พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (7) พระเนื้อดิน (15) พระเนื้อชิน (6) พระเนื้อผง (14) พระเหรียญ (65) พระกริ่ง (16) พระรูปหล่อ (62) เหรียญหล่อ (50) พระปิดตา (17) เครื่องราง (6) พระบูชา (1)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
หลักสูตรดูพระเครื่อง
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 5 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 1 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 256 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง
หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่
หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง
หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม
พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม
หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
ครูบาวัง วัดถ้ำชัยมงคล
หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 

พระเครื่องทรูอมูเล็ตดอทคอม

ไทม์อมูเล็ตดอทคอม

สิทธิ์ สุพรรณฯ

พระหลวงตา

 
ค้นหาประวัติคณาจารย์ผู้สร้างพระเครื่อง
ประวัติท่านเจ้าคุณศรี วัดสุทัศน์
ข้อมูลประวัิต พระมงคลราชมุนี ท่านเจ้าคุณศรี (สนธ์ ยติธโร) วัดสุทัศน์

          พระมงคลราชมุนี นามเดิม สนธิ์ นามสกุลพงศ์กระวี นามฉายา ยติธโร ชาตะกาลกำเนิด ณ วันศุกร์ แรม 8 ค่ำ เดือน 8 ปีเถาะ เบญจศก จุลศักราช 1265 เวลา 6.00 น. เศษตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม พุทธศักราช 2446 เฉลิมรูปดวงชะตาสมภพ ตามคัมภีร์โหราศาสตร์ ปรากฏเป็นรูปดวงชะตาดังนี้

          ลัคนาสถิตราศีกรกฎ ปฐมอาโปธาตุเกาะนวมนวางศ์ (5) ตติยตรียางค์ (5) เกี่ยวด้วยอสิเลสะฤกษ์ที่ 9 ประกอบด้วยสมโณแห่งฤกษ์ ณ ตำบลบ้านป่าหวาย กิ่งอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี โยมผู้ชายชื่อสุข โยมผู้หญิงชื่อทองดี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 11 คน คือ
1. นายบก ทิพโม (ถึงแก่กรรมไปแล้ว)
2. นางจอย วงศ์เทียน
3. นายพริ้ง พงศ์กระวี
4. นางเที่ยง ราชวงศ์
5. นางเม้า จินนิฤทัย
6. พระมงคลราชมุนี (สนธิ์ พงศ์กระวี)
7. นางแสง จอนจา
8. นางฉ่ำ พงศ์กระวี
9. นางมี มิทิน
10. นางขาว สุขกสิกร
11. นายมงคล พงศ์กระวี

          เมื่อเจ้าคุณมงคลราชมุนีมีอายุได้ 11 ขวบ ขณะนั้นโยมผู้ชายของท่านได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว โยมผู้หญิงของท่านจึงได้นำท่านมาฝากไว้กับพระภิกษุบุญ (หลวงตาบุญ) ซึ่งเกี่ยวเป็นญาติกับโยมผู้หญิงของท่านที่วัดสุทัศน์เทพวรารามคณะ 15 เพื่อให้ศึกษาอักขระสมัยฝ่ายบาลี ตามคตินิยมที่เล่าเรียนกันในยุคนั้น คือ เริ่มเรียนคัมภีร์สนธิ คัมภีร์นาม คือไปตามลำดับ

          ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2458 อายุของท่านได้ 13 ปี จึงได้บรรพชาเป็นสามเณรโดยมี พระมงคล ราชมุนี (ผึ่ง ปุปผโก) เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูปลัดสุวัฒนพรหมจริยคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ในระหว่างที่ท่านบรรพชาเป็นสามเณรอยู่นั้น ท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนต่อไปตามปกติ จนถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2459 ท่านได้ย้ายไปอยู่ที่วัด กลางบางแก้ว ตำบลบางแก้ว อำเภอ นครไชยศรี จังหวัดนครปฐม ในความปกครองของเจ้าคุณพุทธิวิถีนายก เจ้าคณะจังหวัดนครปฐมในยุคนั้น ตราบจนถึง พ.ศ. 2460 ท่านจึงได้ย้ายกลับมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ฯ ตามเดิม

          ในตอนที่ท่านจะกลับมานี้ ตามที่ท่านได้เคยกรุณาเล่าให้บรรดาศิษย์และผู้ที่คุ้นเคยฟังว่าขณะเมื่อท่านเข้าไปกราบลา เจ้าคุณพุทธวิถีนานกเพื่อจะกลับกรุงเทพฯ เห็นจะเป็นเพราะความกรุณาที่ท่านเจ้าคุณพุทธฯ มีต่อท่าน เพราะได้เอ่ยปรารภไม่อยากให้ท่านกลับกรุงเทพฯเลย ท่านมีความประสงค์ที่ต้องการที่จะเอาไว้แทนตัวท่าน (เนื่องจากเจ้าคุณพุทธวิถีนายกองค์นี้เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเชิงวิปัสสนาธุระมีผู้เคารพนับถือท่านมาก)แต่เมื่อท่านเจ้าคุณพุทธฯ ท่านเห็นว่าไม่สามารถจะขัดขวางหน่วงเหนี่ยวเอาไว้ได้ ก็จำเป็นต้องอนุโลมผ่อนตามพร้อมกับประสาทคำพยากรณ์ให้ไว้ว่า "คนลักษณะอย่างเณรมันต้องเป็นอาจารย์คน" ซึ่งคำพยากรณ์ของท่านเจ้าคุณพุทธฯ ดังกล่าวนี้ก็ได้ประสิทธิผลสมจริงทุกประการ

          เมื่อท่านได้กลับคืนมาสู่วัดสุทัศน์ตามเดิมแล้ว ก็ได้ศึกษาธรรมวินัยต่อไปและได้เข้าสอบประโยคนักธรรมตรีได้ในปี พ.ศ. 2464 เข้าสอบประโยคนักธรรมโทได้ในปี พ.ศ. 2465 ถึงปี พ.ศ. 2466 ได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยมีสมเด็จพระสังฆราช (แผ ติสสเทว) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ พระพรหมมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมงคลราชมุนี (ผึ่ง ปุปผโก) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระครูปลัดสุวัฒนพระพรหมจริยคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระพิมลธรรม (นาค สุมมนาโค) เจ้าอาวาส วัดอรุณราชวราราม เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นที่พระเทพเวที และยังสถิตอยู่ที่วัดสุทัศน์เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เสด็จพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาว่า "ยติโร" หลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัยตลอดมา

          ปี พ.ศ. 2467 สอบเปรียญธรรมได้ 3 ประโยค และเป็นพระเปรียญรุ่นสุดท้ายที่ได้รับพระราชทานนิตย์ภัตต์เพราะปรากฏว่าต่อแต่ปีนั้นมา พระภิกษุสามเณรที่สอบเปรียญธรรมได้ แม้จนถึง 9 ประโยค ก็ไม่ได้รับพระราชทานนิตยภัตต์เลยจนตราบเท่าทุกวันนี้

          ปีพ.ศ. 2468 สอบเปรียญธรรมได้ 4 ประโยค พร้อมทั้งได้รับสมณศักดิ์เป็นพระครูธรรมรักขิต ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์ และในปีนั้นเองก็ได้ขึ้นครองเป็นเจ้าคณะ 13 แทนเจ้าคณะเดิมที่ถึงแก่มรณภาพ

          ปี พ.ศ. 2469 ท่านได้ประสบเคราะห์กรรมอย่างหนัก คือถูกคนวิกลจริตฟันท่านด้วยมีดตอก ได้รับบาดเจ็บตามร่างกายหลายแห่งเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2469 เวลาประมาณ 4.00 น. เศษ

          ผลจากการถูกทำร้ายอย่างสาหัสในคราวนั้น ทำให้ท่านอาพาธหนักไปพักหนึ่ง ประมาณสามเดือน ได้ขึ้นไปรักษาตัวอยู่ที่บ้านเดิมของท่าน เมื่อหายจากการอาพาธแล้วได้กลับคืนมาอยู่ที่วัดสุทัศน์ตามเดิม และเมื่อมาถึงได้ขึ้นไปเฝ้าเสด็จพระอุปัชฌาย์ เสด็จทรงรับสั่งว่า "อ๋อ! มหาสนธิ์ เธอหายดีแล้วหรือ" แล้วท่านก็รับสั่งเรียกให้เข้าไปใกล้ ทรงจับศรีษะท่านไว้แล้วทรงเป่าให้ 3 ครั้ง พร้อมกับทรงรับสั่งต่อไปอีกว่า "ตั้งแต่นี้ต่อไปจะไม่มีอะไรอีกแล้ว" คำรับสั่งประสาทพรของเสด็จในครั้งกระนั้นเป็นมหามนต์อันศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองป้องกันสรรพภัย ให้แก่ท่านตลอดมา เพราะนับแต่เกิดเหตุการณ์ในครั้งนั้นแล้ว ก็ไม่ปรากฏว่าท่านได้รับอันตรายที่ร้ายแรงเลยตราบเท่าถึงกาลมรณภาพ

          อนึ่ง ในปีนั้นเองท่านได้เลื่อนตำแหน่งฐานานุกรมจากพระครูธรรมรักขิต เป็นพระครูวิจารณ์โกศล และเลื่อนจากพระครูวิจารณ์โกศล เป็นพระครูวิจิตร์สังฆการ ฐานานุกรมในสมเด็จพระพุฒาจารย์

ปี พ.ศ. 2470 สอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค
ปี พ.ศ. 2471 ได้เลื่อนตำแหน่งฐานานุกรมจากพระครูวิจิตร์สังฆการเป็น พระครูวินัยธร ฐานานุกรมในสมเด็จพระวันรัต
ปี พ.ศ. 2474 สอบได้นักธรรมเอกและเปรียญธรรมเอก 7 ประโยคแล้ว ท่านก็หยุดเข้าสอบประโยคต่อๆ ไปอีก ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ถึงแม้ว่าท่านจะปลงใจหยุดไม่เข้าสอบประโยคต่อๆไปอีก แต่ท่านก็ยังคงศึกษาค้นคว้าหาความรู้ในพระไตรปิฏกอยู่เสมอ มิได้ว่างเว้นทอดทิ้งเลย ใช่แต่เท่านั้น ท่านยังเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาในศาสตร์ต่างๆอีกด้วย ขึ้นแรกหันเข้าศึกษาค้นคว้าวิชาแพทย์แผนโบราณพยายามรวบรวมตำราแพทย์เอาไว้ได้เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนั้นท่านก็ได้ประกอบยาแก้โรคขึ้นไว้หลายขนาน เพื่อใช้บำบัดโรคภัยไข้เจ็บจากผู้ที่มาขอรับการรักษา โดยมิได้คิดมูลค่าแต่ประการใดเลย

          ยาที่ท่านประกอบขึ้นแต่ละขนานปรากฏว่ามีสรรคุณใช้บำบัดโรคได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ก็เพราะผู้ที่มาขอเอาไปใช้นั้นต่างประจักษ์ผลความศักดิ์สิทธิ์ของยาที่ท่านประกอบขึ้นแทบทุกคน

          นอกจากวิชาแพทย์แล้วท่านยังสนใจในวิชาโหราศาสตร์ ทั้งในด้านพยากรณ์ด้วยศาสตร์ประเภทนี้เองนับว่าท่านได้สร้างเกียรติประวัติไว้ในวงจักรวาลโหรไทยอย่างเลอเลิศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการคำนวณฤกษ์ยามเพื่อประกอบพิธีการมงคลต่างๆ ฤกษ์ของท่านที่คำนวณให้ไปทุกคราว ปรากฏว่าให้ผลดีแก่เจ้าของงานแทบทุกราย และบางครั้งยังสำแดงนิมิตดีให้ประจักษ์ทันตาเห็นเป็นหลายครั้ง ดังเช่นเมื่อคราวให้ฤกษ์ยกช่อฟ้าที่วัดสุทัศน์ฯเป็นต้น

          ในระยะหลังเมื่อใกล้กาลมรณภาพของท่าน เกียรติคุณในการคำนวณฤกษ์ได้แพร่เกียรติกำจายไปทั่วทิศานุทิศ ได้มีผู้ที่จะประกอบพิธีการมงคลต่างๆ พากันมาขอร้องให้ท่านช่วยคำนวณฤกษ์ให้แทบทุกเมื่อเชื่อวันและมากรายด้วยกัน ซึ่งท่านจำต้องใช้สมองอย่างหนักหน่วงในการนี้ อันเป็นเหตุอันหนึ่งที่ทำให้พยาธิเข้าครอบงำท่าน

          ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่ท่านเชี่ยวชาญเจนจบเป็นพิเศษ แทบจะหาผู้เสมอเหมือนได้ยากคือ "ไสยศาสตร์" วิทยาการอันลี้ลับที่กล่าวถึงการใช้เวทมนตร์คาถา ท่านสนใจในวิชาประเภทนี้มาก ดูเหมือนว่าเริ่มแต่เป็นสามเณรเมื่อครั้งออกไปอยู่วัดกลาง-บางแก้ว กับท่านเจ้าคุณพุทธวิถีนายก
แต่ทั้งนี้มิใช่ว่าจะเชื่อถืออย่างงมงายโดยปราศจากเหตุผล ท่านได้พยายามค้นคว้าหาเหตุที่มาของมนต์และคาถาต่างๆ ได้โดยละเอียดถูกต้องเรียบร้อยและพิสดารยิ่ง จบแทบจะกล่าวได้ว่าไม่มีมนต์หรือคาถาบทใดเลย ที่ไม่เคยผ่านสายตาของท่าน

          พร้อมทั้งการค้นคว้าในหลักวิชาเวทมนตร์คาถานี้ ท่านก็ได้เพียรบำเพ็ญอบรมจิตใจของท่านในทางวิปัสสนาธุระควบไปด้วย เรื่องความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน ก็ได้เคยสำแดงออกให้เห็นประจักษ์แก่ตาแก่ใจ ในเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์โดยทั่วกันทุกคน จนแทบจะกล่าวได้ว่าสืบเบื้องหน้าต่อไปจะหาพระมหาเถราจารย์เยี่ยงท่านอีก ก็เปรียบเสมือนไปเดินงมเข็มในก้นท้องทะเลฉะนั้น

          วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2481 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ "พระศรีสัจจญาณมุนี" ซึ่งพระราชาคณะตำแหน่งนี้ มิได้เคยแต่งตั้งให้แก่พระเถระรูปใดเลยในยุคกรุงรัตนโสินทร์นี้ และดูเหมือนว่าจะเคยมีการแต่งตั้งกันบ้างก็แต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเท่านั้น

          ฉะนั้นเมื่อตอนก่อนที่จะได้รับพระราชทานตำแหน่งที่พระศรีสัจจญาณมุนีนี้ ได้มีการประชุมกันเพื่อเลือกหาราชทินนามเพื่อขอพระราชทาน มีพระเถรรูปหนึ่งที่เป็นกรรมการร่วมอยู่ด้วยได้ถวายความเห็นคัดค้านต่อเสด็จพระอุปัชฌาย์ของท่าน ซึ่งเป็นองค์ประธานในที่ประชุมนั้น และซ้ำทรงเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำในที่ประชุมนั้นว่า ควรใช้ราชทินนามว่า พระศรีสัจจญาณมุนี

          พระเถระกรรมการรูปนั้นได้ถวายความเห็นว่า ตำแหน่งที่พระศรีสัจจญาณมุนีขึ้น ควรแก่ผู้ที่เป็นโหรเท่านั้นถ้าจะให้มหาสนธิ์เป็นเห็นจะไม่เหมาะ แต่เสด็จกลับทรงนับสั่งว่า "มหาสนธิ์ของฉันก็เป็นโหรเหมือนกัน" เรื่องจึงเป็นยุติกันแค่นั้น ดังปรากฏในสำเนาตามที่จารึกอยู่ในสัญญาบัตรตราตั้งดังนี้…

          ให้มหาสนธิ์ 7 ประโยค วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นพระราชาคณะมีนามว่า พระศรีสัจจญาณมุนี ขอพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณร ในพระอารามโดยสมควร จงเจริญสุขสวัสดิ์ในพระพุทธศาสนาเทอญ

          ท่านได้ครองอยู่ในตำแหน่งนี้ต่อมาจนถึงวันมรณภาพ มูลเหตุที่จะเกิดพยาธิเบียดเบียนท่านจนถึงแก่การมรณภาพนั้น ก็เห็นจะเป็นเพราะว่าท่านเป็นผู้ที่ตรากตรำมาก เบื้องต้นก็ตรากตำในการศึกษาเล่าเรียนและการงานจนแทบจะไม่มีเวลาพักผ่อนกล่าวคือ นับแต่ท่านเริ่มสอนได้เปรียญธรรมท่านก็อุทิศเวลาของท่านสอนหนังสือให้แก่พระภิกษุสามเณร สอนกันอย่างเอาจริงเอาจังทีเดียว พอว่างจากการสอน ท่านก็หันมาจับมาจับการเรียนของท่านต่อไปอีก วันหนึ่งจะหาเวลาพักผ่อนได้น้อยเต็มทีเหตุนี้เองจึงทำให้สังขารของท่านบอบช้ำมาก และต่อมาภายหลังเมื่อว่างในด้านศึกษาแล้ว ท่านกลับมาเพิ่มภารกิจในหน้าที่ของพระมหาเถราจารย์อีกได้รับนิมนต์ให้ไปประกอบพิธีกรรมต่างๆ เสมอเป็นเนืองนิตย์ เช่นประกอบพิธีการหล่อพระพุทธรูป ซึ่งเป็นพิธีที่ใหญ่ต้องใช้เวลามาก เริ่มแต่การจารึกพระยันต์ 108 ลงในแผ่นโลหะ ซึ่งกว่าจะแล้วเสร็จก็เป็นการทรมานสังขารมิใช่น้อย มิใช่ว่าจะทำกันเป็นบางครั้งบางคราวหรือนานทีปีหน ท่านปฏิบัติในธุรกิจเช่นนี้แทบว่าจะเป็นประจำทีเดียว แม้บางครั้งบังเกิดอาการอาพาธขึ้น ท่านก็พยายามแข็งขืนกลืนกล้ำกระทำพิธีดังกล่าวจนแล้วเสร็จไม่ยอมรามือ

          เมื่อเสร็จจากการลงแผ่นโลหะแล้ว จากนั้นก็ต้องนั่งปรกเข้าพิธีสวดพุทธาภิเษก นั่งปรกไปจนกว่าจะได้ฤกษ์เททอง การประกอบพิธีเช่นนี้แต่ละครั้งทำให้สุขภาพของท่านค่อยๆเสื่อมทรุดลงทุกที เมื่อมีเวลาว่างพอที่จะได้พักผ่อนจำวัด ก็แทนที่จะได้รับการพักผ่อนอย่างสาสมเต็มที่ กลับต้องมานั่งรับแขกที่กุฏิอีกตลอดทั้งกลางวันกลางคืน เพราะเหตุว่ามีผู้คนพากันไปมาหาสู่ท่านเสมอมิได้ขาด และเมื่อผู้ใดได้ไปสู่ถึงสำนักของท่านแล้ว ท่านจะต้องให้การต้อนรับเป็นอย่างดีโดยทั่วถึงกันทุกคน

          จากวันที่ท่านได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ จากพระศรีสัจจญาณมุนีเป็นพระมงคลราชมุนี สุขภาพของท่านก็เริ่มเสื่อมโทรมลงทุกที อาการอาพาธเริ่มปรากฏตัวขึ้นทีละน้อยๆ แต่ท่านเป็นผู้ที่กำลังใจเข้มแข็งอย่างเลิศ ไม่หวาดหวั่นพรั่นพรึ่งต่อมรณภัยที่กำลังคืบคลานเข้ามาเลย แม้จนกระทั่งเมื่อได้ทราบอาการของโรคจากผลการตรวจของนายแพทย์แล้วว่า ท่านกำลังอาพาธด้วยโรควัณโรคเหล่าศิษยานุศิษย์แทบทุกคน ตลอดจนบรรดาผู้ที่ถวายความเคารพนับถือในตัวท่านพยายามช่วยกันอ้อนวอนจะจัดหานายแพทย์มาถวายการรักษาพยาบาล แต่ท่านก็ยังคงยืนกรานเฉยเมยทำประดุจเป็นทองไม่รู้ร้อน เคยปฏิบัติกิจของท่านอย่างไร ท่านก็ปฏิบัติอยู่เช่นนั้นไม่เปลี่ยนแปลง หยูกยาที่มีผู้จัดหาไปถวายให้ฉัน บางครั้งก็ฉัน บางครั้งก็ไม่ฉัน อันนี้เองเป็นเหตุที่ทำให้อาการอาพาธทวีขึ้นโดยรวดเร็ว จนในท้ายที่สุดเมื่ออาการอาพาธย่างเข้าขีดที่สุดแล้วท่านจึงยอมให้ถวายการรักษาพยาบาล

          ระยะหลังท่านได้ย้ายจากกุฏิใหญ่ลงมาอยู่กุฏิหัวมุมข้างด้ายซ้าย แต่อาการอาพาธของท่านทรุดหนักเพียบลงเสียแล้ว จนที่สุดนายแพทย์จะเยียวยาไหว ในวันคืนวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2495 ตรงกับวันพุธ แรม 5 ค่ำ เดือนยี่ยังเป็นปีเถาะตรีศก จุลศักราช 1313 เวลา 21.20 น. ท่านก็ได้ถึงแก่มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบท่ามกลางความวิปโยคอย่างใหญ่หลวง ของเหล่าศิษยานุศิษย์ทั้งปวงเฉลิมดวงชะตาตามตะของท่านดังนี้

จริยาวัตร

          พระคุณเจ้าพระมงคลราชมุนี ท่านเป็นผู้ที่เพียบพร้อมด้วยจริยวัตรและปฏิปทา อันควรแก่การยกย่องเคารพนับถือหลายประการ ในด้านอัธยาศัยใจคอ ท่านเป็นผู้ที่มีใจคอหนักแน่นเยือกเย็นสุขุม และอ่อนโยน

          เรื่องความโกรธของท่าน แทบจะกล่าวได้ว่าไม่เคยมีใครเห็นท่านแสดงอาการโกรธเลย ถึงแม้หากว่าท่านจะเผอิญเกิดความโกรธขึ้น แต่ท่านก็พยายามเก็บสะกดเอาไว้ ไม่แสดงออกมานอกหน้าด้วยกายหรือวาจา เป็นผู้ที่มีใจกว้างขวาง ให้ความช่วยเหลือเผื่อแผ่แกคนทั่วไป โดยไม่คำนึงถึงชั้นวรรณะ

          ดังจะเห็นได้จากบุคคลที่มาติดต่อกับท่านท่านให้การปฏิสันถาวรต้อนรับโดยทั่วถึงกันหมด ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกวัย ไม่เลือกชั้นวรรณะไพร่หรือผู้ดี ไม่เลือกฐานะยากดีมีจน เมื่อผู้ใดมาขอความช่วยเหลือจากท่าน ถ้าหากท่านมีโอกาสช่วยเหลือได้ เป็นต้องให้ความช่วยเหลือโดยทันทีมิได้แสดงท่าทีเบี่ยงบ่ายอิดเอื้อนแต่ประการใดเลย

          ในการทำกิจธุระให้นั้นก็มิได้มุ่งถึงอามิสลาภผลหรือสินจ้างรางวัลเป็นที่ตั้ง คุณธรรมอันประเสริฐข้อนี้แหละที่ทำให้คนทุกชั้นเข้าใกล้ท่านได้โดยสนิทเป็นอย่างกันเองเสมอมา

          คุณธรรมของท่านอันควรแก่การสรรเสริญอีกสถานหนึ่งก็คือ ท่านเป็นผู้ที่มีกิริยาวาจาสุภาพเรียบร้อยต่อบุคคลทุกเพศทุกวัยโดยที่ถึงแม้ท่านจะเปรื่องปราชญ์ด้วยวิทยาการต่างๆ ทรงสมณศักดิ์และเป็นเปรียบธรรมชั้นสูงท่านก็ไม่เคยแสดงกิริยาท่าทีอันส่อไปถึงความเย่อหยิ่งไว้ตัวเลย ท่านไม่เคยกล่าววาจาให้ร้ายหรือส่อเสียดยุยงผู้หนึ่งผู้ใดเลย ทั้งเป็นปราศจากเล่ห์เหลี่ยมชั้นเชิงในการคิดทำลายผู้อื่น กระทำตนเป็นบุคคลที่เสมอต้นเสมอปลาย เดิมเคยเป็นอย่างไรก็คงดำรงความเป็นไปเช่นนั้นอยู่ไม่เปลี่ยนแปลงไม่เคยมีเรื่องราวแตกร้าวกับผู้ใด เคยรักใคร่สนิทสนมกับผู้ใด ก็คงสนิทสนมกับผู้นั้นตลอดมา ดังนั้นท่านจึงเป็นบุคคลที่ได้รับความเคารพนับถือจากคนทั่วไปที่ได้เคยคบหาสมาคมกับท่าน

          นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ที่มีความอุตสาหะมานะอดทนขยันหมั่นเพียร หนักเอาเบาสู้ในกิจการทุกอย่าง แม้จะยากลำบากอย่างไรไม่ท้อถอยเมื่อมีความตั้งใจว่าจะทำสิ่งไรแล้วท่านเป็นต้องทำจนแล้วเสร็จ มิใช่คนชนิดจับจดเพราะผลความดีของท่านในข้อนี้เองที่ทำให้เสด็จพระอุปัชฌาย์ของท่านทรงประสาทศิลปวิทยาการอันล้ำค่าให้ คือ ทรงพระทานพระตำรับและพิธีกรรม สำหรับสร้างพระพุทธรูปและพระกริ่ง ตลอดจนกระทั่งพระตำรับที่ใช้สำหรับลงเครื่องรางของขลังต่างๆ อันสืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้วสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งเมื่อสิ้นสมัยเสด็จพระอุปัชฌาย์ของท่านแล้วท่านก็สืบเนื่องพิธีกรรมต่างๆ เหล่านี้กระทำต่อมามิได้ขาดความศักดิ์สิทธิ์สมัยเมื่อครั้งเสด็จอุปัชฌาย์เป็นผู้ทรงกระทำบังเกิดขึ้นฉันใด ตกมาเมื่อท่านเป็นผู้กระทำสืบต่อแทน ก็ยังธำรงความสามารถไว้ฉันนั้น

          อันความมานะอดทนอย่างดีเลิศของท่านนั้น ดังจะเห็นได้จากเมื่อคราวหล่อพระรูป "หลวงพ่อศรีมลคลนิมิตร" คราวหนึ่ง และเมื่อคราวหล่อ หลวงพ่อทองทิพย์ อีกคราวหนึ่งแท้ที่จริงในการประกอบพิธีทั้งสองคราวนี้ท่านอาพาธหนักอยู่แล้ว โดยเฉพาะในคราวหลังเมื่อหล่อหลวงพ่อ "ทองทิพย์" นั้น อาการอาพาธของท่านหนักลงจนถึงขีดสุดแล้ว แม้แต่จะลุกนั่งไม่ไหว แต่ท่านก็ยังพยายามอุตส่าห์ประกอบพิธีจนสำเร็จ ซึ่งนั่นถ้าหาเป็นผู้อื่นแล้วท่าทีจะต้องเลิกล้มเป็นแน่

          ท่านเป็นบุคคลที่หาได้ยากทั้งในด้านบุพพการี และในด้านกัตญญูกติเวทีในด้านบุพพการี ท่านได้สร้างสมความดีให้ไว้แก่บรรดาญาติมิตร และศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก เช่น การวางรากฐานการศึกษาพระปริยัติธรรมในวัดสุทัศน์ฯ นั้น ท่านได้พยายามอย่างเต็มความสามารถ เริ่มแต่สมัยเมื่อท่านได้เป็นเปรียญท่านได้เสียสละเวลาของท่าน สอนหนังสือให้พระภิกษุสามเณรในวัดอย่างที่สุด เกือบจะกล่าวได้ว่าไม่มีอาจารย์องค์ใดเสมอเหมือน ยิ่งใกล้เวลาสอบไล่ท่านยิ่งพยายามซ้อนประโยคโดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเลย ตอนเช้าสอนที่กุฏิ เพลแล้วสอบบาลีไวยากรณ์ที่โรงเรียน กลางคืนสอนพระธรรมบทและซ้อนประโยคอีก ตั้งแต่หัวค่ำจนถึง24.00 น. หรือ 01.00 น. ปฏิบัติเช่นนี้เสมอมา

          ใช่แต่เท่านั้น พอเพลามือจากการสอนท่านยังปลีกเวลามาดูบทเรียนของท่านอีก หาเวลาพักผ่อนมิค่อยได้สำหรับมวลมิตรสหายและบรรดาสานุศิษย์ ท่านก็ได้สร้างบุญคุณไว้ให้มากใครมีทุกข์ร้อนหรือกิจธุระมาขอให้ท่านช่วย ท่านเป็นต้องช่วยเหลือให้ มิได้คิดเห็นแก่ความเหนื่อยยากลำบาก

          แม้จนกระทั่งเมื่ออาการอาพาธหนักลงแล้วมีผู้ไปขอร้องให้ท่านช่วยประกอบพิธีกรรมปลุกเสก หรือรดน้ำพระพุทธมนต์ ท่านก็ยังอุตส่าห์กระทำให้ โดยปราศจากความรังเกียจ คุณงามความดีของท่านดังกล่าวมานี้ คงจะเป็นตราตีประทับตรึงดวงใจบุคคลทุกคนที่เคยได้รับความอุปการะจากท่าน อันจะลืมเลือนเสียมิได้เลย

          ส่วนในด้านกตัญญูกตเวทีนั้น ก็นับได้ว่าท่านได้ถึงพร้อมแล้วอย่างสมบูรณ์ เช่นเมื่อปี พ.ศ. 2491 หลวงตาบุญผู้ซึ่งเป็นบุพพาการีอันสำคัญหนึ่งของท่าน อาพาธลงที่คณะ 13 ท่านได้ทำหน้าที่เป็นศิลานุปัฏฐาก ด้วยตนเองจัดหาแพทย์มาเยียวยารักษาจนเต็มความสามารถ ตราบจนหลวงตาบุญได้ถึงแก่มรณภาพ เพราะทานต่อความชราไม่ไหว ท่านก็ได้เป็นเจ้าภาพจัดการฌาปนกิจศพให้ ซึ่งหลวงตาบุญองค์นี้เอง เมื่อครั้งที่ท่าน (เจ้าคุณ) ยังเป็นสามเณรกำลังคร่ำเคร่งอยู่กับการศึกษาเล่าเรียน และได้มาอยู่ในความดูแลของหลวงตาบุญ หลวงตาบุญเป็นผู้ที่มีนิสัยชอบบ่นและจู้จี้ ท่าน (เจ้าคุณ) ได้รับการถูกเอ็ดและถูกบ่นจากหลวงตาบุญ จนแทบไม่เว้นแต่ละวัน หากท่านเป็นผู้ที่มีนิสัยอดทนมิเคยปริปากพูดถึงการขี้บ่นของหลวงตาบุญให้ใครฟังเลย

          การบ่นอย่างพร่ำเพรื่อของหลวงตาบุญคงดำเนินอยู่เรื่อยมา จนกระทั่งท่านสุดที่จะทนทานไหว เลยตัดสินใจคิดจะทำลายตนเองเสียเพื่อให้พ้นจากการต้องฟังการบ่นจู้จี้โดยไร้สาระของหลวงตาบุญ แต่เผอิญเป็นกุศลที่ท่านจำเริญยั่งยืนต่อไปในพระบวรพุทธศาสนาจึงได้บังเกิดเหตุการณ์มาขัดขึ้นเสียก่อนที่จะมีอันเป็นไป

          อันความอึดอัดคับใจอย่างแสนสาหัสที่ท่านเคยได้รับจากหลวงตาบุญนั้น แทนที่ท่านจะจดจำคุมแค้นไว้ก็หาไม่ ท่านกลับมุ่งแสดงกตัญญูกตเวทิตาธรรมต่อ อันเป็นสิ่งที่ควรแก่การสรรเสริญยิ่ง จริยาวัตรต่างๆ ของท่านตามที่ยกขึ้นมากล่าวอ้างนี้เป็นเพียงส่วนย่อๆ เท่านั้น แท้ที่จริงท่านเป็นผู้ที่เพียงพร้อมด้วยคุณธรรมสูงทุกประการ

ผลงานที่ท่านได้บำเพ็ญเกี่ยวกับในทางพระศาสนา

1. พ.ศ. 2467 เป็นครูสอนบาลีไวยากรณ์เป็นกรรมการสอบนักธรรมและบาลี ประจำสำนักวัดสุทัศน์
2. พ.ศ. 2471 เป็นกรรมการตรวจสอบประโยคนักธรรมของสนามหลวง
3. พ.ศ. 2474 เป็นครูสอน ป.ธ. 3 ประจำสำนักวัดสุทัศน์
4. พ.ศ. 2475 เป็นกรรมการตรวจบาลีของสนามหลวง
5. พ.ศ. 2476 เป็นครูสอน ป.ธ. 4 ประจำสำนักวัดสุทัศน์ และเป็นกรรมการมหากุฎวิทยาลัย กองตรวจแปลพระไตรปิฎก
6. พ.ศ. 2483 เป็นกรรมการแปลพระไตรปิฎก ฝ่ายพระสูตรของกรมการศาสนาแผนกศาสนศึกษาในพระบรมราชูปถัมภ์
7. พ.ศ.2485 เป็นครูสอน ป.ธ. 6 ประจำสำนักสุทัศน์
8. พ.ศ. 2486 เป็นผู้อำนวยการศึกษาปริยัติะรรมในสำนักวัดสุทัศน์และเป็นวินัยธรชั้นอุทธรณ์

นอกจากนี้ท่านยังได้บำเพ็ญงานในด้านพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับกรณีพิเศษอีก คือ

          ทุกคราวที่ทหารหาญของประเทศไทยต้องออกไปสู่สมรภูมิ ท่านได้ประกอบพิธีสร้างพระเครื่องรางขึ้นแจกจ่ายแก่บรรดาเหล่าทหารเพื่อเป็นเครื่องบำรุงขวัญ เริ่มแต่กรณีพิพาทอินโดจีนจนกระทั่งสงครามเกาหลี ท่านได้ประกอบพิธีสร้างท่านกำลังอาพาธหนักอยู่ท่านก็ได้พยายามประกอบพิธีสร้างพระเครื่องดังกล่าวนี้ขึ้นจนเป็นผลสำเร็จ และได้ทำการแจกจ่ายให้แก่เหล่าทหารทั้งทัพบกและทัพเรือโดยทั่วถึงกันหมด

          อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2490 ท่านได้เริ่มลงมือสร้างพระอุโบสถวัดศรีจอมทอง (วัดตีนโนน) ตำบลห้วยป่าหวาย กิ่งอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี อันเป็นชาติภูมิของท่านได้กระทำพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันศุกร์ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน นพศกจุลศักราช 1309 ตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 ซึ่งปัจจุบันนี้ก็กำลังทำการก่อสร้างอยู่ แต่ยังมิได้ทันแล้วเสร็จ ท่านก็ถึงแก่กาลมรณภาพเสียก่อนเป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่งที่ท่านมิได้ทันมีโอกาสชมผลสำเร็จของงาน ที่ท่านพยายามทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังใจและกำลังทรัพย์ลงไปโดยเต็มกำลังความสามารถของท่าน

          พร้อมกับการสร้างพระอุโบสถท่านก็ได้จัดการสร้างพระประธานประจำพระอุโบสถวัดนั้นขึ้น เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2494 เป็นพระพุทธรูปหล่อขนาดใหญ่ ถวายพระนามพระประธานองค์ที่หล่อนั้นว่า "พระศรีมงคลนิมิตร" อนึ่ง ในการหล่อพระประธานคราวนั้น เมื่อเสร็จแล้วปรากฏว่ายังมีเศษทองเหลืออยู่เป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้จัดการหล่อพระพุทธรูปขึ้นอีกองค์หนึ่งขนาดย่อมกว่าองค์ก่อน ได้กระทำพิธีหล่อเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495 ก่อนท่านมรณภาพเพียง 15 วัน ถวายพระนามพระพุทธรูปองค์ที่หล่อคราวหลังนี้ว่า "หลวงพ่อทองทิพย์" ขณะนี้พระพุทธรูปที่หล่อทั้งสององค์นี้ ได้นำไปประดิษฐานไว้ ณ วัดศรีจอมทองเรียบร้อยแล้ว สมดังที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ทุกประการฯ

พระเครื่องอื่น ๆ
พระประจำวัน
พระประจำวัน
วัดสุทัศน์

฿ 3500 เช่าพระเครื่องรายละเอียด

 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ งาแกะปิดตาเนื้อหาจัดจ้าน-เก่าจริงเลี่ยมทองเก่ามาแต่เดิมจ.นครสวรรค์ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ตะกรุดเนื้อทองแดงม้วนยาว3นิ้วพอกคลั่ง-สภาพสวยเดิมสมบูรณ์(นิยม)จ.เพชรบุรี 

บูชาแล้ว บาท


หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดจันทร์เพ็ญเนื้อตะกั่วม้วนยาว3นิ้วลงรักสภาพสวยสมบูรณ์จ.ชัยนาท 

บูชาแล้ว บาท


ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉีมพลีพิมพ์ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน จ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระกรุวัดท้ายคลาด พิมพ์นาคปรกเล็ก พระชุดเนื้อผงยอดนิยมพระกรุวัดท้ายตลาดพิมพ์นาคปรกเล็กจ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระคง ลำพูน จ.ลำพูน พระคง-ลำพูนเนื้อดินสีเนื้อผ่านกรุเก่าใบโพธิ์ติดคมชัดเลี่ยมทองพร้อมใช้ จ.ลำพูน 

(ขายแล้ว) บาท


พระลีลา กรุวัดราชบูราณะ จ.อยุธยา พระปางลีลา กรุวัดราชบูราณะ เนื้อชินเงิน สภาพสมบรูณ์ จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


พระหล่อทองคำ ปางห้ามสมุทร พระหล่อเนื้อทองคำ ปางห้ามสมุทร ศิลปะและอายุ-ยุคสมัยอยุธยา จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อตาด วันบางวันทอง เหรียญหล่อหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เกจิยุดเก่า เนื้อเงินหายากจ.สมุทรสงคราม 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคพิมพ์ไก่หาง3เส้น เนื้อดิน-เลี่ยมทองจ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ครุฑกลาง เนื้อดิน เลี่ยมทอง จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อเดิม-วัดหนองโพ(รุ่นแรก) รูปหล่อหลวงพ่อเดิม ออกวัดหนองหลวง/รุ่นแรก เนื้อโหละผสม จ.นครปฐม 

โชร์พระ/ บาท


พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พิมพ์สังฎิยาว พิเศษมโค๊ตนูนเนื้อโลหะผสม หายากสุดฯ สร้างพศ2485 กทม 

ขายแล้ว/ บาท


พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื้อโหละผสม พิมพ์ทรงสังข์ สร้าง2486 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน สมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธานพิธี สร้างช่วงพศ2480 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด