกริก กลางคืนเตรียมทำขวัญนาค กะว่าพรุ่งนี้เช้าทำการอุปสมบทแล้วอยู่ๆ ผู้เป็นนาคก็เกิดเสียชีวิตกระทันหัน เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นเช่นนั้น  ทางบ้านนาคก็เกิดความสับสนอลหม่าน  เสียงส่วนใหญ่ไม่อยากให้ล้มเลิกงานบวช ไหนๆ  ก็จัดงานแล้วจึงตกลงกันหาคนบวชมาเป็นนาคแทนเสียเลย อีกประการหนึ่งก็จะเป็นการอุทิศให้กับผู้ตายด้วย

          เจ้าภาพงานบวชรู้จักกับหลวงพ่อหม่นอยู่แล้ว  ทราบว่าท่านเองก็ยังไม่ได้บวช  จึงมาขอร้องให้ท่านเป็นนาคบวชแทนผู้ตาย  เพื่อไม่ให้พิธีการที่เตรียมไว้เสียไป  ซึ่งหลวงพ่อหม่นเองก็ตกลงยอมโกนหัวเข้าสู่พิธีทำขวัญนาค และอุปสมบทในวันรุ่งขึ้น ขณะที่ท่านบวชนั้นภรรยาของท่านเสียชีวิตไปไม่นาน ท่านได้ฝากลูกสองคนไว้กับพี่ๆ น้องๆ ให้ช่วยกันดูแลเลี้ยงแทนด้วย ซึ่งทางบ้านทุกคนก็เต็มใจด้วยดี       

          ในครั้งนั้นไม่มีใครคาดคิดเลยว่า “นายหม่น”  ผู้ที่ยอมโกนหัวบวชเป็นพระแทนนาคผู้เสียชีวิตกระทันหัน  จะลาการใช้ชีวิตทางโลกตราบชั่วอายุขัยของท่านเลยเป็น การเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์อย่างถาวร เมื่อตอนท่านบวชอายุเท่าไหร่ แม้แต่พระอุปัชฌาย์ตลอดจนฉายาที่ท่านได้รับก็ไม่มีใครทราบ


           “หลวงพ่อหม่น” หลังจากที่บวชเป็นพระ ก็เกิดความร่มเย็นในบวรพุทธศาสนา  จำพรรษาอยู่ตลอดไม่ยอมสึก ครั้นพอออกพรรษาท่านก็ออกธุดงควัตรปลีกวิเวกแสวงหาสัจธรรมแห่งชีวิต และความหลุดพ้นจากกามกิเลสทั้งหลายทั้งปวง พอเข้าพรรษาบางปีก็กลับมาจำพรรษาที่วัดพระยาปลา บางปีก็ธุดงค์จากถิ่นไปไกลๆ จำพรรษาที่อื่น  ส่วนใหญ่เล่ากันว่าท่านจะธุดงค์ไปกับหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา  บางครั้งก็จะธุดงค์องค์เดียว ในช่วงระหว่างที่ธุดงค์บำเพ็ญศีลภาวนา อย่างเคร่งครัดนั้น หากท่านพบพระอาจารย์ท่านใดก็จะขอร่ำเรียนวิชาอาคมต่างๆ  ซึ่งพระเกจิอาจารย์ส่วนใหญ่จะไปได้วิชาอาคมจากการเดินธุดงค์นั่นเอง  จะถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติระหว่างธุดงค์ก็ว่าได้  คือหากพบกันระหว่างทางจะแวะทักทายโอภาปราศัยแลกเปลี่ยนวิชาอาคมซึ่งกันและกัน แล้วก็นำมาปฏิบัติฝึกฝนสร้างสมบารมีให้แก่กล้าขึ้น  
           
