พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (7) พระเนื้อดิน (15) พระเนื้อชิน (6) พระเนื้อผง (14) พระเหรียญ (65) พระกริ่ง (16) พระรูปหล่อ (62) เหรียญหล่อ (50) พระปิดตา (17) เครื่องราง (6) พระบูชา (1)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
หลักสูตรดูพระเครื่อง
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 5 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 1 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 256 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง
หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่
หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง
หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม
พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม
หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
ครูบาวัง วัดถ้ำชัยมงคล
หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 

พระเครื่องทรูอมูเล็ตดอทคอม

ไทม์อมูเล็ตดอทคอม

สิทธิ์ สุพรรณฯ

พระหลวงตา

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
ประวัติหลวงพ่อพ่วง วัดกก
ข้อมูลประวัติ หลวงพ่อพ่วง วัดกก หรือ พระอุปัชฌาย์พ่วง วัดกก

          “หลวงพ่อพ่วง” เป็นชาว “บางขุนเทียน” เกิดที่ตำบลแสมดำ ทั้งบิดาและมารดาต่างก็ชื่อ “พุ่ม” เช่นกัน นามสกุล “พุ่มพยุง” และจากที่ “หลวงพ่อ” เป็นพระเถระที่สงบเงียบไม่ค่อยพูดจึงไม่มีใครกล้าคุยกับท่านมากนัก เพราะคิดว่าท่านดุแต่โดยแท้จริงท่านเป็นพระที่มี “เมตตามาก” คนใกล้ชิดทราบดี ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ทราบแต่เพียงว่าท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐ และมีน้องชายชื่อ “หลวงพ่อรอด” เพราะหลังจากอุปสมบทแล้วก็ได้รับแต่งตั้งเป็น “เจ้าอาวาสวัดแสมดำ” ชาวบ้านจึงเรียกท่านว่า “หลวงพ่อรอด” ทางด้าน “หลวงพ่อพ่วง” เมื่ออายุครบบวชก็อุปสมบทที่ วัดกก โดยมี “หลวงพ่อวัดหัวกระบือ” เป็นพระอุปัชฌาย์ “หลวงพ่อคง วัดกก” เป็นคู่สวดได้รับฉายาว่า “ธมฺโชติก” หรือ “ธรรมโชติ” หมายถึงผู้ “มีธรรมอันสว่างไสวเข้าใจธรรมได้กระจ่างแจ้ง” หลังจากอุปสมบทแล้วท่านได้ศึกษาทาง “วิปัสสนา” กับ “หลวงพ่อคง” และพระอุปัชฌาย์ของท่านที่ “วัดหัวกระบือ” อยู่หลายพรรษาจึงออก “ธุดงค์” ไปแสวงหาความสงบวิเวกเป็นการทดสอบ “พลังจิต” และฝึกฝนวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ศึกษามา

          “นายเยื้อน บุญฟัก” อายุ ๘๑ ปี เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า “คราวหนึ่งคุณแม่ของแกเองชื่อ “นางแปลก” ป่วยหนักจึงนำตัวไปรักษาที่ “บ้านหมอไหม” ย่านบางมดนานหลายวันอาการกลับ “ทรุดลง” ไม่ดีขึ้นเลยวันหนึ่ง “นายเยื้อน” เดินผ่านกุฏิ “หลวงพ่อพ่วง” ท่านเห็นจึงเรียกให้ขึ้นไปหาแล้วบอกว่า “ต้องเปลี่ยนหมอที่รักษาคุณแม่ใหม่แล้วจะหาย ไม่เช่นนั้นแม่แกตายแน่” เมื่อได้ยินเช่นนั้น “นายเยื้อน” รีบไปรับ “คุณแม่” จากบ้าน “หมอไหม” โดยอุ้มลงเรือพาไปหา “หมออ่ำ ปากคลองบางกระแนะ” ซึ่งพอไปถึง “หมออ่ำ” ก็ทำการรักษาไม่นานอาการก็ “ดีขึ้น” กระทั่งหายเป็นปกติตั้งแต่นั้นมา “นายเยื้อน” จึงเพิ่มความเคารพนับถือ “หลวงพ่อพ่วง” มากขึ้นมักบอกใครต่อใครว่า “หลวงพ่อพ่วงท่านแน่จริงไม่ต้องถามอะไรเลย ท่านก็ล่วงรู้ได้แจ่มแจ้งเหมือนตาเห็นแสดงว่าญาณของท่านสูงยิ่งนัก” ต่อมาทางคณะสงฆ์พิจารณาเห็นว่า “หลวงพ่อพ่วง” เป็นพระเถระที่ชาวบ้านเคารพนับถือและมีศีลาจารวัตรดียิ่ง สามารถปกครองพระให้มีระเบียบเรียบร้อย จึงแต่งตั้งให้เป็น “พระอุปัชฌาย์พ่วง” เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ซึ่ง ขณะนั้นท่านมีพรรษาได้เพียง ๒๐ พรรษาเท่านั้นเพราะสมัยนั้น “พระอุปัชฌาย์” มิใช่จะตั้งกันได้ง่าย ๆ เพราะช่วงนั้น “บางขุนเทียน” มีเพียงรูปเดียวคือ “หลวงปู่เอี่ยม” หรือ “เจ้าคุณเฒ่าวัดหนัง” ต่อมาจึงมี “หลวงพ่อพ่วง” เพิ่มอีกเป็น ๒ รูป ดังนั้นสมัยที่ “หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง” ทำการบวชก็มี “หลวงพ่อ” เป็นพระกรรมวาจาจารย์และหลังบวชแล้ว ก็ได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนาและพุทธาคมจาก “หลวงพ่อพ่วง วัดกก”

