ข้อมูลประวัิติ หลวงปู่สด วัดโพธิ์แตงใต้ จ.อยุธยา
หลวงปู่สด (ธมฺมวโร) วัดโพธิ์แตงใต้ เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ในย่านบางไทร พระเครื่องที่ลือชื่อก็คือ พระชุด "ศาลาล้ม" อันโด่งดัง ... ท่านได้สร้างวัตถุมงคลจำนวนไม่มากนัก ประกอบกับทางวัดไม่มีวัตถุประสงค์ ในการวางบูชาพระตามศูนย์พระเครื่อง จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของนักอนุรักษ์พระเครื่องเท่าไหร่ แต่สำหรับคนในท้องที่ จะทราบถึงความอัศจรรย์ในพระเครื่องของท่านไม่มากก็น้อยเนื่องจากเห็นบทความที่เขียนเกี่ยวกับประวัติของท่าน ในเวป แต่ตัวอักษรเล็กมาก จึงขอรบกวนเนื้อที่เพื่อน ๆ ในเวป ของเรา คัดลอกมาลงด้วยนะครับ (เป็นการประกอบเนื้อเรื่องให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
เมื่อราวปีพุทธศักราช 2358 ในสมัยแผ่นดินขององค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีชาวมอญกลุ่มใหญ่เดินทางอพมาจากกรุงหงสาวดี ประเทศพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินไทย โดยชาวมอญกลุ่มนี้ได้พากันกระจายไปปักหลักสร้างฐานตามบริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากเกร็ด ปทุมธานี ราชคราม และบ้านโพธิ์แตง พระนครศรีอยุธยา แต่เดิมนั้น บ้านโพธิ์แตง ชาวบ้านเรียกว่า โพธิ์แดง ซึ่งคำว่าโพธิ์แดงนั้นสันนิษฐานว่าเนื่องมาจากที่ตำบลแห่งนี้มีต้นโพธิ์ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้นโพธิ์ในแถบนี้ก็จะมีลักษณะพิเศษกว่าที่อื่นนั่นคือ ใบโพธิ์จะมีสีแดงนวล จนชาวบ้านเรียกกันติดปากว่าโพธิ์แดง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็เพี้ยนจากโพธิ์แดงมาเป็น โพธิ์แตง จนถึงปัจจุบัน
หลวงพ่อสด ธัมฺมวโร มีนามเดิมว่า สด นามสกุล ธรรมประเสริฐ ด.ช.สด มิได้มีนิสัยซุกซนหรือชอบวิ่งเล่นแบบเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน แต่กลับเป็นเด็กเรียบร้อยและชอบติดตามพวกญาติพี่น้องที่เป็นผู้ใหญ่ไปช่วยงานทางวัดอยู่เป็นประจำ ซึ่งจากการที่ได้มีโอกาสเข้ามาในวัดบ่อยๆ อาจจะเป็นหนึ่งที่ทำให้ ด.ช.สด เกิดความรู้สึกพึงพอใจในเพศบรรพชิตที่ดูสงบ ร่มเย็น ด.ช.สดจึงไดขออนุญาตจากบิดา มารดาเพื่อบวชเป็นสามเณรเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และเรียนหนังสือไปด้วย ทั้งบิดา มารดาดีใจพี่ลูกชายคนเดียวของครอบครัวใฝ่ใส่ในการศึกษาจึงอนุญาตให้เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์สมความตั้งใจ แต่ท่านก็บวชได้ไม่นานโยมบิดา มารดาได้มาขอร้องให้ท่านลาสิกขาจากสามเณร เพื่อกลับไปช่วยทางบ้านในการทำสวน ทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของครอบครัว
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 มีญาติผู้ใหญ่ของท่านคนหนึ่งได้ถึงแก่กรรมลง ซึ่งตามธรรมเนียมไทยที่มีมาแต่โบราณ เมื่อมีการเสียชีวิตของญาติผู้ใหญ่ก็จะให้บุตรหลานบวชเป็นสามเณร หรือที่นิยมเรียกกันว่า บวชหน้าไฟเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ล่วงลับ และท่านก็ได้เสนอตัวในการบวชสามเณรหน้าไฟในครั้งนี้ และการบวชสามเณรในครั้งนี้ของท่านกลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงชีวิตของท่าน เพราะเมื่อเสร็จสิ้นงานศพแล้วท่านได้ขออนุญาติโยมบิดา มารดาเพื่อขออยู่ในผ้าเหลืองต่อไปอีก ต่อมาในปี พ.ศ. 2462 ท่านมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ท่านก็ได้ทำการบรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดโพธิ์แตงใต้โดยมีท่านเจ้าคุณพระอริยทัชชะมุนี แห่งวัดสำแล จ.ปทุมธานี ในฐานะเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีเป็นพระอุปฌาย์ ได้รับฉายา ?ธมฺมวโร? สังกัดรามัญนิกาย
ต่อมาในปีพ.ศ. 2489 ภายหลังวัดโพธิ์แตงใต้ ได้ขอโอนย้ายการปกครองมาอยู่ในคณะธรรมยุติ ท่านจึงได้เดินทางไปยังวัดบวรนิเวศวิหาร และได้ทำการอุปสมบทใหม่อีกครั้งโดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหารเป็นองค์พระอุปฌาย์ และให้ใช้ฉายาเดิมว่า ?ธมฺมวโร? เมื่อได้ทำการอุปสมบทแล้วท่านก็อยู่จำพรรษาและศึกษาพระบาลีอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร ท่านจำพรรษาเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช 2507 วัดโพธิ์แตงใต้ก็สิ้นบุญเจ้าอาวาส และขาดเจ้าอาวาสที่จะคอยดูแลเสนาสนะต่างๆ ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกันเดินทางไปนิมนต์ท่านให้กลับไปปกครองวัดโพธิ์แตงใต้ ซึ่งท่านเองก็มิได้ขัดข้องซึ่งก่อนหน้าที่ท่านจะเดินทางกลับมารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปฌาย์ (วิสามัญ) ที่พระครูเอนกสารคุณ เมื่อท่านมาปกครองดูแลวัดโพธิ์แตงใต้แล้ว ท่านก็ได้เริ่มบูรณะและปฏิสังขรณ์เสนาสนะในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรม จนล่วงมาถึง พุทธศักราช 2514 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่ ?พระครูอเนกสารคุณ? ชาวบ้านจึงได้ประชุมหารือและได้จัดงานเฉลิมฉลองวาระอันเป็นมงคลนี้ในปีถัดไป คือในปี พ.ศ. 2515 เพราะว่าท่านมีอายุครบ 72 ปีหรือ 6 รอบพอดี
ในการจัดงานเฉลิมฉลองสมณศักดิ์ และการทำบุญอายุครบ 72 ปีของท่านในครั้งนี้ ทางคณะกรรมการการจัดงานได้จัดสร้างวัตถุมงคลเพื่อให้ท่านนำไปแจกแก่ญาติโยมและศิษยานุศิษย์ และผู้มีจิตศรัทธาที่มาร่วมงานในครั้งนี้ โดยจัดทำเป็นเหรียญโลหะทองแดง ซึ่งท่านได้นั่งปลุกเสกเดี่ยวด้วยตัวท่านเอง ซึ่งต่อมาเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อท่านก็ได้สร้างปาฏิหาริย์ให้กับผู้ที่นำไปบูชาติดตัวในหลายๆ ด้าน ทั้งเรื่องเมตตามหานิยม แคล้วคลาดจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว และก็ยังมีวัตถุมงคลของหลวงปู่อีกหลายรุ่นที่แสดงถึงปาฏิหาริย์ ให้หลายต่อหลายท่านประจักษ์มาแล้ว
และด้วยวัยของหลวงปู่ที่สูงอายุมากขึ้น แต่ท่านก็ยังให้การต้อนรับญาติโยมที่เดินทางมาหาอย่างเป็นกันเอง แม้ว่าท่านจะได้รับการทัดทานจากบรรดาศิษยานุศิษย์ที่ต้องการจัดเวลาเข้าพบ เพื่อให้ท่านมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น และแล้วข่าวเศร้าที่ทำให้ประชาชนรู้สึกช๊อคไปทั้งประเทศ เมื่อมีข่าวว่าหลวงปู่ล้มป่วยด้วยโรคชรา และมรณภาพลงอย่างสงบยังความเศร้าเสียใจมายังศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปอย่างยิ่ง ซึ่งหลังจากที่ท่านละสังขารไปแล้วคณะกรรมการวัดได้นำสังขารของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้ว เก็บไว้บนศาลาการเปรียญเพื่อให้ประชาชนผู้เคารพ ศรัทธาในวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ได้กราบไหว้เพื่อเป็นสิริมงคลมาตราบจนถึงทุกวันนี้