อยู่ในห้วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖-๒๒ อยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย มีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง เชียงแสนเก่า ชาวไทยได้เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้มาแต่โบราณ ดังนั้นพระพุทธรูปในพื้นที่นี้ ซึ่งให้ชื่อว่าสมัยเชียงแสนจึงเป็นฝีมือช่างไทย เราสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ รุ่น
รุ่นแรก ที่เรียกกันว่ารูปสิงห์หนึ่ง น่าจะได้รับอิทธิพลจากศิลปะแบบปาละของอินเดีย มีลักษณะองค์พระอวบ พระรัศมีเป็นต่อมกลมคล้ายดอกบัวตูม เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลมหรือเป็นก้นหอยไม่มีไรพระศก พระพักตร์กลมสั้น พระขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุป้านพระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือพระอุระด้านซ้าย ตรงชายมักทำเป็นแฉกหรือแบบเขี้ยวตะขาบ ฐานมีบัวรองมีทั้งบัวคว่ำบัวหงาย มีกลีบแซมและมีเกสรกับแบบฐานเอียงแบบโค้งออก รุ่นที่สอง ที่เรียกกันว่ารุ่นสิงห์สอง ส่วนใหญ่มีลักษณะเหมือนรุ่นแรก แต่องค์พระจะอวบน้อยกว่า และชายสังฆาฏิจะยาวลงมาอยู่เหนือพระนาภี รุ่นหลัง ที่เรียกกันว่ารุ่นสิงห์สาม เปลี่ยนแปลงไปจากรุ่นแรกค่อนข้างมาก ทำตามแบบสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ กล่าว คือ พระรัศมีเป็นเปลว เส้นพระศกละเอียดมีไรพระศกกับระหว่างเส้นพระเกศากับพระนลาฏ ชายสังฆาฏิอ้างถึงพระนาภี ฐานเอียงแบบโค้งออก
|