          อีกเรื่องที่ต้องเล่าให้ฟังคือ “พระอรุณ อรุโณ” สมัยเด็กก็บวชอยู่ที่ “วัดกก” จึงได้เป็น “ลูกศิษย์” ของ “หลวงพ่อพ่วง” เล่าว่า “หลวงพ่อพ่วงเป็นพระที่เคร่งมาก ไม่เคยจับเงินเลย ใครถวายท่านก็ให้ศิษย์เก็บเอาไว้ไม่แตะต้องทั้งสิ้น มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านไปสวดมนต์ฉันเพลที่บ้านญาติโยมซึ่งเอาเรือมารับ พอท่านลงจากกุฏิไปแล้วลูกศิษย์ก็ออกจากกุฏิใส่กุญแจ ซึ่งกุญแจนั้นสามารถกดเข้าไปก็ล็อกได้แต่วันนั้นเมื่อล็อกแล้ว ปรากฏว่าลืมลูกกุญแจไว้ในกุฏิ ดังนั้นเมื่อ “หลวงพ่อพ่วง” กลับจากกิจนิมนต์จึงเข้ากุฏิไม่ได้แต่ท่านก็มิได้ว่ากล่าวใด ๆ สั่งให้ลูกศิษย์ไปหิ้วของที่ท่าน้ำครั้นลูกศิษย์กลับมาก็พบว่า “หลวงพ่อ” เข้าไปอยู่ในกุฏิแล้วโดยที่ประตูกุฏิยังคงปิดอยู่เช่นเดิม ซึ่งเรื่องนี้สร้างความสงสัยให้กับ “พระอรุณ อรุโณ” เป็นอย่างยิ่งแต่ก็ไม่กล้าถามเพราะทราบดีอยู่ก่อนแล้วว่า “หลวงพ่อ” มีวิชาอาคมเข้มขลัง อีกเรื่อง “หลวงพ่อน้อม” อดีตเจ้าอาวาสวัดกกเล่าให้ผู้คนฟังขณะ หลวงพ่อพ่วง สร้าง “พระเนื้อดิน” ในปี พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้น “นายจง พึ่งพรหม” ซึ่งเป็นช่างแกะแม่พิมพ์เดินผ่านมาหลวงพ่อจึงเรียกแล้วบอกว่า “ให้ไปดู นายตู้ พึ่งพรหม น้องชายที่บ้านซิว่ายังอยู่ดีหรือ” นายจงได้ยินจึงรีบไปดูปรากฏว่า “นายตู้” ผู้น้องชายกำลังเจ็บไข้ไม่สบายจึงกลับมาบอกหลวงพ่อซึ่งท่านก็ไม่ว่ากระไรแต่ พอวันรุ่งขึ้น “นายตู้” ก็เสียชีวิต “หลวงพ่อ” จึงได้แต่บอกว่า “เขาหมดอายุแล้ว” ซึ่งเรื่องนี้ “หลวงพ่อน้อม” เล่าว่าได้ยินมากับหูของท่านเองจึงแสดงว่า “หลวงพ่อพ่วง” มีญาณวิเศษหยั่งรู้กาลชะตาของคนอื่นได้เหมือนตาเห็นนอกจากนี้ “พระอรุณ อรุโณ” ยังพูดถึงมงคลวัตถุของหลวงพ่อพ่วงว่า “พระเนื้อดินเผา” ของ หลวงพ่อพ่วง วัดกก มีพุทธคุณเยี่ยมมีคนได้รับประสบการณ์กันมากมายนับไม่ถ้วน