          “หลวงพ่อหม่น” ท่านเดินธุดงค์ไปทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน บางครั้งก็เข้าไปถึงประเทศเขมร พบพระอาจารย์ระหว่างทางที่ไหนก็ขอเรียนวิชานำติดตัวกลับมา สำหรับวิชาการทำ “พระหนัง” นั้น ทราบว่าพระอาจารย์ที่สอนท่านทำก็คือ  “หลวงพ่อเนียม” ที่มาเป็นเจ้าอาวาสวัดพระยาปลานี่เอง   ซึ่งไม่ทราบว่า “หลวงพ่อเนียม” เป็นใครมาจากไหนอีกเช่นกัน ทราบแต่เพียงว่า “หลวงพ่อเนียม” องค์นี้เก่งในเรื่องการทำพระหนังยิ่งนัก และพระหนังของท่านก็เลื่องลือในเรื่องของความอยู่ยงคงกระพัน  จัดเป็นปรมาจารย์พระหนังมีวิชาอาคมแก่กล้า ท่านมาเป็นสมภารอยู่วัดพระยาปลาได้ 2 ปี แล้วก็ลาจากวัดไป ไม่ทราบว่าท่าน หายไปไหน  จนกระทั่ง “หลวงพ่อหม่น” ก้าวเข้ามารับตำแหน่งเจ้าอาวาสปกครองวัดแทน  
              
          อัน “วัดพระยาปลา” นั้น ชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่เรียกกันติดปากว่า “วัดคลองสิบสอง” ชื่อจริงตามภาษาราชการคือ “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2443 โดยมี “นางผึ้ง” หรือสมัยนั้นเรียกกันว่า “อำแดงผึ้ง” เศรษฐีนีย่านหนองจอกอุทิศที่ดินบริเวณคลอง 12 จำนวน 10 ไร่ 2 งาน 50 ตารางวาให้เป็นที่สร้างวัดขึ้นมา     
      
          อำแดงผึ้ง(อำแดง คือ คำนำหน้าชื่อผู้หญิงสามัญ) มีที่ดินย่านหนองจอกประมาณ 500 กว่าไร่ หลังอุทิศที่ดินบริเวณปากบึงใหญ่ให้สร้างเป็นวัด ต้องเกณฑ์คนขุดดินขึ้นมาถมที่ให้เป็นโคกเพื่อปลูกสร้างเสนาสนะต่างๆ กุฏิสงฆ์บางส่วนก็ยังอยู่ในน้ำ บางส่วนก็อยู่บนบก  เมื่อสร้างวัดเสร็จก็ตั้งชื่อว่า “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” โอนที่ดินให้เป็นสมบัติของวัดอย่างถูกต้องเมื่อปี พ.ศ.2465 ปรากฏหลักฐานตามโฉนดที่ดินของวัด  เล่ากันว่าแรกเริ่มตั้งวัดก็ใช้ชื่อเรียกขานวัดว่า “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” แต่ต่อๆ มาชื่อเรียกขานก็เปลี่ยนไป  ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากบริเวณที่ตั้งวัดนั้นเป็นปากบึงมีปลาชุกชุมมาก  ขณะที่ชาวบ้านมาช่วยกันขุดดินถมดินที่ให้เป็นโคกเพื่อสร้างวัดนั้น   มีคนไปเจอปลาดุกเผือกตัวใหญ่มากผู้คนเห็นเป็นเรื่องแปลกประหลาด   เพราะปลาดุกเผือกตัวใหญ่ยักษ์หาไม่ง่ายนัก จึงถือเอาเหตุการณ์นั้นเรียกเป็นนามวัดแบบรู้ๆ กันว่า “วัดพระยาปลา” คือปลาดุกเผือกตัวใหญ่     
    
          กับอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่เป็นวัดมีพระสงฆ์จำพรรษาเรียบร้อยแล้ว  ชื่อวัดกำหนดเรียกว่า “วัดนารีประดิษฐ์” ในปี พ.ศ.2450 สมัยที่ “หลวงพ่อหม่น” เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด ครั้งนั้น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส” เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็น “สมเด็จพระสังฆราช” ได้ทรงเสด็จไปรเวทไปตามลำน้ำต่างๆ ค่ำไหนพักที่นั่น บังเอิญไปพักที่วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์ พอวันรุ่งขึ้นชาวบ้านก็จัดทำอาหารไปถวาย  อาหารที่ถวายส่วนใหญ่มีปลาเป็นหลัก เช่น แกงปลา ปลาทอด ปลานั้นล้วนแต่ตัวใหญ่ๆ ทั้งสิ้น “สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส” ท่านดำรัสว่า “แหมวัดนี้มีปลาใหญ่ๆ น่าจะชื่อวัดพระยาปลา”  ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงพากันเรียก “วัดพระยาปลา” มาตลอดจนติดปากจนพักหลังๆ แทบจะไม่มีใครรู้จักชื่อ “วัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์” กันเลย 
          
          “วัดพระยาปลา”  หรือวัดนารีราษฎร์ประดิษฐ์นั้นสมัยก่อนเคยขึ้นไปอยู่กับจังหวัดฉะเชิงเทราราวปี พ.ศ.2470 ต่อมา พ.ศ.2472  ก็โอนกลับมาขึ้นอยู่กับกรุงเทพฯ ตามเดิม  เมื่อตอนที่สร้างวัดเสร็จใหม่ๆ “อำแดงผึ้ง” พร้อมด้วยชาวบ้านจำนวนหนึ่งได้ไปนิมนต์ “พระอาจารย์ทองสุข” แห่งวัดแสนเกษม  คลอง 13 หนองจอก มาเป็นเจ้าอาวาสถือว่าเป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัด “พระอาจารย์ทองสุข” อยู่ได้ไม่นานก็ออกจากวัดไปไม่ทราบว่าไปไหน “อำแดงผึ้ง” พร้อมกับชาวบ้านไปนิมนต์ “หลวง- พ่อเนียม”  จากกรุงเทพฯ มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 2 แล้วหลวงพ่อเนียมก็หายจากวัดไปอีกรูปหนึ่ง  ขณะที่หลวงพ่อเนียมมาเป็นสมภารอยู่ที่วัดพระยาปลานั้น หลวงพ่อหม่นท่านมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพระยาปลาแล้ว  ท่านได้ฝากตัวเป็นศิษย์ร่ำเรียนวิชาการ ทำพระหนังจากหลวงพ่อเนียมด้วย  ครั้นเมื่อหลวงพ่อเนียมจากไปชาวบ้านก็นิมนต์ยก หลวงพ่อหม่น ให้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดพระยาปลา เป็นรูปที่ 3   
          
          “หลวงพ่อหม่น” ภายหลังได้เป็นสมภารปกครองวัด  กิจธุดงค์ท่านก็ละเว้นลง เพราะมีภาระกิจทางคันถธุระมากขึ้น และท่านก็ได้เป็นพระอุปัชฌาย์ในเวลาต่อมา  หลวงพ่อหม่นปกครองวัดพระยาปลา เมื่อปี พ.ศ.2448-2473 เจ้าอาวาสปกครองวัดพระยาปลาต่อๆ มามีรูปที่4 พระใบฎีกาบุญเหลือ พ.ศ.2473-2479, รูปที่5 พระอธิการเชื้อ พ.ศ.2479-2481, รูปที่6 พระอธิการฉัตร พ.ศ.2481-2486, รูปที่7 พระอาจารย์วัน พ.ศ.2486, รูปที่ 8 พระอาจารย์แป้น พ.ศ.2486-2517, รูปที่9 พระครูประดิษฐ์วรธรรม (หลวงพ่อเหว่า กตฺปุญโญ), รูปที่ 10 พระอธิการทองอยู่ ทนฺตกาโย พ.ศ.2541-2543  
    
          หลังจากที่หลวงพ่อหม่นเป็นเจ้าอาวาส  ท่านก็อยู่ทำนุบำรุงวัดก่อสร้างบูรณะเสนาสนะต่างๆ ให้เจริญรุ่งเรืองขึ้น ในยุคของท่านชาวบ้านย่านคลอง 12 หนองจอก มีนบุรี และลำลูกกาให้ความเคารพศรัทธาท่านมาก  ต่างยกย่องว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิชาอาคมแก่กล้ายิ่งนัก  ยุคของท่านย่านนั้นไม่มีใครมีชื่อเสียงโด่งดังเท่า “หลวงพ่อหม่น” เลย     
          
          “หลวงพ่อหม่น” จัดสร้างพระหนังขึ้นมาเพื่อหารายได้สร้างวัด เล่ากันว่าครั้งแรกของการทำพระเป็นการลองวิชาที่ได้รับถ่ายทอดมาจาก “หลวงพ่อเนียม” พระอาจารย์ของท่าน  ประกอบกับท่านเองก็มีวิชาอาคมแก่กล้าบำเพ็ญเพียรภาวนานั่งวิปัสสนากรรมฐานมาตลอด  พระหนังที่ท่านทำครั้งแรก ท่านใช้หนัง หน้าผากกระบือเผือก หรือควายเผือกนั่นเอง นำมาทำเป็นพระ  และควายเผือกที่จะเอาหนังมาทำพระนั้น  ถือเคล็ดลงไปอีกว่าจะต้องเป็นควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายเท่านั้น  ควายตายอย่าง อื่นใช้ไม่ได้  และเมื่อได้ควายเผือกถูกฟ้าผ่าตายมาแล้ว  ก็จะต้องใช้หนังที่หน้าผากควาย หรือตรง “กบาลควาย” เท่านั้น  เป็นข้อจำกัดในการทำพระหนังให้สุดยอด เปี่ยมด้วยพุทธคุณตรงตำรับตำราโดยแท้     
           
          เมื่อท่านทำพระหนังออกมา  ก็นำมาแจกจ่ายให้กับชาวบ้านและลูกศิษย์ ใหม่ๆ ก็ไม่มีใครให้ความสนใจมากนัก  หลวงพ่อท่านจะแจกให้ลูกหลานเด็กๆ คล้องคอกัน ท่านบอกว่าเอาไว้ป้องกันงูเงี้ยวเขี้ยวขอ  ซึ่งต่อมามีผู้เห็นพุทธคุณอิทธิปาฏิหาริย์ในพระหนังมากขึ้นก็ไปขอพระหนังจากท่าน  พระหนังหมดท่านก็ทำออกมาใหม่  พระหนังหลวงพ่อหม่นแสดงอิทธิฤทธิ์ให้ผู้คนประจักษ์มากขึ้นในเรื่องของคงกระพันชาตรี  ป้องกันงูพิษขบกัดวิเศษยิ่ง  เมื่อพระหนังมีชื่อเสียงได้รับความนิยมมาก  แต่การทำมีข้อจำกัด นั่นก็คือต้องเอาหนังจากกบาลควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายเท่านั้น  ทำให้การทำพระออกแจกจ่ายไม่ทันกับความต้องการ  ระยะหลังท่านจึงลดข้อจำกัดลง  โดยใช้เพียงหนังควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายทั้งตัวเอามาทำเป็นพระหนัง  ทำให้มีพระหนัง ออกมาให้ผู้ศรัทธามากขึ้น     
  
          สำหรับควายที่ถูกฟ้าผ่าตายนั้น สมัยก่อนหาไม่ยากยิ่งย่านทุ่งหนองจอกด้วยแล้ว  พื้นที่ทั้งหมดเป็นท้องนามีต้นตาลสูงขึ้นทั่วๆ ไป เวลาหน้าฝนมักเกิดฟ้าผ่าควายตายเป็นประจำ ควายถูกฟ้าผ่าตายจึงมีมากแต่ควายเผือกถูกฟ้าผ่าตายนี่ซิมีน้อยมาก ถ้าที่ไหนควายเผือกถูกฟ้าผ่าตาย  ชาวบ้านมักจะรีบมาบอกกล่าวหลวงพ่อหม่น  ซึ่งท่านก็จะรับซื้อไว้ แล้วให้ชาวบ้านแล่เอาหนังควายไปให้ท่านเพื่อจัดสร้างพระ  วิธีการทำพระหนังของหลวงพ่อหม่น เมื่อท่านได้หนังควายเผือกที่ถูกฟ้าผ่าตายมาแล้ว ขั้นตอนแรกท่านก็เอาหนังมาแช่น้ำให้นิ่ม  ต่อจากนั้นก็นำแบบพิมพ์ที่ทำเป็นบล็อครูปองค์พระขอบเป็นใบมีดโกน  นำมากดทับแผ่นหนังใช้ไม้ไผ่ตอกปั๊มให้หนังเป็นร่องลึกตามแบบขอบ  ใบมีดโกนจะตัดหนังเป็นสี่เหลี่ยมองค์พระตรงกลางจะได้รูปร่องลึกเป็นองค์พระประทับติดกับหนัง  

          จากนั้นก็เอาองค์พระหนังไปตากในที่ร่มอย่าให้โดนแดดเป็นอันขาด  ถ้าโดนแดดหนังจะหดตัวแทบมองไม่เห็นร่องรอยองค์พระเลย  ต้องผึ่งลมให้แห้งสนิทเป็นอันใช้ได้  ลักษณะของพระหนังรูปทรงเป็นพระสมเด็จนั่งสมาธิขัดเพชร  มีอักขระขอมกำกับอยู่ด้านข้างองค์พระทั้งสองด้าน  พระชานุ(เข่า) โต ด้านหลังเรียบ รุ่นแรกนั้นลงอักขระขอมด้านหน้าว่า “ตะ” ด้านหลังลงว่า “โจ” ส่วนรุ่นหลังๆ จะเรียบไม่มีอักขระ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ที่ใช้กดซึ่งทำออกมาแต่ละชุดจะไม่เหมือนกัน  บางองค์หลวงพ่อก็ลงจารอักขระขอม  บางองค์ก็ไม่ได้ลงจาร  พระหนังหลวงพ่อหม่นในปัจจุบันจะหาองค์สวยๆ ไม่ได้เลย  เหตุเพราะว่ากาลเวลา ทำให้องค์พระหนังเกิดการหดตัว  พระหนังบางองค์มององค์พระลบเลือนบางองค์แทบไม่เห็นองค์พระเลย  ให้สังเกตจากความแห้งเก่าของหนังเท่านั้น  
            
          หลังจากทำพระหนังเสร็จหลวงพ่อหม่นจะปลุกเสกเดี่ยว แล้วก็นำออกแจกจ่ายกันช่วงเข้าพรรษา  เมื่อได้หนังมาท่านก็จะให้ลูกศิษย์ช่วยทำ พอออกพรรษาปีไหนไปธุดงค์ท่านก็จะนำพระติดตัวไปแจกจ่ายชาวบ้านไปทั่ว  จนกระทั่งพระหนังหลวงพ่อหม่นมีผู้ได้รับประสบการณ์มากมายจนชื่อเสียงโด่งดังระบือลือลั่น พุทธคุณพระสมเด็จพระหนังควายเผือก หลวงพ่อหม่นนั้นมีชื่อเสียงมากในเรื่องของการ “ป้องกัน” และ “คงกระพันชาตรี” เรื่องการป้องกันนั้นไม่ว่าจะป้องกันจากสัตว์ร้ายขบกัดแล้วยังป้องกันคุณไสยต่างๆ ป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อีกด้วย   

          มีชาวบ้านย่านคลอง 12 ห้อยพระหนังหลวงพ่อหม่นเข้าป่าลึก  กลับออกมาผู้ที่ไม่มีพระหนังห้อยคอเป็นไข้มาลาเรียทุกคน  พระหนังหลวงพ่อหม่นชาวบ้านให้ความเลื่อมใสมาก เวลาลงนาเกี่ยวข้าวมักพกพาห้อยคอไปด้วยจะแคล้วคลาดจากการถูกงูกัดทุกราย แม้เด็กเล็กๆ ก็ไม่มีใครโดนงูกัดเลย  ถ้าห้อยพระหนังหลวงพ่อหม่นติดตัวไว้  ลูกเล็กเด็กแดงห้อยพระหนังแล้วจะ เลี้ยงง่ายไม่เจ็บไม่ไข้ได้ป่วย  พระหนังเอามาแช่น้ำอาราธนาอธิษฐานจิตถึงหลวงพ่อหม่นแล้วดื่ม น้ำเข้าไปจะช่วยรักษาไข้จับสั่นได้อย่างไม่น่าเชื่อ  มีผู้ยืนยันมากับตัวเอง     

          พุทธคุณทางด้านอยู่ยงคงกระพันก็เป็นเลิศ  มีคนโดนฟันเต็มๆ มีดไม่ระคายผิวเล่นเอาตะลึงทั้งงานวัด  นักเลงย่านลำลูกกามีเรื่องทะเลาะวิวาทกันในงานวัด  อีกพวกหนึ่งชักปืนจ่อยิงคู่อริระยะเผาขน นกสับไกปืนแต่กระสุนไม่ลั่น สับซ้ำหลายครั้งก็ไม่ได้ผล  พอยกยิงขึ้นฟ้าปืนลั่นสนั่นงาน  เล่นเอาบรรดาหนุ่มฉกรรจ์สมัยนั้นต้องหาพระหนังมาเป็นเครื่องรางของขลังป้องกันภัยให้กับตนเอง  ชื่อเสียงของหลวงพ่อหม่นจึงดังกระฉ่อนมาก  พระหนังหลวงพ่อหม่นในภายหลัง พระอธิการแป้น  เจ้าอาวาสรุ่นต่อมาทำอีกรุ่น ลักษณะพระจะคมชัดกว่าพระของหลวงพ่อหม่น  องค์พระจะเคลือบแล็คเกอร์ป้องกันการหดตัว ซึ่งยังพอหาดูกันได้แถวละแวกวัดพระยาปลา

          หลวงพ่อหม่นมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ. 2473 อายุประมาณ 80 กว่าปี หลังจากท่านมรณะภาพลง วัดพระยาปลาก็ชำรุดทรุดโทรม วัดมาเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งเมื่อสมัยพระครูประดิษฐ์วรธรรม หรือ “หลวงพ่อเหว่า” เป็นเจ้าอาวาส ยุคนี้มีการจัดสร้างพระเครื่องทั้งพระเนื้อผง และเหรียญออกมาแล้วแต่เป็นชุดของ “หลวงพ่อเหว่า”     
         
          หลวงพ่อหม่น  ผู้สร้างตำนานพระหนังควายเผือกแห่งท้องทุ่งหนองจอกจนลือลั่น แม้ปัจจุบันท่านจะละสังขารไปนานแล้วก็ตาม แต่เมื่อเอ่ยถึงพระหนังทุกคนต้องยกให้ว่า พระหนังของหลวงพ่อหม่นนั้นเป็นสุดยอดวัตถุมงคล แห่งทุ่งหนองจอกอย่างแท้จริง........  

พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล ของหลวงพ่อองค์่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ งาแกะปิดตาเนื้อหาจัดจ้าน-เก่าจริงเลี่ยมทองเก่ามาแต่เดิมจ.นครสวรรค์ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ตะกรุดเนื้อทองแดงม้วนยาว3นิ้วพอกคลั่ง-สภาพสวยเดิมสมบูรณ์(นิยม)จ.เพชรบุรี 

บูชาแล้ว บาท


หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดจันทร์เพ็ญเนื้อตะกั่วม้วนยาว3นิ้วลงรักสภาพสวยสมบูรณ์จ.ชัยนาท 

บูชาแล้ว บาท


ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉีมพลีพิมพ์ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน จ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระกรุวัดท้ายคลาด พิมพ์นาคปรกเล็ก พระชุดเนื้อผงยอดนิยมพระกรุวัดท้ายตลาดพิมพ์นาคปรกเล็กจ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระคง ลำพูน จ.ลำพูน พระคง-ลำพูนเนื้อดินสีเนื้อผ่านกรุเก่าใบโพธิ์ติดคมชัดเลี่ยมทองพร้อมใช้ จ.ลำพูน 

(ขายแล้ว) บาท


พระลีลา กรุวัดราชบูราณะ จ.อยุธยา พระปางลีลา กรุวัดราชบูราณะ เนื้อชินเงิน สภาพสมบรูณ์ จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


พระหล่อทองคำ ปางห้ามสมุทร พระหล่อเนื้อทองคำ ปางห้ามสมุทร ศิลปะและอายุ-ยุคสมัยอยุธยา จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อตาด วันบางวันทอง เหรียญหล่อหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เกจิยุดเก่า เนื้อเงินหายากจ.สมุทรสงคราม 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคพิมพ์ไก่หาง3เส้น เนื้อดิน-เลี่ยมทองจ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ครุฑกลาง เนื้อดิน เลี่ยมทอง จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อเดิม-วัดหนองโพ(รุ่นแรก) รูปหล่อหลวงพ่อเดิม ออกวัดหนองหลวง/รุ่นแรก เนื้อโหละผสม จ.นครปฐม 

โชร์พระ/ บาท


พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พิมพ์สังฎิยาว พิเศษมโค๊ตนูนเนื้อโลหะผสม หายากสุดฯ สร้างพศ2485 กทม 

ขายแล้ว/ บาท


พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื้อโหละผสม พิมพ์ทรงสังข์ สร้าง2486 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน สมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธานพิธี สร้างช่วงพศ2480 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด