เหรียญหล่ออรุณเทพบุตร หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม เนื้อโลหะผสมเกจิอาจารย์ยุคเก่าสร้าง จ.สมุทรสงคราม ข้อมูลเพิ่มเติม ประวัติ
หลวงพ่อบ่าย ธัมมโชโต
วัดช่องลม อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม
เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังรูปหนึ่งแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ท่านเป็นทั้งน้องและศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย
และเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมากกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
พระเกจิชื่อดังในยุคเดียวกัน
อัตโนประวัติ ได้รับการบันทึกเป็นหลักฐานน้อยมาก แต่เท่าที่สืบค้นมาได้
ท่านเกิดเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 ปีระกา ตรงกับพุทธศักราช 2404 ที่บ้านครก
อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
เป็นเด็กกำพร้าซึ่งพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ จ.เพชรบุรี
พี่ชายหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย ได้นำมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
เมื่ออายุ 10 ขวบ ท่านได้ศึกษาภาษาไทยและภาษาบาลีจากพระอาจารย์คล้ำ
วัดสวนทุ่ง ก่อนบรรพชาเป็นสามเณร
อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดทองนพคุณ , พระอาจารย์พุก
วัดสวนทุ่ง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ
เป็นอนุสาวนาจารย์ หลังอุปสมบท ท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดทองนพคุณ
จ.เพชรบุรี
ด้านการศึกษาวิทยาคม ท่านได้เรียนกับหลวงพ่อพุก วัดสวนทุ่ง
และพระอาจารย์เกตุ วัดทองนพคุณ อีกทั้งยังได้เรียนเพิ่มเติมจากหลวงพ่อแก้ว
วัดช่องลม พร้อมกับเรียนวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไปด้วย
ท่านจึงมีความใกล้ชิดกับหลวงพ่อแก้วเป็นอย่างยิ่ง
ปี พ.ศ.2437 หลวงพ่อบ่ายท่านได้ไปธุดงค์ที่จังหวัดสระบุรี
เพื่อไปนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉาย โดยมีพระภิกษุติดตามไปด้วย 4 รูป
คือ อาจารย์ไปล่ พระยา พระพลอย และโยมอุปัฏฐากหนึ่งคน ออกเดินทางในราวเดือน
12 เมื่อไปถึงคณะของหลวงพ่อบ่าย ไปนมัสการพระพุทธบาทและพระพุทธฉายแล้ว
ท่านพักแรมอยู่เดือนเศษ ก่อนเดินทางต่อไปที่จังหวัดกาญจนบุรี
เพื่อไปนมัสการพระแท่นดงรัง ในราวเดือน 4 กลางเดือน
พักแรมอยู่ที่พระแท่นดงรัง 7 วัน ครั้นหลวงพ่อบ่ายเสร็จภารกิจแล้ว
ท่านก็เดินกลับวัดช่องลม การไปธุดงค์ในครั้งนี้เป็นเวลา 4 เดือนเศษ
ในขณะนั้นหลวงพ่อบ่ายได้เป็นเจ้าอาวาสวัดช่องลม แทนหลวงปู่แก้ว
ซึ่งย้ายไปเป็นเจ้าอาวาสวัดพวงมาลัย ในปี พ.ศ.2445 หลวงพ่อบ่าย
มีความประสงค์จะสร้างพระพุทธฉาย (ถ้ำไห) ซึ่งท่านเป็นประธานฝ่ายสงฆ์
ด้วยการบอกบุญกับชาวบ้านขอไหต่างๆ เพื่อสร้างพระพุทธฉาย
และได้ก่อสร้างโดยพระสงฆ์ในวัด ขอร้องให้จางวางสอน (หลวงประดิษฐไพเราะ)
เป็นผู้ออกแบบก่อสร้าง คือ ครูถม เจริญผล และได้สร้างแพะไว้หน้าถ้ำ 1 ตัว
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของหลวงพ่อบ่าย
ต่อมาในปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลก พวกโจรมิจฉาชีพได้ตัดหัวแพะ
และถอดเอาตรีที่ปักยอดเจดีย์ไปเกือบหมด
เพื่อหวังทรัพย์จึงเหลืออยู่แต่ยอดบนๆ ซึ่งปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
หลวงพ่อบ่าย
ถือได้ว่าเป็นพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังที่มีวิทยาคมเข้มขลังในยุคนั้น
ได้รับนิมนต์เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล
ในงานหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราชเจ้าวัดราชบพิธ เมื่อปี พ.ศ.2481
และงานพุทธาภิเษกใหญ่แทบทุกงาน
อีกทั้งยังเป็นสหธรรมิกที่สนิทสนมกันมากกับหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม
พระเกจิชื่อดังในยุคเดียวกัน
วัตถุมงคลที่ท่านจัดสร้างล้วนแต่มี
พุทธคุณโดดเด่นเป็นที่ปรารถนาของบรรดานักสะสมนิยมพระเครื่อง
ทั้งประเภทเครื่องรางของขลัง เหรียญหล่อโบราณ พระพิมพ์ พระผง
โดยเฉพาะเหรียญปั๊มรูปเหมือนหลวงพ่อบ่าย รุ่นแรก ปี พ.ศ.2461
ที่มีพุทธคุณเด่นในด้านคงกระพันชาตรี ร่ำลือไปทั่วลุ่มน้ำแม่กลองและภาคกลาง
หลวงพ่อบ่าย มรณภาพเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2485 สิริอายุ 81 ปี พรรษา 60
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา
พุทธคุณในเหรียญรุ่นนี้เด่นทาง คงกระพันชาตรีเป็นหลัก
|