พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
     ตะกร้าพระเครื่อง : (0) 
ประเภทพระเครื่อง
พระสมเด็จ (7) พระเนื้อดิน (15) พระเนื้อชิน (6) พระเนื้อผง (14) พระเหรียญ (65) พระกริ่ง (16) พระรูปหล่อ (62) เหรียญหล่อ (50) พระปิดตา (17) เครื่องราง (6) พระบูชา (1)
เมนูช่วยเหลือ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีการชำระเงิน
คำถาม-ตอบ
เงื่อนไขการสั่งซื้อ
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
พระเครื่องที่บูชาแล้ว
พระใหม่ 100 รายการ
โปรโมชั่นพิเศษ
หลักสูตรดูพระเครื่อง
สถิติสินค้า
พระเครื่องทั้งหมด 838 ชิ้น
พระเครื่องถูกจองแล้ว 5 ชิ้น
พระเครื่องบูชาแล้ว 1 ชิ้น
พระเครื่องคงเหลือ 256 ชิ้น
บทความน่าอ่าน
ถูกจริงแท้ แท้หรือเปล่า?
ต่อพระน่าเกลียดไปมั้ย?
ไม่มีกล้องห้ามดู ไปไกล ๆ
ทำไมไม่รับ? พกง.เก็บเงินปลายทาง
ประวัติผู้สร้างพระเครื่อง
หลวงปู่เหมือน วัดกำแพง
หลวงพ่อสาย วัดบางรักใหญ่
หลวงปู่เมฆ วัดลำกระดาน
ครูบาสร้อย วัดมงคลคีรีเขตร์
หลวงพ่อพลับ วัดชายคลอง
หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์
หลวงพ่อแก้ว วัดโคกโดน
หลวงพ่อยี วัดดงตาก้อนทอง
หลวงพ่อพุฒ วัดกลางบางพระ
หลวงพ่ออินทร์ วัดเกาะหงษ์
หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน
หลวงปู่อ่อน วัดป่านิโครธาราม
พระอาจารย์อ๊อด วัดสายไหม
หลวงตามหาบัว วัดป่าบ้านตาด
หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม
หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
ครูบาวัง วัดถ้ำชัยมงคล
หลวงปู่เครื่อง วัดสระกำแพงใหญ่
หลวงปู่คีย์ วัดศรีลำยอง
ประวัติผู้สร้างทั้งหมด
 
 

พระเครื่องทรูอมูเล็ตดอทคอม

ไทม์อมูเล็ตดอทคอม

สิทธิ์ สุพรรณฯ

พระหลวงตา

 
หลัการดูพระเบื้องต้น

ก่อนที่เราจะรู้หลักการดูพระเบื้องต้น เราจะต้องรู้กรรมวิธีในการสร้างพระ แต่ละชนิดก่อน ถ้าเรารู้ถึงกรรมวิธีในการทำพระเราก็จะมองเห็นภาพทันทีทำให้ดูพระแต่ละประเภทให้ง่ายยิ่งขึ้น

กรรมวิธีการสร้างพระ สามารถจำแนกตามลักษณะของวัตถุดิบในการจัดสร้างเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทพระเครื่อง และ ประเภทเครื่องราง

ประเภทพระเครื่อง ได้แบ่งการสร้างพระเครื่องออกเป็น

1. การสร้างพระเนื้อดิน
2. การสร้างพระเนื้อชิน
3. การสร้างพระเนื้อผง
4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั้ม พระฉีด
5. การสร้างพระเนื้อว่าน
6. การสร้างพระจากวัสดุอื่นๆ

1. การสร้างพระเนื้อดิน

พระเนื้อดิน นับเป็นพระที่มีอายุการสร้างเก่าแก่ที่สุด โดยการนำดินอันเป็นวัสดุหาง่าย คงทน มาสร้างสรรค์ปฏิมากรรมได้สะดวก นอกจากนี้มนุษย์ยังมีความเชื่อ นับถือ ยกย่อง ดินประดุจเทพเจ้าที่ทรงคุณเอนกอนันต์ ในนามของ “แม่พระธรณี” ซึ่งดินที่นำมาสร้างพระล้วนเป็นดินที่นำมาจากศาสนสถานสำคัญ ศักดิ์สิทธิ์ หรือสถานที่เป็นมงคล ในการนำดินมาสร้างพระทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีแม่พระธรณี เจ้าที่เจ้าทาง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผู้สถิตรักษาทุกครั้ง ต้องมีการทำพิธีบวงสรวง ขอบารมีอภินิหารให้มีต่อพระเครื่องและเครื่องรางที่สร้าง นอกเหนือจากส่วนผสมอื่นๆ ที่ได้ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าดีและให้คุณ ที่จะส่งเสริมความเป็นมงคลแก่พระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้าง ความพิถีพิถันในการเสาะหาและเตรียมวัตถุดิบเป็นเรื่องสำคัญมากประการหนึ่งที่ผู้สร้างวัตถุมงคลต่างๆ ให้ความสำคัญและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาช้านาน ด้วยเชื่อว่าพระเครื่องและเครื่องรางที่จะสร้างขึ้นนี้ต้องมีความดีนอกและดีใน ดีในหมายถึงวัตถุดิบที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของดีมีมงคล ดีนอกหมายถึงต้องผ่านการปลุกเสกอย่างดี ผ่านพิธีกรรมที่ถูกต้องและเข้มขลัง โดยพระคณาจารย์ผู้เรืองเวทย์วิทยาคุณสูง รวมถึงผู้ทำพิธีอันจะก่อเกิดความเข้มขลังให้กับพระเครื่องและเครื่องรางที่ผ่านขั้นตอนที่สำคัญนี้แล้ว

ดังนั้น เป็นความเชื่อถือที่ยึดมั่นกันมาแต่ครั้งโบราณว่า “พระเครื่องและเครื่องรางของขลังที่ดีจริง ต้องดีนอก ดีใน คือ วัตถุที่นำมาสร้างต้องล้วนเป็นของงดี ผู้สร้างต้องดีพร้อม และผ่านพิธีกรรมที่ดี” จากจุดนี้เราจึงเข้าใจว่าเหตุใด พระเครื่องและเครื่องรางของขลังจึงมีความศักดิ์สิทธิ์ พระทุกประเภททุกเนื้อเครื่องรางทุกชนิด ล้วนเห็นข้อพึงปฏิบัติในการสร้างวัตถุมงคลนี้ โดยมีกฎเหล็กที่พึงต้องกระทำอย่างเคร่งครัด

เมื่อได้วัตถุดิบที่ต้องประสงค์แล้ว ก็จะนำวัตถุดิบต่างๆมาผสมคลุกเคล้ากัน โดยมีดินเป็นมวลสารหลัก ในการยึดประสานมวลสารต่างๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้น จึงนำส่วนผสมไปกดลงในแม่พิมพ์ที่แกะเค้าโครงรูปร่างของพระเครื่องที่ต้องการ เมื่อนำพระที่กดลงในแม่พิมพ์ออกจากพิมพ์แล้ว จึงนำพระมาเรียง แล้วผ่านกรรมวิธีทำให้แห้ง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1.1 พระที่ผ่านการเผา นับเป็นการสลายความชื้นและคงรูปวัตถุ ทำให้เกิดมวลสารของพระเครื่องเป็นแบบดินสุก หรือดินสีหม้อใหม่ เช่นเดียวกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาต่างๆ หากแต่ในสมัยโบราณ การเผาพระไม่มีเครื่องมือในการตรวจวัดอุณหภูมิความร้อนให้คงที่และสม่ำเสมอ จึงทำให้พระที่ผ่านการเผาออกมา มีสีต่างๆกัน ตามระดับอุณหภูมิความร้อนสูงหรือต่ำที่ได้รับ

นอกจากนี้จากการค้นคว้าศึกษายังพบว่า พระเครื่องที่ผ่านการเผายังมี 2 ลักษณะคือ พระที่ผ่านการเผาเป็นเวลานานในอุณหภูมิความร้อนที่สูง กับพระที่ผ่านการเผาพอประมาณ ใช้เวลาในการเผาไหม้ไม่นานนัก หรืออาจจะเรียกว่า ผ่านการอบให้แห้ง โดยมวลสารคายความชื้นออก เพื่อความยึดติดเข้ารูป เป็นเหตุให้พระออกมามีหลายสี แต่คงไว้ซึ่งมวลสารส่วนผสมปรากฎเห็นชัดเจนกว่าพระที่ผ่านการเผาครบขบวนการทำเครื่องปั้นดินเผาที่มีผลให้มวลสารบางชนิดถูกเผาไหม้ไป ซึ่งตัวอย่างของพระที่ผ่านการเผาทั้ง 2 ลักษณะ มีดังนี้

พระที่ผ่านการเผาจนครบขั้นตอน ได้แก่ พระรอด พระนางพญา พระกรุทุ่งเศรษฐี พระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นต้น

พระที่ผ่านการอบให้แห้ง ได้แก่ พระผงสุพรรณ พระซุ้มกอดำ เป็นต้น

1.2 พระที่ผ่านการตากแดดให้แห้ง พระประเภทนี้เราเรียกว่า “พระดินดิบ” ซึ่งหมายถึง มวลสารถูกแยกน้ำออก ด้วยวิธีการตากแดดให้แห้ง ความแข็งแกร่งคงทนจะน้อยกว่าพระที่ผ่านการเผา ดินจะสามารถละลายตัวหากนำมาแช่น้ำทิ้งไว้ พระเนื้อดินดิบ ได้แก่ พระเครื่องศิลปะศรีวิชัยที่พบทางใต้ เช่น พระเม็ดกระดุม เป็นต้น

นอกจากนี้ยังพบว่าในพระเนื้อดินมวลสารหรือเนื้อของดินได้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

ก. ประเภทเนื้อละเอียด หมายถึง ก่อนที่จะนำดินมาผสมกับมวลสารอื่นๆ ดินที่นำมาสร้างพระนั้นได้ผ่านการร่อนกรองจนละเอียดแล้ว พระที่สร้างออกมาจึงมีความนวลเนียนของพื้นผิว เช่น พระกำแพงกลีบบัว พระกำแพงซุ้มยอ พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นต้น

ข. ประเภทเนื้อหยาบ หมายถึง ดินที่นำมาสร้างพระ ได้ผ่านการร่อนกรองมาแล้วแต่ไม่มากจนได้เนื้อดินละเอียด ยังคงปรากฏมีเม็ดแร่ กรวด ทราย ปะปนอยู่ด้วย มองเห็นชัดเจน เช่น พระชุดขุนแผนบ้านกร่าง เป็นต้น

2. การสร้างพระเนื้อชิน

พระเนื้อชินถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่งที่เกิดจากการผสมผสานของแร่หลัก 2 ชนิด คือ ดีบุก กับตะกั่ว เกิดเป็นโลหะเจือชนิดใหม่ที่เรียกว่า “เนื้อชิน” หากเรามองลึกลงไปถึงคุณสมบัติของธาตุหลักทั้ง 2 ชนิด คือ

ดีบุก เป็นแร่ธาตุที่พบมากที่สุดประเภทหนึ่งในประเทศไทย สามารถแยกหาดีบุกออกจากสิ่งปะปนได้อย่างง่ายๆด้วยวิธีแรงโน้มถ่วง โดยการร่อนแร่ ซึ่งกระทำได้ไม่ยุ่งยาก หากต้องการ ดีบุกที่บริสุทธิ์มากขึ้น ก็สามารถนำไปย่างเพื่อขจัดซัลไฟด์ หรือธาตุที่แผงอยู่ในดีบุก

ดีบุก เป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 231.9 องศา แปรรูปง่าย เกิดโลหะเจือกับโลหะได้หลายชนิด ทำให้คุณสมบัติของโลหะใหม่มีอานุภาพป้องกันการผุกร่อนได้ นอกจากนี้ยังนำไฟฟ้าต่ำ

ตะกั่ว  เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้ประโยชน์ตั่งแต่สมัยโบราณ มีหลักฐานยืนยันว่ามนุษย์รู้จักนำตะกั่วมาใช้ทำประโยชน์ตั้งแต่ 4000 ปีก่อนคริสตกาล รวมวิธีการถลุง ตะกั่วไม่ยุ่งยาก เพียงผ่านขบวนการเผา

ตะกั่วเป็นธาตุที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ ที่อุณหภูมิ 327 องศา มีน้ำหนัก นับเป็นโลหะอ่อนมีแรงตึง หรือ แรงรองรับต่ำ โลหะตะกั่วจึงไม่เหมาะกับการใช้งานที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ แต่ความอ่อนตัวของตะกั่วมีประโยชน์ที่ทำให้โลหะผสมสามารถแปรรูปได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะทำให้เป็นแผ่นบางๆ หรือนำโลหะผสมให้สามารถแทรกซอนไปตามความลึกของแม่พิมพ์ ก่อให้เกิดลวดลายงดงามตามจินตนาการของช่างได้ นอกจากนี้ ยังนำไฟฟ้าต่ำ

จากคุณสมบัติของธาตุทั้งสองชนิดดังกล่าว เราจะพบว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมในการนำมาหลอมรวมกันเป็นโลหะใหม่ ที่มีจุดหลอมเหลวต่ำทั้งคู่ สามารถกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกันได้ มีความอ่อนนิ่มที่สามารถจับรายละเอียดแม้เพียงบางเบาเล็กน้อยของแม่พิมพ์ได้ แม้รูปทรงจะมีความบางเรียบแบน ก็สามารถขึ้นรูปได้ ทั้งทนทานต่อความผุกร่อน และมีความนำไฟฟ้าต่ำ ทำให้ปลอดภัยเมื่อนำพกติดตัว

เนื้อชิน  จึงนับเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติพิเศษ ลงตัว เหมาะสมที่จะนำมาสร้างพระเครื่องได้เป็นอย่างดี ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของบรรพชนไทยอันชาญฉลาดและลึกล้ำในการสร้างพระเนื้อชิน เพื่อสืบทอดพระศาสนาและศิลปวัฒนธรรมอันดีงามยิ่งใหญ่ ในรูปแบบของพระเครื่องตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง พระเนื้อชินมี 3 ประเภทคือ

2.1 พระเนื้อชินเงิน คือพระที่มีส่วนผสมของดีบุกมาก พระที่พบจะมีสีเงินยวงจับองค์พระอย่างงดงาม พระเนื้อชินเงินนี้จะปรากฏลักษณะตามธรรมชาติในรูปของเกล็ดกระดี่ และสนิมตีนกา ตามองค์พระ เช่น พระหูยาน ลพบุรี พระนาคปรก วัดปืน เป็นต้น

2.2 พระเนื้อชินสนิมแดง  คือพระที่มีส่วนผสมของตะกั่วมาก พระที่พบจะมีลักษณะคล้ายพระชินเงิน แต่มีไขสนิมแซม ตามซอกพระ เช่น พระมเหศวร พระสุพรรณหลังผาน พระลีลากำแพงขาว เป็นต้น

2.3 พระเนื้อตะกั่วสนิมแดง ถือเป้นพระเครื่องประเภทเนื้อชิน ที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากที่สุดถึง 90% พระที่พบจึงมีสีแดงของสนิมตะกั่วจับอยู่ในเนื้อพระเป็นสีแดง ที่เรียกว่า “แดงลูกหว้า” ตัวอย่างเช่น พระร่วงหลังลายผ้า-พระร่วงหลังรางปืน พระท่ากระดาน และพระร่วงพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น

กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อชิน ถือเป็นการหลอมเหลวรวมแร่ธาตุสำคัญดังที่กล่าวข้างต้น ข้อสำคัญคือมีการแกะแม่พิมพ์ให้งดงาม อลังการ ตามจินตนาการของช่าง พระที่พบส่วนมากจะเป็นศิลปะสกุลช่างหลวง เพราะแม้ว่า พระเนื้อชินจัดเป็นพระที่ไม่ยุ่งยากในการสร้าง หากในสมัยโบราณกรรมวิธีนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการและอาศัยแรงคนจัดทำมิใช่น้อย ดังนั้นผู้ที่สามารถสร้างพระเนื้อชินได้ จะต้องดำรงตำแหน่งอยู่ในชั้นเจ้านาย หรือระดับผู้นำ ที่สามารถสั่งบัญชาการได้ จึงถือว่าพระเนื้อชินเป็นพระเครื่องชั้นสูงมาแต่โบราณ ประการสำคัญ การพบพระเนื้อชินส่วนมากจะพบในกรุตามโบราณสถานสำคัญ ซึ่งถือเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะกระทำการได้

พระเนื้อชิน นับว่าเป็นพระเครื่องที่มีบทบาทสูง เป็นที่ครองใจผู้คนมานานนับแต่โบราณความยึดถือศรัทธาของประชาชนที่มีต่อพระเนื้อชินนั้นเป็นรากลึกในจิตใจ ทั้งยังปรากฏเห็นผลให้เล่าขานเลื่องลือตกทอดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พระเนื้อชิน ถือเป็น  “อมตพระเครื่องยอดนิยมตลอดกาล”

3. การสร้างพระเนื้อผง

ถือเป็นขบวนการหนึ่งในศาสตร์ศิลปแขนงวิชาการปั้นปูน ซึ่งมวลสารในการปั้นมีส่วนผสมของปูนเป็นหลักใหญ่ประสานเนื้อด้วยยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อยหรือขี้ผึ้งชั้นดี และเป็นวิทยาการที่ศิลปินกรีก-โรมันกับอินเดียดึกดำบรรพ์ได้ใช้ปั้นพระพุทธรูปก่อนที่มีการนำกรรมวิธีนี้มาใช้ในการสร้างพระเครื่อง

พระเครื่องเนื้อผงที่มีความเก่าแก่ที่สุดในประเทศคือ พระกรุวัดทัพข้าว จังหวัดสุโขทัย รองลงมาคือ พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สร้างโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 หรือที่รู้จักกันในนาม พระสังฆราชสุกไก่เถื่อน และพระสมเด็จอรหังนี้ถือเป็นต้นแบบในการสร้างพระเนื้อผง รูปทรงสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ซึ่งสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ส.2360

สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) นี้ ท่านเป็นพระอาจารย์ที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เคารพเป็นอย่างยิ่ง และถือเอาวัตรปฏิบัติ ตลอดจนวิธีการสร้างพระขององค์พระอาจารย์องค์นี้มาสร้างสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จบางขุนพรหม และพระสมเด็จเกศไชโย อันนับเป็นพระเนื้อผงที่ได้รับความศรัทธานิยมสูงสุดมาโดยตลอด ดังนั้นขั้นตอนกรรมวิธีการสร้างพระเนื้อผงในลำดับต่อๆมา จึงได้ยึดเอาขั้นตอนกรรมวิธี การจัดเตรียม การสร้าง และการปลุกเสก ตามอย่างสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เป็นปัจจัยหลักปฏิบัติ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ คือ

3.1 การจัดเตรียมวัสดุ เป็นที่ทราบกันดีว่ามวลสารหลักในพระเนื้อผงก็คือ ผงปูนขาว ซึ่งโบราณจะใช้เปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วบดให้ละเอียด เรียกว่า “ผงปูนเปลือกหอย” ซึ่งมีคุณสมบัติ เช่นเดียวกัน

เมื่อได้มวลสารหลัก ก็จัดเตรียมผงที่เป็นมงคลต่างๆ อาทิเช่น ว่านดอกไม้ แร่ทรายเงิน ทรายทอง วัสดุศักดิ์สิทธิ์ เป็นมงคลทั้งหลายที่เห็นสมควรนำมาเป็นส่วนผสมนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

สิ่งที่ช่วยประสานเนื้อผง และทัพสัมภาระทั้งหลาย ให้เกาะติดเป็นเนื้อเดียวกันในสมัยโบราณจะใช้กล้วยน้ำ และน้ำมันตังอิ๊ว (กล้วยน้ำเป็นคำโบราณ = กล้วยน้ำว้า , น้ำมันตังอิ๊วเป็นยางไม้ชนิดหนึ่งผสมกับน้ำมัน ทำให้เกิดความเหนี่ยว)

จากสูตรการสร้างพระเนื้อผงของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี (ผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้าง “สูตรนิยม” หรือ “สูตรครู” ในการสร้างพระเนื้อผงต่อๆมา) และในมวลสารของพระเครื่องที่สมเด็จโตสร้าง ท่านให้ความสำคัญกับธาตุแท้แห่งคุณวิเศษ คือ ผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปถมัง อิธเจ มหาราช พุทธคุณ และตรีนิสิงเห ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นชื่อของผงแต่ละชนิดแล้วนำมารวมผสมคลุกเคล้ากัน หากแต่เป็นผงชุดเดียวกันที่ผ่านกรรมวิธีซับซ้อนถึง 5 ขั้นตอนในการสร้าง โดยเริ่มต้นที่การสร้างผงปถมังก่อน แล้วเอาผงปถมังนั้นมาทำเป็นผงอิธะเจ แล้วสร้างต่อเนื่องจากผงเดิมจนครบกระบวนการทั้ง 5 อันนับเป็นภูมิปัญญาและสมบัติล้ำค่าต่อมวลมนุษยชาติสืบมา ได้รับรู้ ศึกษากรรมวิธี และนำเป็นต้นแบบที่ดีในการสร้างวัตถุมงคลเนื้อผง

ขั้นตอนการทำผงวิเศษ 5 ประการ ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้

1) การสักการะบูรพาจารย์ นับเป็นประเพณีในการศึกษษพุทธาคมมาแต่ครั้งโบราณ ที่ผู้ศึกษาจะต้องทำพิธีสักการบูรพาจารย์ก่อนกระทำการใดๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และรับการประสิทธิ์ประสาทวิทยาคม โดยผู้ทำพิธีต้องทำตนให้สะอาด เป็นฆราวาสให้นุ่งขาวห่มขาว ทำจิตใจให้ผ่องใส และรับสมาทานเบญจศีลเสียก่อน เป็นพระภิกษุให้ทำสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ผ่องใส แล้วตั้งเครื่องสักการะ

บูชาครูอาจารย์ อันประกอบไปด้วย

ดอกไม้ 9 สี ธูป 9 ดอก เทียน 9 เล่ม บายศรีปากชาม ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วยน้ำไทย (กล้วยน้ำว้า) ผลไม้ 9 สิ่ง หัวหมู เป็ด ไก่ ปลาช่อนนิ่งทั้งตัวไม่ขอดเกล็ด ถั่วคั่ว งาคั่ว ข้าวตอก นม เนย ขันล้างหน้า ผ้าขาว ผ้าแดง เงินค่าบำรุงครู 6 บาท

จากนั้นให้บูชาพระรัตนตรัย แล้วร่ายโองการ (บทสวดบูชาคุณพระรัตนตรัย ต่อด้วยบทอัญเชิญทวยเทพ บทอัญเชิญครู โองการสรรเสริญครู โองการชุมนุมครู) เมื่อเสร็จพิธีคำนับครู ก็เริ่มเข้าสู่การเรียกสูตรต่างๆ

2.) การเรียกสูตร คือ การฝึกหัดเขียน อักขระ เลข ยันต์ นานาประเภท อันประกอบด้วย การบริกรรมสูตรพระคาถาต่างๆ ตามจังหวะของการเขียนอักระเลขยันต์นั้นๆด้วย “ดินสอผงวิเศษ”

“ดินสอผงวิเศษ” สร้างจากส่วนผสมของเครื่องเคราต่างๆอันประกอบด้วย

-ดินโป่ง 7 โป่ง (ดินที่มีเกลือสินเธาว์ผุดเกรอะกรัง มีพบอยู่ตามป่าทั่วไป ในที่นี้ให้นำดินโป่ง 7 แห่ง)

-ดินตีนท่า 7 ตีนท่า (ดินจากท่าน้ำ 7 แห่ง)

-ดินหลักเมือง 7 หลักเมือง (ดินจากหลักเมือง 7 เมือง)

-ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาพระประธานในพระอุโบสถ

-ดอกกาหลง

-ยอดสวาท

-ยอดรักซ้อน

-ขี้ไคลเสมา (คราบไคลดินบนแผ่นเสมาที่แสดงขอบเขตของโบสถ์)

-ขี้ไคลประตูวัง

-ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก (คราบไคลดินจากเสาหลักคู่ สำหรับล่ามช้างเผือก)

-ราชพฤกษ์ (ไม้ต้นราชพฤกษ์ตากแห้งป่นเป็นผง)

-ชัยพฤกษ์

-พลูร่วมใจ (ต้นพลูที่ใช้กินกับหมาก ขึ้นเป็นดง เป็นกอ บางครั้งจึงเรียกว่า “พลูร่วมใจ” เพราะจะขึ้นพร้อมๆกัน ไม่ใช้ที่ขึ้นแยกต้น แยกกอ)

-พลูสองหาง (ในบรรดาใบพลู จะมีบางต้นที่น้อยมาก ปรากฏปลายใบแยกเป็น 2 แฉก)

-กระแจะตะนาว (ชื่อต้นไม้ขนาดเล็ก ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นและกิ่งมีหนาม เปลือกขรุขระสีเทา ดอกเล็กสีขาวเป็นช่อสั้นมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ท่อนไม้ใช้ฝนกับน้ำเป็นเครื่องประทินผิว)

น้ำมันเจ็ดรส (น้ำมันที่ได้จากของ 7 ประเภท จะเป็นพืชหรือสัตว์ก็ได้ ยิ่งหายากยิ่งดี

-ดินสอพอง

เอาส่วนผสมทั้งหมดมา ผสมกันแล้วบดให้ละเอียด เจือน้ำ ปั้นเป็นแท่งดินสอ

                เมื่อได้ดินสอผงวิเศษ ซึ่งต้องเตรียมการไว้แล้ว ก็จะเข้าสู่การทำกรรมวิธีสร้างผงวิเศษ ที่จะต้องกระทำในพระอุโบสถ โดยเตรียมเครื่องสักการะ เช่นเดียวกับการคำนับครู โดยตั้งของต่างๆไว้เบื้องหน้าพระประธาน จุดธูปเทียนบูชาพระ ยกถาดบรรจุสิ่งของเหล่านั้นขึ้น แล้วกล่าวคาถาอัญเชิญครู ประกาศอัญเชิญเทพยดา ทำประสะน้ำมนต์(ชำระล้างตัวให้สะอาดแล้วเอาน้ำมนต์ราดชำระให้ทั่วร่างกาย) พรหมตัว เรียกอักขระเข้าตัว(การเรียก หรือสวดมหาพุทธมนต์ต่างๆให้มาสถิต ประสิทธิ์กับตัวเอง)และอัญเชิญครูเข้าตัว

                3) การทำผงวิเศษ เมื่อขั้นตอนต่างๆที่กล่าวมาสำเร็จแล้ว ก็จะเข้าสู่การทำผงวิเศษ ซึ่งผงทั้ง 5 มีความเป็นมาน่าสนใจ ดังนี้

                3.3.1) การทำผงปถมัง นับเป็นผงเริ่มต้น สำหรับการศึกษาวิทยาคม ใช้สำหรับการลง “นะ” ทุกชนิดตามสูตร ปฐมพินธุ (ปัด-ทะ-มัง-พิน-ทุ เป็นบทพระเวทย์ชั้นสูงที่ว่าด้วยการเกิด) ซึ่งมีความเป็นมาแต่ครั้งปฐมกัลป์ที่โลกยังว่างเปล่าปราศจากชีวิต มีแต่น้ำซึ่งกำลังงวดลงไป และแผ่นดินโผล่ขึ้นมา ท้าวสหับดีมหาพรหมได้เล็งญาณ เห็นดอกบัว 5 ดอก ก็ทราบว่าในอนาคตกาล พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในโลก 5 พระองค์ด้วยกัน จึงโปรยหญ้าคาลงมา พื้นน้ำก็งวดเป็นแผ่นดินส่งกลิ่นหอมหวน พวกพรหมก็ลงมาเสพมวลดินเป็นอาหาร เลยพากันหลงทางกลับสู่พรหมโลกไม่ได้ จึงสืบเผ่าพันธุ์เป็นมนุษย์อยู่ในโลกตราบเท่าทุกวันนี้ ด้วยเหตุนี้ สหับดีมหาพรหมจึงเป็นปฐมแห่งโลกธาตุ

                ดังนั้น การลง “นะ” คือ การย้ำพระเทย์วิทยาคุณให้ประจุ(บรรจุ) กำกับอยู่ในสิ่งที่ต้องการนับเป็นการเบิกพระสูตรที่เปิดทางบรรจุพระคาถาอื่นๆได้อย่างอัจฉริยะ

                การทำผงปถม(ผง-ปัด-ทะ-มัง) คือ การนำเอาผงเครื่องยาที่ผ่านกรรมวิธีที่กล่าวมาข้างต้นมาปั้นเป็นดินสอขึ้น แล้วเขียนเรียกสูตร น ปฐม พินธุ และสูตรการลบ เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ปั้นขึ้น ก็จะได้ผงปฐม ซึ่งใช้เวลาในการทำผงนี้ ประมาณ 2-3เดือน

                3.3.2) การทำผงอิธะเจ เกิดจากการนำเอา ผงปฐม ที่ทำสำเร็จแล้ว มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเขียนอักขระด้วย สูตรมูลกัจจายน์ และลบด้วยสูตรลบผงอิทธะเจ คัมภีร์โบราณ กล่าวว่า ท่านพระมหากัจจายน์พระคณาจารย์เจ้ายุคก่อนเป็นผู้วางแบบแผนการสร้างสูตรอันนี้ไว้ ชนชั้นหลังต่อมาจึงได้เอานามของท่านมาเรียกชื่อสูตรว่า ”สูตรมูลกัจจายน์” หรือ มูลกระจาย อันถือเป็นรากฐานแห่งความรู้ในอักขระ พยัญชนะ และสระในอักษรขอม การทำผงอิทธิเจนั้น จะต้องร่ายอักขระ และแปลงพยัญชนะและสระ ให้สำเร็จรูปเป็น “อิธเจตโส ทฬห คณหาหิ ถามสา” ซึ่งเรียกว่า “ลบขาดตัว” ผงที่ได้จากการลบขาดตัวนี้เรียกว่า “ผงอิธะเจ” ใช้เวลาทำประมาณ 3 วัน และต้องเขียนให้หมดสิ้นดินสอที่เตรียมไว้

                3.3.3) การทำผงมหาราช  ใช้ผงอิธะเจ มาปั้นเป็นดินสอขึ้นอีก แล้วเรียกสูตรมหาราช แล้วลบสูตรที่เขียนด้วยนามทั้ง 5 เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอที่ทำขึ้น ใช้เวลาทำใกล้เคียงกับการทำผงปถมัง เกิดเป็นผงใหม่ ชื่อ “ผงมหาราช”

                3.3.4) การทำผงพุทธคุณ ใช้ผงมหาราชมาปั้นทำเป็นดินสอ เรียกสูตร และลบอักขระเกี่ยวกับพุทธคุณนานาประการ นับตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประสูติ ตรัสรู้ จวบจนเสด็จสู่พระปรินิพพาน เขียนแล้วลบ ลบแล้วเขียน จนหมดสิ้นดินสอ จะได้ผงพุทธคุณ ซึ่งถือว่าเป็นผงวิเศษที่มีพุทธานุภาพสูงยิ่ง เพราะเกี่ยวเนื่องด้วยพระพุทธองค์

                3.3.5) การทำผงตรีนิสิงเห ซึ่งนับเป็นผงสุดท้ายเกี่ยวกับสูตรเลขไทยโบราณ เกิดจากการรวบรวมเอาผงพุทธคุณที่ลบได้มาปั้นเป็นดินสอ เรียกสูตรอัตอาวาทวาทศมงคล 12 เขียนสูตรไล่เรียงไปจนสำเร็จเป็นอัตตราตรีนิสิงเห เข้าสู่รูปอัตตรายันต์ 12 ยันต์ จนสุดท้ายได้รูปยันต์นารายณ์ถอดรูป ซึ่งประกอบด้วย ยันต์ประจำขององค์ตรีนิสิงเห แล้วมี ยันต์พระภควัมบดี และยันต์ตราพระสีห์ประทับลงเป็นประการสุดท้าย

                อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธาคม ได้เคยกล่าวไว้ว่า “ในเรื่องการทำผงนี้ มีตำรับที่จะทำมากมายนัก นอกจากตำรับทั้ง 4 ที่ยกมาอ้างนี้ คือ ปถมัง อิธเจ มหาราช ตรีนิสิงเห เพราะตำรับทั้งสี่นี้เป็นแม่บทใหญ่ ส่วนที่แตกแยกฝอยออกไปอีกนั้น ยังมีอีกมากเช่น ผงพุทธคุณ เป็นต้น โดยเฉพาะผงพระพุทธคุณนั้น มีวิธีทำหลายวิธีด้วยกัน ผงเหล่านี้มีคุณภาพดุจกันทั้งสิ้น อาศัยแรงความปรารถนาอธิษฐานของผู้กระทำ จะมุ่งให้มีอานุภาพไปทางไหน พระเครื่อง เครื่องรางที่ทำด้วยเกสร หรือ ผงที่ได้สร้างแต่ครั้งโบราณล้วนแต่สร้างขึ้นมาจากผงเหล่านี้ทั้งสิ้น”

                เมื่อได้ผงวิเศษ จึงนำมาคลุกเคล้ากับทัพสัมภาระอันพิจารณาแล้วว่าเป็นของดี มีมงคลอันประเสริญ ที่ผ่านการบดละเอียดแล้ว จึงผสมผงปูน เปลือกหอยที่บดแล้ว ประสานมวลสารทั้งหมดด้วย กล้วยน้ำ (กล้วยน้ำว้า) และน้ำมันตังอิ๊ว ได้มวลสารรวมมีลักษณะเป็นแป้งเหนียวปั้นได้

                4. แกะแม่พิมพ์ การแกะแม่พิมพ์พระนั้น มีหลายฝีมือ ทั้งช่างราษฎรชาวบ้านสามัญ ไปถึงช่างหลวงในราชสำนัก ซึ่งดูได้จากความงดงามลงตัวของพระพุทธปฏิมาที่ปรากฏความหยางบ ละเอียด สมดุล และงดงาม ออกมาในรูปทรงขององค์พระเครื่องนั้นๆ

                เมื่อได้แม่พิมพ์เป็นที่พอใจ จึงนำส่วนผสมข้างต้นมากดลงในแม่พิมพ์ก่อนที่จะใส่มวลสารลงไป เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อพระติดกับแม่พิมพ์ ก็จะนำผงปูนมาโรยลงในพิมพ์ก่อนที่จะหยอดเนื้อมวลสารลงไป เมื่อกดพิมพ์ได้ที่แล้วก็จะทำการตัดตอกเนื้อส่วนเกินที่ปลิ้นล้นจากแม่พิมพ์ แล้วจึงเคาะองค์พระออกจากแม่พิมพ์ การโรยผงปูนไว้ก่อน ทำให้พระไม่ติดพิมพ์ ธรรมชาติของแป้งโรยพิมพ์นับเป็นคุณสมบัติพิเศษอีกประการหนึ่งในการช่วยพิจารณาพระแท้ที่จะกล่าวในลำดับต่อไป

                ในครั้งแรก พระที่นำออกจากแม่พิมพ์ใหม่ๆ จะมีความชื้น และสดของผิวมวลสาร จำเป็นต้องนำไปตากแดด หรือผึ่ง ให้แห้ง ถ้าเป็นสมัยใหม่ ก็จะนำไปอบให้แห้ง ก็ถือว่าเสร็จกระบวนการผลิตพระเนื้อผง หากแต่คนในสมัยโบราณยังถือว่าเป็นพระที่ยังไม่ครบ ต้องทำการบวชเสียก่อน

                5. การปลุกเสกพระ เมื่อผลิตพระผงเสร็จสิ้น องค์ประกอบที่สำคัญประการสุดท้าย คือ พระที่สร้างต้องผ่านการปลุกเสก อันเสมือนการเชิญพลังพระรัตนตรัยมาประจุ (บรรจุหรือรวมตัว) ประสิทธิ์ ประสาท ยังพระเครื่องที่สร้าง การปลุกเสกนั้น แบ่งเป็น

                5.1) การปลุกเสกหมู่ หมายถึง การนิมนต์พระจำนวนมากกว่า 1 รูป มาร่วมกันบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตปลุกเสกร่วมกัน กระทำเต็มรูปแบบศาสนพิธีการ

                5.2) การปลุกเสกเดี่ยว หมายถึง พระเครื่องที่ผ่านการบริกรรมพระคาถา เจริญภาวนา อธิษฐานจิตเพียงองค์เดียว เป็นศาสนพิธีกรรม

                5.3) การอธิษฐานจิต หมายถึง พระเครื่องที่ไม่ได้ผ่านพิธีกรรมอันเป็นศาสนพิธีเหมือนกับ 2 ประเภทแรก หากแต่เป็นการใช้พลังอำนาจจิตประจุพระพุทธานุภาพ สำหรับพระภิกษุผู้มีฌาณปฏิบัติที่แก่กล้า และสำเร็จมรรคผลพระธรรมขั้นสูง ท่านสามารถอธิษฐานจิตได้ และมีพลานุภาพทำให้พระเครื่องที่ผ่านการอธิษฐานจิตเปี่ยมด้วยพระพุทธคุณได้เช่นกัน

                พระเนื้อผงที่ผ่านขั้นตอนพิธีการต่างๆที่กล่าวมา จึงถือว่าเป็นพระเครื่องที่สมบูรณ์การสร้างพระผงยังคงมีให้พบเห็น และศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน แต่จะเคร่งครัดประการใดอย่างไร ก็ขอให้ผู้ศึกษาโปรดใช้วิจารณญาณในการพิจารณา

4. การสร้างพระเนื้อโลหะ ประเภทพระหล่อ พระปั๊ม พระฉีด

                การสร้างพระเนื้อโลหะนี้จะประกอบด้วยการสร้าง 3 ประเภท คือ พระหล่อ พระปั๊ม และ พระฉีด โดยก่อนอื่นผู้เขียนขอทำความเข้าใจแก่ผู้สนใจศึกษา ระหว่างพระเครื่องเนื้อชิน และพระเครื่องโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนว่าเหตุใดจึงแยกพระทั้งสองประเภทนี้ออกจากหมวดเดียวกัน

                พระเครื่องเนื้อชิน ถือเป็นพระเนื้อโลหะประเภทหนึ่ง แต่สาเหตุที่บูรพาจารย์ที่เป็นนักสะสมยุคแรกๆ ไม่นำมารวมอยู่ในพระเนื้อโลหะอื่นๆ เพราะเนื่องจากเหตุผลสำคัญดังนี้

                1.) พระเครื่องเนื้อชิน ล้วนเป็นพระกรุ พระเก่า  ที่มีอายุการสร้างนานเป็นร้อยๆปีขึ้นไปอันถือเป็นพระเครื่องยุคโบราณปัจจุบันไม่นิยมสร้างพระเครื่องเนื้อนี้อีกแล้ว

                2.) ส่วนผสมหลักของพระเครื่องเนื้อชินคือ ดีบุกและตะกั่ว มากน้อยตามแต่ผู้สร้างมีความประสงค์ ซึ่งปัจจุบันผู้สร้างได้ค้นพบโลหะอื่นๆที่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า สะดวกกว่า และคงทนกว่า มาใช้ในการสร้างพระเครื่องแทนพระเครื่องเนื้อชิน

                3.) ผู้ที่นิยมมีความคิดว่าพระเครื่องประเภทเนื้อชินจะต้องเป็นพระยุคเก่า เท่านั้น จึงได้รับความนิยมในการสะสม หากเป็นพระยุคหลังที่สร้างขึ้นใหม่ จะแลดูขาดธรรมชาติ ไม่เป็นที่สนใจของประชาชน เพราะขึ้นชื่อว่าเป็นพระเครื่องเนื้อชินต้องแลดูเก่ามีธรรมชาติคราบไข ถ้าดูใหม่จะคาดคะเนให้เป็นพระปลอมก่อนเลยเป็นอันดับแรก

                พระเครื่องเนื้อโลหะต่างๆที่ปรากฎอยู่ในวงการพระ ประกอบด้วย

1.     พระเนื้อทองคำ

2.     พระเนื้อเงิน

3.     พระเนื้อทองแดง

4.     พระโลหะผสม

สำหรับพระ 3 ประเภทแรกนั้น ผู้สนใจศึกษาคงทราบและเข้าใจอย่างชัดเจนถึงส่วนผสมหลัก หรือส่วนผสมนำ ในพระเครื่องนั้นๆ คือทองคำ เงิน และทองแดง ส่วนพระโลหะผสมนั้น มีมากมายหลายเนื้อมวลสาร ซึ่งบางประเภทมีสูตรจากตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสม และบางประเภทก็ไม่ชี้ชัดเพียงใส่มวลแร่ธาตุเดิมให้ครบตามจำนวนธาตุที่ต้องการผสมเท่านั้น จึบเป็นที่มาของความไม่แน่นอน ในโลหะผสมของแต่ละเบ้า แต่ละครั้งในการหลอมละลาย โลหะผสมที่ได้รับความนิยมในการสร้างพระเครื่องได้แก่

1) นวโลหะ หมายถึง การนำแร่ธาตุต่างๆ 9 ชนิด มาหลอมรวมกัน นวโลหะที่มีตำราชี้เฉพาะปริมาณของส่วนผสมได้แก่ พระในกลุ่ม พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ที่มีสมเด็จพระสังฆราช(แพ) วัดสุทัศน์ กรุงเทพมหานคร เป็นองค์ปฐมการสร้าง สืบตำราต้นแบบที่บังคับในการสร้างพระกริ่งเนื้อนวโลหะสายวัดสุทัศน์ ประกอบไปด้วย

                ชิน                          น้ำหนัก 1 บาท (1บาท = 15.2 กรัม)

                จ้าวน้ำเงิน               น้ำหนัก 2 บาท (แร่ชนิดหนึ่ง สีเขียวปนน้ำเงิน)

                เหล็กละลายตัว       น้ำหนัก 3 บาท

                บริสุทธิ์                   น้ำหนัก 4 บาท (ทองแดงบริสุทธิ์)

                ปรอท                      น้ำหนัก 5 บาท

                สังกะสี                    น้ำหนัก 6 บาท

                ทองแดง                  น้ำหนัก 7 บาท

                เงิน                          น้ำหนัก 8 บาท

                ทองคำ                     น้ำหนัก 9 บาท

                นำโลหะทั้ง 9 นี้ มาหลอมรวมกัน ได้เนื้อนวโลหะที่งดงามยิ่ง

                2) สัตตะโลหะ หมายถึง โลหะผสม 7 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, ทองคำ, จ้าวน้ำเงิน, บริสุทธิ์ ตามอัตราส่วนของแต่ละตำรา และวัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ เช่น อาวุธที่เป็นเนื้อสัตตะโลหะก็จะมีปริมาณของแร่เหล็กมากกว่าแร่ชนิดอื่นๆ เป็นต้น

                3) เบญจโลหะ หมายถึงโลหะผสม 5 ชนิด อันประกอบด้วย เหล็ก, ปรอท, ทองแดง, เงิน, และทองคำ อัตราส่วนตามความเหมาะสมของวัตถุที่สร้าง แต่โลหะหนักส่วนมากก็จะเป็นเหล็ก

                4) ทองเหลือง นับเป็นโลหะผสมที่นิยมใช้กันมากในยุคหลังๆซึ่งเนโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี และอาจจะมีธาตุอื่นปะปนอยู่บ้างเล็กน้อย เช่น ตะกั่ว ดีบุก อลูมิเนียม เหล็ก แมงกานีส นิเกิล เป็นต้น

                5) บรอนซ์ เป็นชื่อดั้งเดิมของโลหะผสมระหว่างดีบุกกับทองแดง ปัจจุบันหมายถึงโลหะผสมระหว่างทองแดงกับโลหะอื่น โดยยกเว้นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับสังกะสี ซึ่งจะเป็นทองเหลืองไม่ใช่บรอนซ์

                6) เมฆพัด เป็นโลหะผสมที่เกิดจากการนำแร่โลหะต่างๆหลายชนิด อาทิเช่น เหล็ก ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว เงิน ทองคำ เป็นต้น จะเป็นปริมาณเท่าใด หรือใช้กี่ประเภทขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้สร้าง ระหว่างหุงแร่จะซัดด้วยกำมะถัน จนเกิดเป็นสีดมันวาว ออกเหลือบสีน้ำเงิน

                7) เมษสิทธิ์ นับเป็นโลหะผสมที่มีความคล้ายคลึง และเป็นคู่แฝดกับเมฆพัด กรรมวิธีการสร้างก็คล้ายคลึงกัน ถ้าเป็นคนรุ่นเก่าจะเรียกการสร้างโลหะผสม เมฆสิทธิ์ และเมฆพัดว่า “การเล่นแร่แปรธาตุ” นับเป็นโลหะที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในตัว เพราะขณะที่ทำการหลอมรวมจะต้องบริกรรมพระคาถาต่างๆไปด้วย สำหรับโลหะผสมเมฆสิทธิ์ประกอบด้วยแร่ธาตุ 4 ชนิดคือ เงิน สังกะสี ทองแดง และปรอท

                8) สัมฤทธิ์ เป็นโลหะผสมที่นิยมทำพระบูชา และรูปหล่อขนาดใหญ่ นับเป็นโลหะผสมยุคแรกๆ ที่มีการสร้างขึ้นมาแต่โบราณ บางคนเรียกว่า ทองสัมฤทธิ์ หรือทองบรอนซ์ ส่วนประกอบของโลหะผสมสัมฤทธิ์คือ ทองแดง ดีบุก เงิน และทองคำ

                9) ขันลงหิน เป็นเนื้อโลหะที่รู้จักกันมาแต่โบราณ และเป็นประเภทหนึ่งของโลหะผสมที่เรียกกันว่า “บรอนซ์” แต่โลหะผสมเนื้อขันลงหินจะเจาะจงเฉพาะโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุกเท่านั้น ส่วนบรอนซ์จะรวมถึงโลหะทุกประเภทที่ผสมกับทองแดง ยกเว้นสังกะสี ดังนั้นสีบรอนซ์จึงมีหลายสี เช่น บรอนซ์เงิน บรอนซ์ทอง บรอนซ์ออกสีนาก เป็นต้น

โลหะผสมที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นโลหะผสมที่นิยมนำมาสร้างพระบูชา และพระเครื่อง อาจจะมีนอกเหนือจากนี้บ้างตามความสะดวกและความเชื่อในการสร้าง แต่ไม่เป็นที่รู้จักนิยมแพร่หลายเช่นที่กล่าวมา

นอกจากนี้ก็จะมีพระที่สร้างจากเนื้อโลหะหลักที่มีส่วนผสมอื่นเจือปนอยู่บบ้างแต่เป็นส่วนน้อย เพื่อความสะดวกในการขึ้นรูป ทำให้สวยงาม และคงทนยิ่งขึ้น เช่น ทองคำ เงิน ตะกั่ว เป็นต้น

วิธีการสร้างพระ

เมื่อทราบถึงส่วนผสมของโลหะเจือ (โลหะผสม) ต่างๆ พอสังเขปแล้ว ต่อไปจะเป็นขั้นตอนการสร้างพระหล่อ-พระปั๊ม-และพระฉีด การสร้างพระที่กล่าวมานี้ นับเป็นการสร้างตั้งแต่ยุคกลางๆคือประมาณร้อยกว่าปี แล้ววิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบัน โดยเราจะแบ่งวิธีการสร้างออกเป็น การหล่อแบบโบราณและการหล่อแบบสมัยใหม่ ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้

การหล่อแบบโบราณ

เป็นวิธีการที่ใช้ในการสร้างรูปหล่อ และเหรียญหล่อโบราณ มากมายในพระเครื่องต่างๆ ที่ล้วนแล้วแต่เป็นพระยอดนิยมอันดับต้นๆของประเทศ เช่น รูปหล่อ-เหรียญหล่อ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตา รุ่นแรก, รูปหล่อหลวงพ่อเดิม เป็นต้น

ขั้นตอนการหล่อแบบโบราณ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆดังนี้

1) การขึ้นดินหุ่น คือการแกะหุ่นดินตามรูปพรรณสัณฐานที่ต้องการ จากนั้นจึงนำมาหล่อเป็นองค์พระต้องการ พระที่ได้ครั้งแรกนี้เรียกว่า “แกนหุ่นดิน”

2) เข้ารูปขี้ผึ้ง เมื่อได้แกนหุ่นที่หล่อเรียบร้อยแล้ว จะนำขี้ผึ้งมาพอกองค์พระ แกะตกแต่งรายละเอียดด้วยเสนียด (ไม้ทองเหลืองปลายแบน) จนเป็นที่พอใจก็จะได้รูปขี้ผึ้งองค์พระที่ต้องการจะให้เป็นในลักษณะอากัปกิริยาต่างๆ ตลอดจนลวดลายตามความประสงค์ของผู้แกะแบบ

3) พอกดินขี้วัว เมื่อได้รูปขี้ผึ้งแล้วก็นำดินขี้วัว (นำขี้วัวมาคั้นน้ำผสมกับดินเหนียวและทรายให้ข้นจับตัวกันเหนี่ยวแน่น) พอกให้ทั่วองค์พระหุ่นขี้ผึ้ง แล้วเจาะรูตรงปลายเพื่อให้ขี้ผึ้งไหลออกมาเมื่อถูกความร้อนสูง

4) เทสารละลาย นำโลหะผสมที่หลอมละลายรวมกันเข้าที่แล้ว เทลงในเบ้าแม่พิมพ์ ความร้อนจะทำให้ขี้ผึ้งละลายออกมาจากรูที่เจาะไว้เรียกว่า “การสำรอกขี้ผึ้ง” โลหะผสมจะเข้าแทนที่ขี้ผึ้งได้รูปองค์พระที่ต้องการ

5) การทุบเบ้าทิ้ง เมื่อกระบวนการต่างๆที่ผ่านมาสำเร็จด้วยดีแล้ว พอโลหะจับกันแข็งตัวและเย็นดีแล้ว ก็จะมีการทุบเบ้าดินที่หุ้มองค์พระไว้ออกให้หมด ดังนั้น จึงมีการเรียกพระหล่อโบราณว่า “พระพิมพ์เบ้าทุบ”

พระหล่อโบราณที่ได้ ส่วนมากจะขาดความละเอียดของเส้นรูปพรรณเค้าหน้า และร่างกายเนื่องด้วยเครื่องมือแบบภูมิปัญญาชาวบ้านโบราณ ขาดศักยภาพกระทำการ อีกทั้งโลหะผสมขาดการชั่งตวงวัด และควบคุม รวมถึงความร้อนที่สม่ำเสมอทั่วถึง ทำให้องค์พระขาดความคมชัด หากแต่ธรรมชาติของดินพอกหุ่นและความไม่พอดีของอัตราส่วนโลหะผสม ก็นับเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของพระหล่อโบราณ ที่ยากแก่การปลอมแปลง ดินขี้เบ้าที่ติดอยู่กับเนื้อโลหะเมื่อได้รับความร้อน เกิดการหลอมรวมกินตัว ผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของวรรณะตามซอกองค์พระ ก็ถือเป็นไม้ตายในการพิจารณาพระเก่า ให้ต่างจากพระใหม่ได้อีกประการหนึ่ง

การหล่อแบบสมัยใหม่

นับเป็นวิวัฒนาการต่อเนื่อง โดยมีเครื่องอำนวยความสะดวก และสามารถสร้างพระได้ปริมาณมากๆในเวลาเดียว ซึ่งหักการของขั้นตอนก็จะคล้ายคลึงกับการหล่อโบราณคือ

1) แกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ใช้ปูนปาสเตอร์พอกหุ่นแทนดินขี้วัว แล้วจึงสำรอกขี้ผึ้งออกต่อจากขั้นตอนนี้ เดิมทีจะต้องกระทำต่อเนื่องกันในขณะที่แม่พิมพ์ยังร้อนอยู่ แต่ในสมัยใหม่จะเป็นการ “เทพิมพ์เย็น” หมายถึงให้พิมพ์ที่ผ่านการหลอมและสำรอกขี้ผึ้งออกแล้วปล่อยให้เย็นตัวก่อน แล้วจึงเทโลหะผสมลงไป ซึ่งวิธีการนี้สามารถสร้างพระได้เป็นช่อทีละหลายองค์ในครั้งเดียว

2) การฉีดพระ นับเป็นเทคนิคใหม่ที่ทำให้พระออกมาสวยมีรายละเอียดคมชัดทุกสัดส่วน ตามความปรารถนา อันเกิดจากการเหวี่ยงโลหะอย่างเร็วและแรงหลายรอบ ให้กินรายละเอียดของแม่พิมพ์ได้ทุกอณู สำหรับขั้นตอนการฉีดพระประกอบด้วย การแกะแม่พิมพ์ด้วยขี้ผึ้ง ถอดพิมพ์ด้วยยางทำฟัน ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีมากในการเก็บรายละเอียดต่างๆได้อย่างครบถ้วน  จากนั้นจึงใช้ปูนทำฟันฉีดเข้าพิมพ์ยาง แล้วนำใส่เข้ากระบอกเหวี่ยงเพื่อไล่โลหะให้เข้าไปตามกระบอกโดยผ่านท่อ แรงเหวี่ยงจะอัดมวลสารไปยังทุกส่วนของแม่พิมพ์ จะได้พระที่งดงามตามปรารถนาเป็นช่อๆละหลายองค์

3) การปั๊มพระ นับเป็นกรรมวิธีแบบใหม่ในการสร้างพระที่มีขั้นตอนคล้ายการฉีด หากแต่ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ จะมี 2 ด้านประกบกัน เรียกว่า “แม่พิมพ์ตัวผู้ และแม่พิมพ์ตัวเมีย” นอกจากนี้ จะต้องทำตัวตัดขึ้นอีกตัว (ในกรณีทำเหรียญ) ซึ่งจะมีขนาดพอเหมาะกับแม่พิมพ์

การสร้างแม่พิมพ์ในพระปั๊มนี้สามารถ “ถอดพิมพ์ใหม่” เกิดเป็นบล็อคแม่พิมพ์ได้จำนวนมากมายตามความต้องการ ด้วยยางทำฟัน ซึ่งทำให้แม่พิมพ์ที่ถอดขึ้นมา ไม่ผิดเพี้ยนจากแม่พิมพ์ตัวแรกเลย จึงได้รับความนิยมเป็นอย่างมากกับการสร้างพระในปัจจุบันที่มีปริมาณการสร้างคราวละมากๆ

ส่วนโลหะผสม ก่อนที่จะมาทำการปั๊มพระ จะเป็นโลหะผสมที่เย็นตัวแล้ว นำเข้าเครื่องปั๊มพระ ออกมาได้เหรียญ หรือรูปหล่อปั๊ม ตามความต้องการ และมีความเหมือนกันทุกองค์

5. การสร้างพระเนื้อว่าน

นับแต่โบราณมาชนชาติไทยมีความรู้ และผูกพันกับพรรณไม้ตระกูลว่าน ด้วยเห็นคุณค่าทั้งในการใช้ทำยา หรือเชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพัน ทั้งให้ความเป็นสิริมงคล ดังนั้น เมื่อจะมีการสร้างสิ่งมงคลในรูปพระเครื่อง เครื่องว่านเกสรดอกไม้อันมีสรรพคุณ คุณวิเศษต่างๆเฉพาะตัว จึงเป็นหนึ่งในทัพสัมภาระที่ผู้สร้างพระให้ความสำคัญนำมาเป็นส่วนผสมประเภทหนึ่งที่ขาดไม่ได้จึงกล่าวได้ว่า “ว่าน” เป็นส่วนผสมในการสร้างพระเนื้อดินและเนื้อผง มาแต่โบราณ ดังคำแปลจากจารึกในแผ่นลานทองที่พบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี ที่เกี่ยวกับการนำว่านมาผสมสร้างพระดังนี้

“ศุภมัสดุ 1265 สิทธิการิยะ แสดงบอกไว้ให้รู้ มีฤๅษีทั้งสี่ตน พระฤๅษีพิมพิลาไลย์ เป็นประธาน เราจะทำด้วยฤทธี ทำด้วยเครื่องประดิษฐ์มีวุวรรณ เป็นต้น คือบรมกษัตริย์พระยาศรีธรรมโศกราชเป็นผู้ศรัทธาพระฤๅษีทั้งสี่ตน จึงพร้อมกันนำเอาแต่ว่านทั้งหลาย  ฤๅษีจึงอัญเชิญเทพยดามาช่วยกันทำพิธี ทำเป็นพระพิมพ์ไว้...”

จากการพิจารณาพระเครื่องจะพบชิ้นส่วนของ “ว่าน” ผสมผสานอยู่ในเนื้อมวลสารของพระหลักๆมากมาย นับจากพระรอดมหาวัน พระกรุทุ่งเศรษฐี พระผงสุพรรณ พระนางพญา พระสมเด็จวัดระฆัง เป็นต้น หากแต่การนำว่านมาผสมนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งในบรรดาทัพสัมภาระอื่นๆ และ ว่าน ก็มิใช่ส่วนผสมหลัก แม้จะขาดไม่ได้จึงไม่อาจเรียกพระที่มีว่านเป็นส่วนผสมอยู่บ้าง เป็น “พระเนื้อว่าน”

แต่มีพระบางประเภทที่มีการนำว่านวิเศษ มาเป็นส่วนผสมสำคัญ จนเป็นหัวใจของเนื้อหามวลสาร ทั้งเห็นชัดเจน ไม่แทรกซึมปะปนกับมวลสารอื่น เช่น พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่มีการนำดินกากยายักษ์มาบดเป็นส่วนผสมสำคัญ เป็นเนื้อนำประกอบอยู่ในองค์พระ นอกจากนี้ยังพบในพระเครื่องของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพระเนื้อผงผสมว่าน ที่เรียกกันว่า “พระเนื้อผงวาสนาจินดามณี”

กรรมวิธีการสร้างพระเนื้อว่านในสมัยโบราณ

เริ่มจากการนำว่านวิเศษต่างๆมาบดให้ละเอียด โดยจะใช้ครกหินตำให้ละเอียด หากเป็นการสร้างพระหลวงปูทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497 ได้ระบุการสร้างพระไว้ดังนี้

“พิธีกดพิมพ์พระเนื้อว่านมีขึ้น ณ วัดช้างให้ โดยมีชาวบ้านและพระภิกษุช่วยกันตำว่านด้วยมือโดยใช้ครกตำ ขณะตำว่านจะต้องท่องคาถาที่พระอาจารย์ทิมระบุไว้ด้วย (ซึ่งในแต่ละวันพระอาจารย์ทิมจะให้ท่องพระคาถาไม่เหมอืนกัน) สำหรับแม่พิมพ์หลวงพ่อทวดที่ได้จัดทำขึ้นจากยางครั่งสีดำนั้น จากข้อมูลหลักฐานต่างๆ กล่าวกันว่าน่าจะมีเบ้าพิมพ์มากกว่า 16 เบ้าพิมพ์ แต่ก็ไม่ทราบจำนวนที่แน่นอน เหตุที่พระอาจารย์ทิมให้ช่างจัดทำแม่พิมพ์ขึ้นอีกจำนวนหนึ่งนั้นเพราะต้องการที่จะพิมพ์จำนวนพระให้ได้ 84,000 องค์ แต่ไม่สามารถกดพิมพ์พระได้จำนวนที่ตั้งใจไว้ โดยได้เพียงประมาณ 64,000 องค์ เนื่องจากระยะเวลามีจำกัด พิธีปลุกเสกในครั้งนั้นมีขึ้นเมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2497 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลา 12.00 น. เมื่อทำพิธีปลุกเสกเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ใส่ไว้ในบาตรพระให้ประชาชนเช่าบูชาโดยไม่กำหนดจำนวนเงิน สุดแล้วแต่ความศรัทธาของประชาชน

สำหรับส่วนผสมของพระเนื้อว่าน มีส่วนผสมต่างๆ เช่น

1. ว่าน 108 ชนิด 2. ปูนขาว 3. กล้วยป่า 4. ผงขี้ธูป 5. คราบไคลสถูปเก่าที่บรรจุอัฐิหลวงพ่อทวด 6. แร่ 7. ดินกากยายักษ์ 8. ดอกไม้แห้ง 9. น้ำพระพุทธมนต์ ฯลฯ

การโขลกตำส่วนผสมของเนื้อพระใช้ครกหินหลายใบ โดยตำเนื้อว่านกับดินดำก่อน เมื่อละเอียดแล้วจึงใส่ปูนขาวลงไปเล็กน้อยกับกล้วยป่าทั้งเนื้อทั้งเม็ดตำให้เหนียว แล้วจึงใส่ผงธูป ดอกไม้แห้ง แร่และอย่างอื่นผสมลงไป ระยะแรกๆ จะตำเนื้อละเอียด ต่อมาได้เร่งตำเพื่อให้ทันฤกษ์พิธี ปลุกเสกจึงตำออกมาเนื้อหยาบ ส่วนผสมและสีของเนื้อพระจะไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน บางองค์มีสีดำจัดเพราะใส่ดินกากยายักษ์มาก บางองค์มีสีเทาค่อนข้างขาวเพราะใส่ปูนขาวลงไปมาก และเนื้อพิเศษขั้นทดลองพิมพ์มีจำนวนน้อยมาก

การพิมพ์พระ บางองค์ร่อนจึงแกะออกจาแม่พิมได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่ต้องใช้ไม้เสียบใต้ฐานองค์พระ เพื่องัดองค์พระออกมาจากแม่พิมพ์ แล้วจึงนำผงแร่มาแปะที่ด้านหลังขององค์พระทุกองค์

มวลสารในเนื้อพระ มักพบมีเม็ดแร่สีขาวขุ่น, สีดำ, สีขาวอมเหลือง, สีน้ำตาล, เม็ดทรายสีขาวหรือผงวิเศษปรากฏอยู่ทั่วไป โดยพบมากที่ด้านหลังขององค์พระ”

จากกรรมวิธีการสร้างที่ยกตัวอย่างมา ผู้ที่ศึกษาคงมองออกถึงขั้นตอนต่างๆที่เกิดขึ้น ปัจจุบันการสร้างพระเนื้อว่านยังมีอยู่ หากแต่พบน้อยมาก เนื่องจากความยากลำบากในการเสาะหาว่านมงคลต่างๆ ที่ต้องใช้ในปริมาณมาก เพื่อเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระ แต่อย่างไรก็ตาม กรรมวิธีนี้ก็ถือเป็นอีกหนึ่งในวิธีการสร้างพระ ซึ่งคงเหลือเด่นชัดในพระไม่กี่ประเภท

6.การสร้างเครื่องราง

เครื่องรางนับเป็นความเชื่อและศรัทธาสากล เนื่องจากทุกอารยธรรมทั่วโลกล้วนมีเครื่องรางเป็นสิ่งมัดใจ ให้กำลังใจ ทั้งโน้มน้าวจิตใจมาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ในรูปลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับประเทศไทย มีการพบเครื่องรางของขลังมาแต่ยุคสุโขทัย หากแต่มาเฟื่องฟูในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเริ่มดับมอดลงเมื่อคราวกรุงแตก แต่กระนั้นเครื่องรางของขลังก็ยังอยู่ในใจผู้คนมาโดยตลอด มิเคยถูกลบเลือน

พระคณาจารย์โบราณ ผู้มากด้วยพระเวทย์วิทยาคม จะนิยมสร้างเครื่องรางของขลังไว้ให้เฉพาะแก่ผู้ใกล้ชิด ดังนั้นการสร้างเครื่องรางของขลัง จึงเป็นงานสร้างเฉพาะตัว โดยมีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์พิเศษ ในแต่ละองค์คณาจารย์ เหมือนลักษณะของลายมือหรือฝีมืองานช่างเครื่องรางของขลังจึงเป็นวัตถุมงคลที่ไม่ตายตัว แต่มีเอกลักษณ์ คือ ไม่มีพิมพ์ ไม่จำกัดรูปร่าง แต่เค้าโครงแนวทางการสร้างกำเนิดมาจากผู้สร้างผู้ใด ก็จะคงความเป็นตัวตน มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวที่บ่งบอกว่า ฝืมือใคร ใครสร้าง สร้างจากวัสดุที่มีความเกี่ยวเนื่องกับผู้สร้าง

วัสดุทุกชนิด สามารถนำมาเป็นเครื่องรางของขลังได้ ขอเพียงได้ผ่านการอธิษฐานจิต ลงพระคาถาอาคมพระเวทย์จากผู้สร้างที่เข้มขลังจริง

ดังนั้น การศึกษาเรื่องเครื่องรางของขลัง จึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก แต่เนื่องจากเครื่องรางของขลัง ถือเป็นวัตถุมงคลประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมศรัทธากันมาก ทั้งมีมูลค่าทางการสะสมสูงในบางพระคณาจารย์ จึงสมควรที่จะกล่าวถึงให้ทราบพอสังเขป
 

 
 
ตะกร้าพระเครื่อง

ดูตะกร้าพระเครื่อง
แจ้งการชำระเงิน
ตรวจสอบวันจัดส่ง
สถานะการส่งพระเครื่อง

พระเครื่องแนะนำ

หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ งาแกะปิดตาเนื้อหาจัดจ้าน-เก่าจริงเลี่ยมทองเก่ามาแต่เดิมจ.นครสวรรค์ 

โทรถาม บาท


หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง ตะกรุดเนื้อทองแดงม้วนยาว3นิ้วพอกคลั่ง-สภาพสวยเดิมสมบูรณ์(นิยม)จ.เพชรบุรี 

บูชาแล้ว บาท


หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ตะกรุดจันทร์เพ็ญเนื้อตะกั่วม้วนยาว3นิ้วลงรักสภาพสวยสมบูรณ์จ.ชัยนาท 

บูชาแล้ว บาท


ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉีมพลีพิมพ์ปิดตาจัมโบ้2 เนื้อผงใบลาน จ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระกรุวัดท้ายคลาด พิมพ์นาคปรกเล็ก พระชุดเนื้อผงยอดนิยมพระกรุวัดท้ายตลาดพิมพ์นาคปรกเล็กจ.กทม 

ขายแล้ว บาท


พระคง ลำพูน จ.ลำพูน พระคง-ลำพูนเนื้อดินสีเนื้อผ่านกรุเก่าใบโพธิ์ติดคมชัดเลี่ยมทองพร้อมใช้ จ.ลำพูน 

(ขายแล้ว) บาท


พระลีลา กรุวัดราชบูราณะ จ.อยุธยา พระปางลีลา กรุวัดราชบูราณะ เนื้อชินเงิน สภาพสมบรูณ์ จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


พระหล่อทองคำ ปางห้ามสมุทร พระหล่อเนื้อทองคำ ปางห้ามสมุทร ศิลปะและอายุ-ยุคสมัยอยุธยา จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อตาด วันบางวันทอง เหรียญหล่อหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง เกจิยุดเก่า เนื้อเงินหายากจ.สมุทรสงคราม 

(ขายแล้ว)/ บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโคพิมพ์ไก่หาง3เส้น เนื้อดิน-เลี่ยมทองจ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค พิมพ์ครุฑกลาง เนื้อดิน เลี่ยมทอง จ.อยุธยา 

(ขายแล้ว) บาท


หลวงพ่อเดิม-วัดหนองโพ(รุ่นแรก) รูปหล่อหลวงพ่อเดิม ออกวัดหนองหลวง/รุ่นแรก เนื้อโหละผสม จ.นครปฐม 

โชร์พระ/ บาท


พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พระชินราชอินโดจีน วัดสุทัศน์ พิมพ์สังฎิยาว พิเศษมโค๊ตนูนเนื้อโลหะผสม หายากสุดฯ สร้างพศ2485 กทม 

ขายแล้ว/ บาท


พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ พระกริ่งท่านเจ้าคุณศรี(สนธิ์) วัดสุทัศน์ เนื้อโหละผสม พิมพ์ทรงสังข์ สร้าง2486 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน พระกริ่งประภามณฑล วัดดอน สมเด็จพระสังฆราชแพทรงเป็นประธานพิธี สร้างช่วงพศ2480 กทม 

โชร์พระ/ บาท


พระเครื่องแนะนำทั้งหมด
เปิดโลกพระเครื่อง
เปิดโลกสมเด็จ
เปิดโลกพระกรุ
ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชไทย
ตำนานพระพุทธรูป
หลักการดูพระเบื้องต้น
รายนานเกจิอาจารย์
อ่านบทความทั้งหมด