          “คุณปู่เยื้อน บุญฟัก” เป็นอีกผู้หนึ่งที่รู้เห็นเรื่องอภินิหารของ “หลวงพ่อพ่วง วัดกก” โดยได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่า “คราวหนึ่งหลวงพ่อพ่วง” ไปงานสวดสดับปกรณ์ครั้นสวดจบในหลวง “รัชกาลที่ ๕” ทรงถวายเงินที่ห่อด้วยผ้าให้ท่านโดยที่ หลวงพ่อพ่วง ไม่รู้ว่าในห่อผ้านั้นเป็นเงินจึงไปหยิบ แต่เมื่อมารู้ภายหลังท่านรีบยกเงินห่อนั้นให้ “ปู่เยื้อน” ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเด็กและคอยติดตามหลวงพ่อไปในทุกงานรับกิจนิมนต์ พร้อมทั้งยกย่องหลวงพ่อว่าเป็นผู้ไม่ติดในโทสะ เพราะท่านไม่เคยโกรธหรือดุด่าว่าใครแต่ท่านมีตบะแรงกล้าคนเห็นจึงเกรงกลัว แม้แต่รสอาหารท่านก็ไม่หลงเพราะตลอดชีวิตสมณะของท่านเอาแต่ “ฉันเจ” กระทั่งมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ทิ้งไว้แต่อนุสรณ์แห่งคุณงามความดีและพระเครื่องอันเข้มขลังไว้ช่วยเหลือผู้ เลื่อมใสศรัทธาต่อไป จึงนับเป็นโอกาสอันดียิ่งของท่านผู้อ่านที่สนใจมี “ของดี” ขณะที่ยังไม่มีใครสนใจราคาก็ไม่สูงแค่หลักร้อยเท่านั้น แต่วันข้างหน้าหลังจาก “เหนือลิขิต ประกาศิตฟ้าดิน” ตรงนี้นำเสนอแล้วราคาจะเป็นอย่างไรก็ไม่ทราบได้เช่นกัน
 
พระเครื่องอื่น ๆ
ไม่พบพระเครื่องในฐานข้อมูล ของหลวงพ่อองค์่นี้
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ งาแกะปิดตาเนื้อหาจัดจ้าน-เก่าจริงเลี่ยมทองเก่ามาแต่เดิมจ.นครสวรรค์ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ตะกรุดเนื้อทองแดงม้วนยาว3นิ้วพอกคลั่ง-สภาพสวยเดิมสมบูรณ์(นิยม)จ.เพชรบุรี 

บูชาแล้ว บาท


หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดจันทร์เพ็ญเนื้อตะกั่วม้วนยาว3นิ้วลงรักสภาพสวยสมบูรณ์จ.ชัยนาท 

บูชาแล้ว บาท


ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉีมพลีพิมพ์ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน จ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระกรุวัดท้ายคลาด พิมพ์นาคปรกเล็ก พระชุดเนื้อผงยอดนิยมพระกรุวัดท้ายตลาดพิมพ์นาคปรกเล็กจ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระคง ลำพูน จ.ลำพูน พระคง-ลำพูนเนื้อดินสีเนื้อผ่านกรุเก่าใบโพธิ์ติดคมชัดเลี่ยมทองพร้อมใช้ จ.ลำพูน 

(ขายแล้ว) บาท


พระลีลา กรุวัดราชบูราณะ จ.อยุธยา พระปางลีลา กรุวัดราชบูราณะ เนื้อชินเงิน สภาพสมบรูณ์ จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


พระหล่อทองคำ ปางห้ามสมุทร พระหล่อเนื้อทองคำ ปางห้ามสมุทร ศิลปะและอายุ-ยุคสมัยอยุธยา จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อตาด วันบางวันทอง เหรียญหล่อหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เกจิยุดเก่า เนื้อเงินหายากจ.สมุทรสงคราม 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคพิมพ์ไก่หาง3เส้น เนื้อดิน-เลี่ยมทองจ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ครุฑกลาง เนื้อดิน เลี่ยมทอง จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อเดิม-วัดหนองโพ(รุ่นแรก) รูปหล่อหลวงพ่อเดิม ออกวัดหนองหลวง/รุ่นแรก เนื้อโหละผสม จ.นครปฐม 

โชร์พระ/ บาท


พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พิมพ์สังฎิยาว พิเศษมโค๊ตนูนเนื้อโลหะผสม หายากสุดฯ สร้างพศ2485 กทม 

ขายแล้ว/ บาท


พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื้อโหละผสม พิมพ์ทรงสังข์ สร้าง2486 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน สมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธานพิธี สร้างช่วงพศ2480 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด